สาเหตุของการมีบุตรยาก สามารถตรวจได้จากฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งสำหรับฝ่ายหญิง ฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) สามารถบ่งบอกได้ว่าคุณเป็นผู้มีบุตรยากหรือไม่ โดยฮอร์โมนตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับรังไข่ที่เป็นส่วนสำคัญหลักในการสืบพันธุ์ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่าจริงๆแล้วฮอร์โมน AMH ทำหน้าอย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วเมื่อพบว่าฮอร์โมน AMH ไม่สมดุลหมายถึงอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
ทำความรู้จัก ‘ฮอร์โมน AMH’
ฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากเซลล์ไข่ในรังไข่ของผู้หญิง เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำงานของรังไข่และบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้ในขณะนั้น ฮอร์โมน AMH จะมีค่าสูงในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และลดลงเรื่อยๆจนหมดไปเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
![อยากมีลูก ไม่ท้องสักที รีบปรึกษาแพทย์ ก่อนถึงวัยมีลูกยาก ปนึกษาแพทย์ฟรี คลิก](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/11/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81.webp)
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมน AMH
![ค่าฮอร์โมน amh](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/05/ค่าฮอร์โมนamh.jpeg)
- ช่วยประเมินความสามารถของการทำงานของรังไข่เพื่อประเมินโอกาสการตั้งครรภ์และช่วยให้แพทย์แนะนำวิธีการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น
- ค่า AMH เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ประเมินว่า ควรให้การกระตุ้นรังไข่มากน้อยแค่ไหนจึงเหมาะสม เพื่อประกอบการรักษาภาวะมีบุตรยาก
- ค่า AMH ที่สูง ใช้ช่วยประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) ร่วมกับการประเมินอื่นๆ ได้เหมาะกับคุณผู้หญิงหรือคู่สมรสที่เตรียมตั้งครรภ์ในอนาคต
การตรวจฮอร์โมน AMH กับการตั้งครรภ์
![anti mullerian hormone คือ](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/05/anti_mullerian_hormone.jpeg)
การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH จะเป็นการตรวจเพื่อทดสอบสมรรถภาพของรังไข่ โดยการเจาะเลือดสามารถบอกได้ว่ารังไข่ทำงานปกติหรือไม่ รวมถึงสามารถวัดได้ว่าในรังไข่ยังมีไข่สะสมอยู่มากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินโอกาสการตั้งครรภ์ และยังช่วยให้แพทย์แนะนำแนวทางเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิงได้มากขึ้น
อีกทั้งในกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ไม่ว่าจะเป็น IVF หรือ ICSI นั้นต่างก็ใช้ค่าบ่งชี้ของ AMH ในการทำนายว่า รังไข่จะสามารถตอบสนองการกระตุ้นไข่ด้วยยาที่ใช้มากแค่ไหน และควรใช้ปริมาณยามากน้อยเท่าไหร่ เพื่อให้มีการผลิตไข่ออกมาในปริมาณที่เหมาะสม
![ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/10/ไลน์-ปรึกษาแพทย์ฟรี-คลิก-2.png)
![สอบถามรายละเอียด โทรเลย](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/11/สอบถามรายละเอียด-โทรเลย-1.png)
ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน AMH
- พยาบาลจะซักประวัติของคุณแม่เบื่องต้นก่อน
- พยาบาลจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เสร็จแล้วพยาบาลจะพาไปพบแพทย์
- พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว ยาปฏิชีวนะที่ใช้ เคยมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซมไหม ประวัติโรคประจำตัวของคนในครอบครัว
- เจาะเลือด และนำไปตรวจ AMH เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นและตรวจการทำงานของรังไข่
- รอผลตรวจ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ค่าปกติของฮอร์โมน AMH
![ฮอร์โมน amh ค่าปกติ](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/05/ฮอร์โมนamhค่าปกติ.jpg)
- ฮอร์โมน AMH มากกว่า 4 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนสูง สามารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า อาจเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic ovary syndrome)
- ฮอร์โมน AMH อยู่ในช่วง 1 – 4 ng/ml เป็นค่าฮอร์โมนปกติ
- ฮอร์โมน AMH อยู่ในช่วง 0.3 – 1 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนที่ค่อนข้างต่ำ สามารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า มีจำนวนไข่อยู่ค่อนข้างน้อย เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก
- ฮอร์โมน AMH น้อยกว่า 0.3 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนต่ำ สมารถบอกถึงสุขภาพภายในของฝ่ายหญิงได้ว่า ตอนนี้จำนวนไข่เหลืออยู่จำนวนน้อยมากแล้ว มีภาวะบุตรยากสูง หากต้องการมีบุตรต้องปรึกษาแพทย์
ระดับค่า AMH ตามช่วงวัยและอายุ
- ช่วงอายุ 18-24 ปี ค่าฮอร์โมน AMH 2.15-8.40 ng/mL
- ช่วงอายุ 25-29 ปี ค่าฮอร์โมน AMH 1.20-8.76 ng/mL
- ช่วงอายุ 30-34 ปี ค่าฮอร์โมน AMH 0.80-7.00 ng/mL
- ช่วงอายุ 35-39 ปี ค่าฮอร์โมน AMH 0.11-5.15 ng/mL
- ช่วงอายุ 40-44 ปี ค่าฮอร์โมน AMH 0.10-3.84 ng/mL
ใครบ้างที่ควรตรวจฮอร์โมน AMH
- ผู้หญิงที่ต้องการตรวจว่ามีไข่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์หรือไม่
- ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และพยายามตั้งครรภ์มานานกว่า 12 เดือน
- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และพยายามตั้งครรภ์มานานกว่า 6 เดือน
- ผู้หญิงที่ต้องการฝากไข่ เพื่อวางแผนการมีบุตรในอนาคต
- ผู้หญิงที่ผ่านการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการผ่าตัดรังไข่
- ผู้หญิงที่มีความจำเป็นต้องรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือต้องผ่าตัดรังไข่ในระยะอันใกล้
คำถามที่พบบ่อย
ควรตรวจฮอร์โมน AMH ช่วงไหนของรอบเดือน
ระดับของฮอร์โมน AMH ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของรอบเดือน ตรวจวันใดก็ได้และไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารล่วงหน้า
หากผลตรวจค่าฮอร์โมน AMH ไม่ปกติ สามารถตั้งครรภ์ได้ไหม
มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ แต่หากค่าฮอร์โมน AMH ไม่ปกติจะเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก เนื่องจากฮอร์โมน AMH จะเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของรังไข่
มีวิธีที่ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมน AMH หรือไม่ อย่างไร
การดูแลให้ระดับฮอร์โมน AMH มีความสมดุลเป็นสิ่งที่ดี และทำได้การกินอาหารที่ช่วยให้ไข่ในรังไข่แข็งแรง และช่วยกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมน AMH มีความสมดุล มีดังนี้
- วิตามินดี (Vitamin D) วิตามินดีมีส่วนช่วยให้การปรับสมดุลฮอร์โมน AMH ซึ่งรวมถึงการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ด้วย เพราะระดับฮอร์โมน AMHสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการขาดวิตามินดีด้วย อาหารที่มีวิตามินดี คือ ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลม่อน น้ำส้มสด นมถั่วเหลือง ตับวัว ซีส ไข่แดง
- โอเมก้า-3 (Omega-3) ช่วยพัฒนาคุณภาพไข่ และบำรุงให้รังไข่แข็งแรงได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุมาก การกินโอเมก้า 3 เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานานจะช่วยป้องกันความเสื่อมของรังไข่ได้ แม้ในการกินโอเมก้า 3 เป็นเวลาสั้นๆ ก็ช่วยกระตุ้นคุณภาพของไข่ในรังไข่ได้ อาหารที่มีโอเมก้า3 คือ ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริง ปลาซาดีน ถั่ววอลนัต เมล็ดเจีย เมล็ดแฟล็ก น้ำมันเมล็ดแฟล็ก น้ำมันถั่วเหลือง ไข่ โยเกิร์ต น้ำผลไม้
- โคคิวเท็น (CoQ-10) เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น กระบวนการทำงานของร่างกายในส่วนที่ช่วยผลิตใยอาหารที่ส่งผลต่อการผลิตโคคิวเท็นจะลดลง ดังนั้นการเพิ่มระดับโคคิวเท็นจึงช่วยกระตุ้นปริมาณและคุณภาพของไข่ในรังไข่ได้ ความบกพร่องในรังไข่ที่สามารถนำไปสู่ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการกินโคคิวเท็น อาหารที่มีโคคิวเท็น คือ เครื่องในสัตว์ (หัวใจ ตับ ไต) เนื้อสัตว์ (เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว) ปลาซดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาเฮอร์ริง ปลาเทราท์ ผักโขม ดอกกระหล่ำ บล็อกโคลี ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ งา ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพิสตาชิโอ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า
- สังกะสี (Zinc) สังกะสีเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของไข่ การสุก และการตกไข่ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อฮอร์โมนเอสตราไดออล ซึ่งเป็นอีกฮอร์โมนที่สำคัญต่อภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้นหากขาดสังกะสี ก็จะส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ อาหารที่มีสังกะสี คือ หอยนางรม ปู กุ้งล็อบสเตอร์ เนื้อวัว เนื้อไก่ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืช
![ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/10/ไลน์-ปรึกษาแพทย์ฟรี-คลิก-2.png)
![สอบถามรายละเอียด โทรเลย](https://beyondivf.com/wp-content/uploads/2022/11/สอบถามรายละเอียด-โทรเลย-1.png)
ข้อสรุป
ฮอร์โมน AMH คือฮอร์โมนที่ผลิตจากการเซลล์ไข่ และสามารถบ่งบอกได้ถึงจำนวนไข่ที่มีในรอบนั้นๆ รวมถึงการทำงานของรังไข่ว่ายังทำงานปกติหรือไม่ หากค่าฮอร์โมน AMH สูงก็จะเสี่ยงกับการเป็นถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) แต่หากมีค่าฮอร์โมน AMH ต่ำ ก็จะบ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก (โดยระดับค่าฮอร์โมน AMH สูงและต่ำ เทียบกับค่าเหลี่ยในช่วงอายุเดียวกัน)
ทั้งนี้การตรวจฮอร์โมน AMH จึงมีความสำคัญกับผู้ที่กำลังวางแผนในการมีลูกเป็นอย่างมาก หากท่านไหนลองวิธีธรรมชาติมาตั้ง 6-12 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์แนะนำให้รีบปรึกษาเพื่อให้แพทย์ช่วยหาแนวทางในการรักษา หากท่านไหนไม่สะดวกเดินทางไปพบแพทย์สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf