Skip to content

เชื้อราในช่องคลอด อาการคัน ตกขาว รบกวนใจ รักษาอย่างไรให้หายขาด


31 มีนาคม 2025
บทความ

เชื้อราในช่องคลอด โรคที่สามารถเกิดได้ในคุณผู้หญิง เพราะอวัยวะเพศของผู้หญิงมีความซับซ้อนและอยู่ภายใน ยากต่อการตรวจเช็คและทำความสะอาด ทำให้หลายคนเกิดความกังวลเมื่อเกิดอาการหรือความผิดปกติ ในหลายครั้งที่เกิดอาการคัน หรือความผิดปกติโดยทั่วไปก็จะคิดถึงโรคเชื้อราในช่องคลอดก่อนเป็นอันดับแรก แต่เรามาดูกันว่า โรคเชื้อราในช่องคลอด มีอาการเป็นอย่างไรและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ถ้าหากเป็นแล้วจะข้องรักษาอย่างไร เมื่อเกิดอาการแล้วจะได้รักษาได้ทัน

เชื้อราในช่องคลอดอันตรายหรือไม่ ?

  • เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไรเชื้อราในช่องเกิดจากการที่จำนวนเชื้อราเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติจนทำให้ในช่องคลอดเสียความสมดุล ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณช่องปาก อวัยวะเพศ ระบบทางเดินอาหารหรือเป็นผิวหนังคนเป็นต้น
  • เชื้อราในช่องคลอดรักษาอย่างไร เชื้อราในคลอดสามารถใช้ยาเฉพาะจุดเพื่อรักษาได้เช่น ยาทาหรือยาเหน็บ รวมไปถึงการเลือกรับประทานยากลุ่ม Azole เป็นต้น
  • วิธีการป้องกันเชื้อราในช่องคลอด ควรรรักษาความสะอาดให้ดี เปลี่ยนผ้าอนามัยสม่ำเสมอเมื่อมีประจำเดือนเพื่อช่วยลดอาการอับชื้น หลีกเลี่ยงพฤกรรมติการใส่เสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไปและไม่ควรใช้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเช่น สบู่หรือน้ำยาใดๆในการล้างช่องคลอดเป็นต้น

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง ซึ่งเชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วไป มักพบร้อยละ 40 แต่จะไม่เกิดปัญหาถ้าหากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หากระบบสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนจากกรดเป็นด่าง จะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราเพิ่มมากขึ้น


ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด

  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น พอปริมาณฮอร์โมนที่สูงขึ้น เชื้อราก็จะมีปริมาณมากขึ้นเช่นกัน
  • โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ดี ไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดมากขึ้น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเกินไป จะไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่สร้างความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้น
  • การรับประทานยาเสตียรอยด์ เพราะจะลดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์
  • การใส่กางเกงที่แน่นและคับมากเกินไป

อาการของเชื้อราในช่องคลอด

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

  • ติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นครั้งแรก ควรพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้น
  • หากเป็นผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์
  • ติดเชื้อราในช่องคลอด 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี แพทย์อาจต้องให้ยาต้านเชื้อรานานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค นอกจากนี้การติดเชื้อราบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ได้

การตรวจวินิจฉัยเชื้อราในช่องคลอด

ตรวจเบื้องต้นด้วยการสอบประวัติ

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วยก่อนว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง มีอาการมาแล้วกี่วัน เคยมีคู่นอนมาแล้วกี่คน การปฏิบัติหลังจากใช้ห้องน้ำมีการซับน้ำบริเวณอวัยวะเพศไหม เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดเบื้อต้นก่อนจะทำการตรวจภายใน

การตรวจภายใน

แพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์ตรวจดูภายในเบื้องต้นเพื่อดูความผิดปกติภายในช่องคลอด และตรวจดูอาการภายนอก เช่น ดูสีของตกขาว ดูอาการผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างเชื้อส่งต่อให้ทางห้องแล็บนำไปเพาะเชื้อและวินิจฉัยเพิ่มเติม

การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง

การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง เช่น ตกขาว swab ช่องคลอดเพื่อนำเนื้อเยื่อไปตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อราในช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติบริเวณปากมดลูก เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการรักษาต่อไป

**ทั้งหมดนี้ควรตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด

วิธีป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

  • กินโยเกิร์ตหรือยาคูลท์ที่มีจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด จะสามารถช่วยลดอัตราการเป็นเชื้อราในช่องคลอดได้
  • กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ภาวะแพ้อาหารทำให้อาการของโรคแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงกางเกงชั้นในที่รัดแน่น
  • การทำความสะอาด ควรใช้น้ำสะอาดเท่านั้น
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาใดๆ ล้างช่องคลอด เพราะนั่นคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง และไม่ควรล้างภายในช่องคลอด
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอขณะมีประจำเดือน เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น

Q&A โรคเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่

ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงยังไม่มีข้อสรุปให้รักษาในทุกราย หากคู่นอนมีอาการก็ควรที่จะรักษาร่วมกันไปด้วย

เชื้อราในช่องคลอด สามารถหายเองได้ไหม

การติดเชื้อราในช่องคลอดถ้าอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา แต่ควรรักษาความสะอาดของช่องคลอด ดูแลบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้อับชื้น เนื่องจากบริเวณที่ร้อนและอับชื้นเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการและความผิดปกติบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอดเสมอ หากมีอาการคัน แสบร้อน บวม แดง ปวดช่องคลอด มีผื่น ตกขาวหนาสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็น อาจเป็นอาการของเชื้อราในช่องคลอดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งควรรีบพบแพทย์

การทานยาคูลท์ ช่วยรักษาเชื้อราในช่องคลอดได้ไหม

ปกติแล้วช่องคลอดของผู้หญิงจะมีจุลินทรีย์แล็คโตบาซิลลัสอาศัยอยู่ ถือเป็นแบคทีเรียชนิดดี ช่วยป้องกันเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีต่างๆ เมื่อมีปัญหาตกขาวเปลี่ยนสี มีกลิ่น และเกิดอาการคันบริเวณช่องคลอด การกินยาคูลท์หรือโยเกิร์ตที่มีแล็คโตบาซิลลัสจะช่วยลดปัญหาการติดเชื้อของช่องคลอดได้ โดยแล็คโตบาซิลลัสจะไปลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา ลดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้อาการคันและกลิ่นดีขึ้น

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ