
ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณแม่จะทำคือการไป ฝากครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ทราบการเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลที่จะไปฝากครรภ์ หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่าระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาลกับโรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร และควรไปฝากครรภ์ที่ไหนถึงจะรู้สึกสบายใจ
สารบัญบทความ
- ทำไมต้องฝากครรภ์
- ฝากครรภ์ครั้งแรกกี่เดือน? เมื่อไหร่ที่ควรฝากครรภ์?
- ฝากครรภ์ครั้งแรกทำอย่างไร
- ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง
- ขั้นตอนการฝากครรภ์
- ฝากครรภ์ที่ไหนดี
- 1. เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
- 2. เลือกสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก
- 3. แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์
- 4. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์มีความเหมาะสม
- 5. สถานพยาบาลที่มีการบริการที่ดี
- เปรียบเทียบฝากครรภ์กับสถานพยาบาลรัฐ Vs เอกชน
- คำถามที่พบบ่อย
- ตรวจและฝากครรภ์กับ Beyond IVF
ทำไมต้องฝากครรภ์
สิ่งแรกที่ควรรู้สำหรับผู้ที่อยากมีลูก คือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องฝากครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ หากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการ การใช้ยาต่างๆ เพศสัมพันธ์ การเตรียมตัวสำหรับการคลอด และการให้นมบุตร รวมทั้งการวางแผนครอบครัวหลังจากคลอดบุตรแล้ว นอกจากนั้นยังต้องรู้จักสังเกตความผิดปกติของการตั้งครรภ์และอาการเจ็บท้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์เมื่อมาฝากครรภ์
ถ้าไม่ฝากครรภ์ได้ไหม
การตั้งครรภ์ในแต่ละช่วงอายุครรภ์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งคุณแม่และทารก ระหว่างการตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นได้ เช่น โรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกต่ำ ภาวะรกเสื่อม หากไม่ติดตามการเจริญเติบโตของทารก อาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้
เนื่องจากหากไม่ได้ฝากครรภ์คุณแม่จะไม่รู้เลยว่าทารกกี่เดือนแล้ว กลับหัวหรือยัง จะคลอดช่วงไหน ไม่สามารถประเมิณช่วงเวลาคลอดได้ ซึ่งจะนำพามาสู่ความร้ายแรงที่ไม่คาดคิด
บทความอ่านเพิ่มเติม : ข้อควรรู้ “ฝากครรภ์” การเตรียมตัวฝากท้องครั้งแรก สำหรับคุณแม่มือใหม่
ฝากครรภ์ครั้งแรกกี่เดือน? เมื่อไหร่ที่ควรฝากครรภ์?
นอกจากความกังวลของคุณแม่ที่มีว่า ฝากครรภ์ที่ไหนดีแล้ว คำถามที่คุณแม่รู้สึกคือ เมื่อไหร่ควรฝากครรภ์
สำหรับคุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์แล้ว ควรรีบฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ ไม่ว่าจะเป็น 1 เดือน 2เดือนหรือว่ากี่เดือน เพราะการรีบฝากครรภ์จะทำให้ทราบว่าตอนนี้อายุครรภ์เท่าไหร่ คุณแม่ควรเตรียมตัวหรือระมัดระวังเรื่องใดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวหรือตั้งครรภ์ตอนอายุมากจะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นอันตรายต่อครรภ์สูง
ฝากครรภ์ครั้งแรกทำอย่างไร
เมื่อคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์ เมื่อได้รับคำตอบแล้วว่าฝากครรภ์ที่ไหนดี สิ่งที่ควรเตรียมตัวมาเพื่อพบแพทย์คือ ตัวเลขเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เช่น ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย หรือการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด โดยสิ่งที่ควรเตรียมมาอีกเพิ่มเติมคือ หากคุณแม่ท่านใดมีโรคประจำตัว ควรนำยาหรือวิตามินที่ทานมาทั้งหมดด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่ามีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ และวางแผนการดูแลครรภ์ต่อไป
ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง
ในการตรวจครรภ์ครั้งแรก ส่วนมากแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ครรภ์ของคุณแม่ท่านนั้นๆว่า น่าจะอายุครรภ์เท่าไหร่ หรือว่ามีโรคใดที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนการตรวจจะเป็นการตรวจ Ultrasound ผ่านช่องคลอดเพื่อดูถุงการตั้งครรภ์ว่า มีการตั้งครรภ์จริง และครรภ์เจริญเติบโดตสัมพันธ์ต่ออายุครรภ์หรือไม่
ขั้นตอนการฝากครรภ์
- พบแพทย์ แพทย์จะมีการซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งโรคประจำตัว ยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว รวมถึงโรคประจำตัวของคนในครอบครัว
- ตรวจร่างกายเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน
- ตรวจเลือดคุณแม่ เพื่อดูพาหะธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกัน กรุ๊ปเลือด ความเข้้มข้นของเลือด และโรคติดต่อต่างๆที่อาจมีผลต่อลูก
- ตรวจครรภ์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ตรวจท่าทางของเด็ก วัดการเจริญเติบโตของทารก ฟังการเต้นของหัวใจทารก ตรวจประเมินการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
- จ่ายยาบำรุง แพทย์จะให้ยาบำรุงหรือวิตามินมารับประทานเพื่อบำรุงครรภ์
- นัดหมายในครั้งต่อไป แพทย์จะนัดหมายการฝากครรภ์ครั้งต่อไป ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อความต่อเนื่อง
ฝากครรภ์ที่ไหนดี
สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์ หากจะตัดสินใจเลือกฝากครรภ์ที่ไหนดี ควรฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด อาจจะเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน เพราะหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น จะได้ไปโรงพยาบาลได้สะดวกรวดเร็ว
หากเป็นสถานพยาบาลที่คุณแม่มีประวัติการรักษาโรคประจำตัวมาก่อนยิ่งดี เพราะคุณหมอจะมีประวัติว่าคุณแม่เคยเป็นโรคอะไร ใช้ยาอะไร และจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนอาจจะฝากครรภ์กับคุณหมอสูติท่านเดิมก็ได้
1. เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
มีเลขใบอนุญาตจดทะเบียนสถานพยาบาล
สถานพยาบาลในประเทศไทยโดยมากแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ สำหรับการฝากครรภ์สามารถอยู่ในรูปแบบสูตินรีเวชกรรม โดยที่ทุกสถานพยาบาลจะต้องมีใบประกอบถูกต้องที่เรียกว่า ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
สถานพยาบาลสะอาด ปลอดภัย
ในทุกสถานพยาบาล สิ่งที่ควรจะคำนึงเป็นอันดับต่อไปก็คือ ความสะอาด ปลอดภัย ความสะอาดของเครื่องมือที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการตรวจร่างกายต่างๆ ทั้งเข็มเจาะเลือด เข็มฉีดยา ความสะอาดของพนักงานทั้งการแต่งกายและการปฏิบัติตนต้องรักษาความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ความสะอาดของห้องต่างๆ มีการทำความสะอาดอย่างถูกต้องและถูกหลักองค์การอนามัยโลก
ถ้าเป็นที่ Beyond IVF เราจะทำความสะอาดทุกชั่วโมง เพื่อรักษาความสะอาดและความปลอดภัย โดยเฉพาะในช่วงโควิด19 และเพื่อความสบายใจของลูกค้าที่เข้ามารับบริการ
อุปกรณ์ครบครัน ทันสมัย
เทคโนโลยีเป็นอีกด้านในปัจจุบันที่เกิดการแข่งขันกันระหว่างคลินิกค่อนข้างสูง โดยที่แต่ละคลินิกพยายามที่จะหาเครื่องมือใหม่ๆและทันสมัย เพื่อให้ได้ผลรับที่ดีที่สุดและทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
โดยปกติการฝากครรภ์จะใช้เทคโนโลยีของเครื่องอัลตราซาวด์แค่อย่างเดียวเพื่อตรวจดูท่าทางของทารกในครรภ์ ดูความผิดปกติในครรภ์ และทำให้คุณแม่ได้เห็นหน้าลูกที่อยู่ในครรภ์ แต่ในปัจจุบันเครื่องมือทางการแพทย์ยังไม่ได้มียี่ห้อที่หลากหลายมาก ทำให้เทคโนโลยียังมีความใกล้เคียงกัน
2. เลือกสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก
เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์แล้ว คุณหมอจะทำการนัดตรวจครรภ์หลายครั้งในช่วงแรกจะมีการนัดตรวจครรภ์ในทุกๆเดือน พอถึงช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดคุณหมอจะนัดตรวจถี่กว่าเดิมอาจจะทุกๆ 2 อาทิตย์
ดังนั้นการเลือกโรงบาลหรือคลินิกใกล้บ้านจึงสำคัญ นอกจากจะสะดวกสบายในการเดินทางแล้ว เมื่อคุณแม่มีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บท้อง มีเลือดออก ฯลฯ จะสามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันเวลา
3. แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์
ในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรจำเป็นต้องเป็นแพทย์ทางด้าน สูตินรีเวช เพราะแพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในเรื่องของการฝากครรภ์ การคลอดบุตร และให้การรักษาคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือการดูแลคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตร
โดยสูติแพทย์จะมีทักษาในการจัดการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้คุณแม่แต่ละท่าน รวมถึงประเมินความเสี่ยง การรักษาโรค และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้
4. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์มีความเหมาะสม
ราคาฝากครรภ์กับโรงพยาบาลรัฐ
- ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก (รวมค่าตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ค่าแพทย์ ฯลฯ) ประมาณ 1,500 บาท
- ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 80-300 บาท
- ค่ายาตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
- ค่าอัลตร้าซาวด์ ครั้งละประมาณ 500 บาท
- ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ
ราคาฝากครรภ์คลินิกกับโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน
สำหรับราคาการฝากครรภ์ ฝากท้องในคลืนิกหรือโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล
โดยมักมีราคาเฉลี่ยการฝากครรภ์ต่อครั้ง 3,000 – 5,000 บาท
ทั้งนี้ยังไม่รวมการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจ Nifty หรือการตรวจเช็คโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละบุคคลที่แพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญ
5. สถานพยาบาลที่มีการบริการที่ดี
การบริการคนไข้ที่ดี จะต้องบริการด้วยความเต็มใจในการบริการ การทำงานโดยมีใจรักจะแสดงออกมาทางกาย ด้วยรอยยิ้ม อารมณ์ดี และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับผู้มารับบริการ
สำหรับการบริการคุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวกว่าปกติ ถ้าพยาบาลพูดจาดีบริการดีก็จะทำให้คุณแม่หายกังวลไปได้
เปรียบเทียบฝากครรภ์กับสถานพยาบาลรัฐ Vs เอกชน
การฝากครรภ์ คุณแม่จะเลือกโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชน ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละท่าน แต่ถ้าถามว่าโรงพยาบาลรัฐบาลกับโรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร จะต่างกันตรงที่
- โรงพยาบาลรัฐบาล จะใช้เวลาในการรอนานกว่าปกติ เพราะว่ามีผู้ที่ไปรับบริการจำนวนมาก คุณหมอที่ตรวจจะผลัดเปลี่ยนกันไปไม่ใช่คุณหมอท่านเดิม ส่วนข้อดีของโรงพยาบาลรัฐบาลคือค่าใช้จ่ายไม่แพง
- โรงพยาบาลเอกชน จะใช้เวลาในการรอไม่นาน และเวลาที่คุณแม่ไปตรวจครรภ์ ไปฝากครรภ์ รวมถึงตอนคลอด จะเป็นคุณหมอท่านเดิมที่คอยดูแลคุณแม่ทุกครั้ง หรือที่เรียกกันว่า ฝากครรภ์พิเศษ เพียงแต่ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรจะค่อนข้างสูง
คำถามที่พบบ่อย
ฝากครรภ์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำหรับการฝากครรภ์เอกสารที่จำเป็นไม่มีมากมายอะไร อย่างแรกคือ บัตรประชาชน หรือ passport ของคุณแม่เพื่อใช้ยืนยันตัวตนและทำประวัติ เอกสารนอกเหนือจากนั้นที่ควรจะเตรียมมาคือ ของคุณแม่ที่มีการรักษาโรคส่วนตัว หรือเอกสารการตรวจโรค เพื่อให้แพทย์วิเคราะห์ครรภ์ได้ดีมากขึ้น
ฝากครรภ์ครั้งแรกกี่บาท
การฝากครรภ์ครั้งแรก จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างน้อยเพราะยังไม่มีการตรวจลึกซึ้งเป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อเริ่มเข้าสู่กระบวณการฝากครรภ์
ฝากท้องคลีนิคเสียเงินเท่าไหร่
ฝากท้องคลินิค มีมีค่าใช้จ่ายแตกต่างไปแต่ละที่ ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ของคุณแม่ที่โรงพยาบาลรัฐบาล จะมีราคาประมาณ 500 – 1,000 บาท แต่ในกรณีโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ประมาณ 3,000 – 5,000 บาท โดยไม่รวมการเจาะเลือดหรือตรวจรายการเฉพาะทางอื่นๆเพิ่มเติม
ฝากครรภ์คลีนิค คลอดโรงพยาบาลได้ไหม
ฝากครรภ์ที่ไหนก็สามารถคลอดที่โรงพยาบาลได้ แต่ว่าเพื่อความปลอดภัยและครบถ้วนของข้อมูลควรคลอดกับแพทย์ที่ฝากครรภ์มาตลอดเพราะแพทย์ท่านนั้นจะสามารถรู้ถึงภาวะครรภ์ของคุณแม่ดีที่สุด โดยแพทย์จะช่วยส่งตัวคนไข้และข้อมูลจากคลินิคไปที่โรงพยาบาลได้
ตรวจและฝากครรภ์กับ Beyond IVF
เพราะที่ Beyond IVF ก่อนจะเปิดสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรยาก เราต้องศึกษาเรื่องการดูแลครรภ์อย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญอย่าง อาจารย์ต้น พูนศักดิ์ สุชนวนิช ที่มีประสบการณ์ในด้านสูตินรีแพทย์มานานกว่า 20 ปี ไม่ใช่แค่การรักษาภาวะมีบุตรยาก ไม่ใช่แค่การฝากครรภ์ แต่ยังรวมไปถึงการคลอดบุตร
เพราะฉะนั้น ที่ Beyond IVF เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านนี้ค่อนข้างเยอะ รวมถึงในปัจจุบันสำหรับลูกค้าที่ฝากครรภ์กับเรา เราจะไม่มีแพ็คแกจที่ตายตัวหรือมีการดูแลที่เหมือนกันทุกเคส แต่เราจะออกแบบการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในแต่ละเคสต่างกันออกไปตามอาการที่ควรจะเป็น
การตรวจและฝากครรภ์ที่ Beyond IVF จะอิงจากผลการตรวจร่างกายเป็นหลัก เช่น ตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ตรวจโรคโลหิตจาง ตรวจโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรคหลอดประสาทไม่ผิด เป็นต้น
คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่มีความกังวลเกี่ยวกับด้านพันธุกรรม มีความกังวลเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่มี เราจะติดตามดูเป็นพิเศษเพื่อให้คุณแม่สบายใจมากขึ้น สามารถติดต่อนัดหมายเพื่อปรึกษาคุณหมอได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางการแอดไลน์ @beyondivf