Skip to content

เสียงหัวใจทารกจะได้ยินตอนอายุครรภ์กี่สัปดาห์


30 มีนาคม 2025
บทความ

วิธีการฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์

  • Real time sonography คือการตรวจอัลตราซาวด์แบบหนึ่ง ซึ่งภาพที่เห็นนั้นเกิดขึ้นจากการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป เพื่อตรวจดูอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น การเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ สามารถทำได้เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
  • Ultrasonic Doppler เป็นเครื่องเสียงความถี่สูง ที่แพทย์นำมาช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยการตรวจด้วยเครื่องนี้จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจของทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10-12 สัปดาห์ขึ้นไป
  • หูฟังแพทย์ Stethoscope แพทย์สามารถใช้หูฟังธรรมดาฟังเสียงหัวใจของทารกที่มีอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ขึ้นไปได้ โดยแพทย์จะแนบหูฟังลงบนท้อง ก็จะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังตุบๆ ที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอและชัดเจน
  • Echocardiography อีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยตรวจประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องเสียงความถี่สูง และทำให้คุณแม่ได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือนี้ได้ตั้งแต่ 48 วันหลังประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

ตำแหน่งการฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์

  • หากส่วนนำของทารกคือ ก้น เสียงหัวใจจะได้ยินสูงกว่าระดับสะดือ
  • หากส่วนนำของทารกคือ ศีรษะ เสียงหัวใจจะได้ยินต่ำกว่าระดับสะดือ
  • หากท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าข้างขวาของช่องเชิงกรานคุณแม่ ตำแหน่งที่จะได้ยินเสียงหัวใจทารกอย่างชัดเจนนั้น คือด้านขวาล่างของหน้าท้องคุณแม่
  • หากท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าข้างซ้ายของช่องเชิงกรานคุณแม่ ตำแหน่งที่จะได้ยินเสียงหัวใจทารกอย่างชัดเจนนั้น คือด้านขวาซ้ายของหน้าท้องคุณแม่

จังหวะการเต้นของหัวใจแม่และลูกเต้นพร้อมกันหรือไม่

สำหรับคุณแม่และลูกในท้องอาจจะดูเหมือนทุกอย่างเชื่อมต่อกัน แต่จริงๆแล้วลูกคืออีกหนึ่งชีวิตที่อยู่ในครรภ์ของแม่ ดังนั้นหัวใจของแม่และลูกจึงเต้นไม่พร้อมกันเสมอไป และในช่วง 8-9 สัปดาห์การเต้นของหัวใจลูกจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ เพราะในช่วงนี้ลูกจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 175 ครั้งต่อนาที แล้วช่วงนี้เป็นช่วงที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะไปอัลตร้าซาวด์กัน

ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านไหนมีความกังวลใจสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Beyond IVF หรือแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ