Skip to content

ฝากครรภ์ที่ไหนดี? แนะนำวิธีเลือกคลินิกฝากครรภ์ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้!


01 เมษายน 2025
บทความ

“ฝากครรภ์ที่ไหนดี” เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยสงสัย และต้องการคำตอบ เพราะการเลือกคลินิกฝากครรภ์มีความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยอย่างมาก ซึ่งจะมีแนวทางเลือกคลินิกฝากครรภ์ที่ไหนดีอย่างไร ที่นี่เรามีคำตอบให้กับคุณ

ตอบคำถาม: ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

  • ควรจะเลือกคลินิกฝากครรภ์ที่ได้มาตรฐาน มีสูตินรีแพทย์ที่มีประสบการณ์อยู่ประจำคลินิก
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกฝากครรภ์นั้นควรจะมีความสะอาด สามารถเดินทางได้สะดวกจากบ้านคุณ เนื่องจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  • คุณสามารถฝากครรภ์กับสถานพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกทั้งด้านการเงินและเวลา
  • การฝากครรภ์จะช่วยให้การตั้งครรภ์สามารถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ จึงควรเข้าฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์

ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์ หากจะตัดสินใจเลือกฝากครรภ์ที่ไหนดี ควรฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด อาจจะเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน เพราะหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น จะสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

หากเป็นสถานพยาบาลที่คุณแม่มีประวัติการรักษาโรคประจำตัวมาก่อนยิ่งดี เพราะคุณหมอจะมีประวัติการรักษาว่าคุณแม่เคยเป็นโรคอะไร ใช้ยาอะไร และจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนอาจจะฝากครรภ์กับคุณหมอสูติท่านเดิมก็ได้ ซึ่งปกติแล้วการเลือกคลินิกฝากครรภ์ที่ไหนดีนั้นเราจะมีข้อควรพิจารณาอยู่ ดังนี้

1.เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

  • มีเลขใบอนุญาตจดทะเบียนสถานพยาบาล

สถานพยาบาลในประเทศไทยโดยมากแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ สำหรับการฝากครรภ์สามารถอยู่ในรูปแบบสูตินรีเวชกรรม โดยที่ทุกสถานพยาบาลจะต้องมีใบประกอบถูกต้องที่เรียกว่า ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ดังนั้นก่อนเลือกสถานพยาบาลไหนควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตประเภทสูตินรีเวชกรรมด้วยหรือไม่

  • สถานพยาบาลสะอาด ปลอดภัย

ในทุกสถานพยาบาล สิ่งที่ควรจะคำนึงเป็นอันดับต่อไปก็คือ ความสะอาด ปลอดภัย ความสะอาดของเครื่องมือที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการตรวจร่างกายต่าง ๆ ทั้งเข็มเจาะเลือด เข็มฉีดยา ความสะอาดของพนักงานทั้งการแต่งกายและการปฏิบัติตนต้องรักษาความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ความสะอาดของห้องต่าง ๆ มีการทำความสะอาดอย่างถูกต้องและถูกหลักองค์การอนามัยโลก

  • อุปกรณ์ครบครัน ทันสมัย

เทคโนโลยีเป็นอีกด้านในปัจจุบันที่เกิดการแข่งขันกันระหว่างคลินิกค่อนข้างสูง โดยที่แต่ละคลินิกพยายามที่จะหาเครื่องมือใหม่ ๆ และทันสมัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ

โดยปกติการฝากครรภ์จะใช้เทคโนโลยีของเครื่องอัลตราซาวนด์แค่อย่างเดียวเพื่อตรวจดูท่าทางของทารกในครรภ์ ดูความผิดปกติในครรภ์ และทำให้คุณแม่ได้เห็นหน้าลูกที่อยู่ในครรภ์ แต่ในปัจจุบันเครื่องมือทางการแพทย์ยังไม่ได้มียี่ห้อที่หลากหลายมาก ทำให้เทคโนโลยียังมีความใกล้เคียงกัน


2.เลือกสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก

เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์แล้ว คุณหมอจะทำการนัดตรวจครรภ์หลายครั้ง ในช่วงแรกจะมีการนัดตรวจครรภ์ในทุก ๆ เดือน พอถึงช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดคุณหมอจะนัดตรวจถี่กว่าเดิม เช่น อาจจะทุก 2 อาทิตย์

ดังนั้น การเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านจึงสำคัญ นอกจากจะสะดวกสบายในการเดินทางแล้ว เมื่อคุณแม่มีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บท้อง มีเลือดออก ฯลฯ จะสามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันเวลา


3.เป็นแพทย์เฉพาะทาง มีประสบการณ์

ในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรจำเป็นต้องเป็นแพทย์ทางด้าน ‘สูตินรีเวช’ เท่านั้น เพราะแพทย์จะต้องมีความชำนาญในเรื่องของการฝากครรภ์ การคลอดบุตร และให้การรักษาคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือการดูแลคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตร

โดยสูตินรีแพทย์จะมีทักษะในการจัดการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้คุณแม่แต่ละท่าน รวมถึงประเมินความเสี่ยง การรักษาโรค และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้


4.ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์มีความเหมาะสม

  • ราคาฝากครรภ์กับโรงพยาบาลรัฐ
  • ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก (รวมค่าตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ค่าแพทย์ ฯลฯ) ประมาณ 1,500 บาท
  • ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 80-300 บาท
  • ค่ายาตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
  • ค่าอัลตราซาวนด์ ครั้งละประมาณ 500 บาท
  • ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท

หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

  • ราคาฝากครรภ์คลินิกกับโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน

สำหรับราคาการฝากครรภ์ ฝากท้องกับคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล

โดยมักมีราคาเฉลี่ยการฝากครรภ์ต่อครั้งอยู่ที่ 3,000-5,000 บาท

ทั้งนี้ยังไม่รวมการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจ Nifty หรือการตรวจเช็คโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละบุคคลที่แพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญ


5.สถานพยาบาลที่มีการบริการที่ดี

การบริการคนไข้ที่ดี จะต้องบริการด้วยความเต็มใจ การทำงานโดยใจรักจะสามารถสังเกตเห็นได้จากภาษากาย รอยยิ้ม อารมณ์ดี และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับคนไข้ที่เข้ามารับบริการ

สำหรับการบริการคุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวกว่าปกติ ถ้าพยาบาลพูดจาดีบริการดีก็จะทำให้คุณแม่หายกังวลไปได้


เปรียบเทียบฝากครรภ์กับสถานพยาบาลรัฐ Vs เอกชน

การฝากครรภ์ที่ไหนดี คุณแม่จะเลือกโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชน ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละท่าน แต่ถ้าถามว่าโรงพยาบาลรัฐบาลกับโรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร จะต่างกันตรงที่

  • โรงพยาบาลรัฐบาล จะใช้เวลาในการรอนานกว่าปกติ เพราะว่ามีผู้ที่ไปรับบริการจำนวนมาก คุณหมอที่ตรวจจะผลัดเปลี่ยนกันไปไม่ใช่คุณหมอท่านเดิม ส่วนข้อดีของโรงพยาบาลรัฐบาลคือค่าใช้จ่ายไม่แพง
  • โรงพยาบาลเอกชน จะใช้เวลาในการรอไม่นาน และเวลาที่คุณแม่ไปตรวจครรภ์ ไปฝากครรภ์ รวมถึงตอนคลอด จะเป็นคุณหมอท่านเดิมที่คอยดูแลคุณแม่ทุกครั้ง หรือที่เรียกกันว่า ฝากครรภ์พิเศษ เพียงแต่ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรจะค่อนข้างสูง


ฝากครรภ์ครั้งแรกทำอย่างไร

เมื่อคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์ เมื่อได้รับคำตอบแล้วว่าฝากครรภ์ที่ไหนดี สิ่งที่ควรเตรียมตัวมาเพื่อพบแพทย์คือ ตัวเลขเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เช่น ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย หรือการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด โดยสิ่งที่ควรเตรียมมาอีกเพิ่มเติมคือ หากคุณแม่ท่านใดมีโรคประจำตัว ควรนำยาหรือวิตามินที่ทานทั้งหมดมาด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่ามีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ และวางแผนการดูแลครรภ์ต่อไป


ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง

ในการตรวจครรภ์ครั้งแรก ส่วนมากแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ครรภ์ของคุณแม่ท่านนั้น ๆ ว่า อายุครรภ์ประมาณเท่าไหร่ หรือว่ามีโรคใดที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนการตรวจจะเป็นการตรวจ Ultrasound ผ่านช่องคลอดเพื่อดูถึงการตั้งครรภ์ว่า มีการตั้งครรภ์จริง และครรภ์เจริญเติบโตสัมพันธ์ต่ออายุครรภ์หรือไม่


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ