Skip to content

รีวิวทำ ICSI เด็กหลอดแก้ว เตรียมผนังมดลูกตามคำแนะนำคุณหมอต้น ตั้งครรภ์สำเร็จในการใส่ตัวอ่อนครั้งที่ 2


25 มีนาคม 2025
เคสสำเร็จ

รีวิวทำ ICSI เด็กหลอดแก้ว เตรียมผนังมดลูกตามคำแนะนำคุณหมอต้น ตั้งครรภ์สำเร็จในการใส่ตัวอ่อนครั้งที่ 2

เคสนี้คนไข้อายุ 31 ปี มีน้องมาแล้ว 2 คน อยากได้น้องเบบี๋เพิ่มอีกหนึ่งคน ปล่อยมาเป็นเวลาสักพักใหญ่ๆ แต่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์สักที อยากมีลูกโดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวเองแก่ไปมากกว่านี้ จึงเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว ได้ตัดสินใจเข้ามาปรึกษากับคุณหมอต้น พูนศักดิ์ ที่ Beyond IVF เพราะดูรีวิวเคสสำเร็จ และประสบการณ์การรักษาภาวะมีบุตรยากของคุณหมอต้นที่เชี่ยวชาญมากกว่า 20 ปี

หลังจากปรึกษาเสร็จพร้อมตรวจร่างกาย เมื่อผลตรวจออกคุณหมอแจ้งว่าคุณผู้หญิงมีปัญหาเรื่องผนังมดลูก แต่ยังสามารถรักษาได้ด้วยวิธี ICSI คนไข้จึงตัดสินใจรักษาพร้อมเริ่มฉีดยากระตุ้นไข่ หลังจากฉีดครบ 10 วัน จนถึงวันนัดเก็บไข่ ได้เซลล์ไข่ทั้งหมด 25 ใบ ส่งต่อเซลล์ไข่ให้กับนักวิทย์ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงตัวอ่อน เมื่อถึงขั้นตอนปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนจากเซลล์ไข่ 25 ใบ เหลือตัวอ่อนที่ถึงระยะ Blastocyst (ระยะ 5 วัน) เพียง 10 ตัว และบางตัวมีเกรดที่ไม่ค่อยดี คุณหมอต้นจึงแนะนำคนไข้ให้ส่งตรวจ NGS เพื่อดูความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน เมื่อส่งตรวจ NGS แล้วพบว่าตัวอ่อนทั้ง 10 ตัวนั้นไม่พบความผิดปกติของโครโมโซมทั้ง 23 คู่ นั้นถือว่าสามารถเลือกย้ายตัวอ่อนตัวใดตัวหนึ่งได้ในทั้งหมด 10 ตัวเลย

ขั้นตอนต่อไปเป็นการเตรียมผนังมดลูกของคนไข้ เพราะในจุดนี้เป็นปัญหาที่เราพบตั้งแต่ตอนตรวจร่างกาย แต่คนไข้ต้องการย้ายตัวอ่อนทันทีในรอบเดือนถัดไป คุณหมอต้นจึงได้ให้คนไข้เริ่มทานยาเตรียมผนังมดลูกสำหรับการย้ายตัวอ่อน และใช้วิธี “Embryo glue” เทคนิคพิเศษของ Beyond IVF ร่วมกับการย้ายตัวอ่อน เพื่อเพิ่มโอกาสการสำเร็จให้ตัวอ่อนยึดติดกับผนังมดลูกได้มากขึ้น

แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นหลังจากย้ายตัวอ่อนครั้งแรกผ่านไป 15 วัน ผลปรากฎว่าค่า HCG น้อยกว่า 2 mIU/ml ทำให้การย้ายตัวอ่อนรอบแรกไม่สำเร็จ อัลตราซาวด์ก็ไม่พบถุงการตั้งครรภ์ คุณหมอต้นจึงนัดคนไข้เข้ามาปรึกษาร่วมกันอีกครั้งเพื่อตรวจหาสาเหตุ และแนวทางการรักษาแบบใหม่ โดยการย้ายตัวอ่อนรอบที่ 2 คุณหมอต้นขอปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในส่วนที่บกพร่อง พร้อมกับจ่ายยาบำรุงฟื้นฟูผนังมดลูกให้มีความพร้อมมากกว่านี้เป็นเวลา 3 เดือน

หลังจากครบกำหนด 3 เดือน ในการพักฟื้นฟูผนังมดลูกด้วยวิตามิน และตามคำแนะนำของคุณหมอต้นที่ขอปรับฮอร์โมนให้สมดุล ก็ได้มีการตรวจร่างกายอีกครั้งพบว่าผนังมดลูกสวยมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับการย้ายตัวอ่อนอีกครั้ง การย้ายตัวอ่อนรอบนี้คุณหมอต้นก็ได้ใช้วิธี “Embryo glue” อีกครั้งในการช่วยรักษา เมื่อถึงวันกำหนดย้ายตัวอ่อนรอบที่ 2 ผ่านไป 15 วัน ค่า HCG ขึ้นสูงเกินกว่า 1000 mIU/ml และอีก 3 วัน คุณหมอต้นขอนัดอัลตราซาวด์ดูถุงการตั้งครรภ์เพื่อความชัวร์ “ปรากฎว่าพบถุงการตั้งครรภ์ 1 ถุง” พร้อมกับความดีใจของคนไข้ที่สามารถมีน้องเบบี๋ได้อีกครั้ง เพราะเข้าใจผิดมาตลอดว่าตัวเองมีลูกมาก่อนแล้วจะทำให้มีลูกง่าย ถ้าไม่ใช่วิธี ICSI เด็กหลอดแก้ว และการออกแบบรักษาของคุณหมอต้น ก็อาจจะไม่สามารถมีลูกได้สำเร็จอีกครั้ง

คนไข้รักษาแบบด้วยวิธี ICSI เด็กหลอดแก้ว

เทคนิคพิเศษเพิ่มเติม

  • ICSI ( เทคนิคใช้กล้องชนิดพิเศษนำอสุจิเจาะเข้าเซลล์ไข่เพิ่มอัตราสำเร็จ)
  • NGS (ตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน)

ความรู้สึกที่คนไข้มีต่อ Beyond IVF

  • คุณหมอต้นรักษาเก่งมากค่ะๆ เกือบถอดใจเพราะครั้งแรกไม่สำเร็จ แต่คุณหมออธิบายถึงปัญหาได้เข้าใจมากเลยค่ะ จนรักษาสำเร็จมีน้องเพิ่มมาในครอบครัวเราอีก 1 คน ดีใจมากค่ะ
  • สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังรังเรเกี่ยวกับรักษามีลูกยาก แนะนำที่ Beyond IVF เลยค่ะ พี่ๆที่นี้บริการดีมากน่ารักเป็นกันเองทุกคนเลยค่ะ

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

เคสสำเร็จ

อายุไม่มากแต่เจอปัญหาฮอร์โมนเสื่อม ตั้งครรภ์ด้วยวิธี ICSI รักษาโดยคุณหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

อยากมีลูกคนที่ 3 ปล่อยมานานมากๆจนเข้าสู่ภาวะมีลูกยาก ตั้งครรภ์สำเร็จด้วยวิธี ICSI รักษาโดยหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

รีวิวฝากไข่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รีวิวเก็บไข่อย่างละเอียดทุกขั้นตอน

Read the story
เคสสำเร็จ

มีลูกยาก อยากมีลูก มาทำ ICSI กับคุณหมอต้นครั้งเดียวติดเลย ที่ Beyond IVF

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ