Skip to content

รู้จักภาวะท่อนำไข่ตัน สาเหตุของการมีบุตรยาก รักษาอย่างไรได้บ้าง?


30 มีนาคม 2025
บทความ

ภาวะท่อนำไข่ตีบตัน (Block Fallopian Tube) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสำหรับผู้มีบุตรยาก และเป็นที่มาของอันตรายหลายๆอย่างที่อาจตามมา ซึ่งหลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบแท้จริงแล้วการตีบตัดของท่อนำไข่คืออะไร ตีบตันตรงบริเวณไหน สาเหตุของภาวะท่อนำไข่ตีบตันเกิดจากอะไร มีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะนี้ไหม ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร หากเป็นแล้วจะต้องตัดรังไข่ไหม และวิธีรักษามีกี่วิธี


ภาวะท่อนำไข่อุดตัน

ภาวะท่อนำไข่ตีบตัน (Block Fallopian Tube) เป็นภาวะความผิดปกติของท่อนำไข่ มีการเกิดพังผืดที่บริเวณท่อนำไข่ หรือ การเกิดภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinx) เพราะจะไปปิดกั้นท่อนำไข่ทำให้ไข่ไม่สามารถผ่านไปเพื่อผสมกับตัวอสุจิได้ ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และถ้าหากอสุจิเข้ามาผสมกับไข่ได้ ตัวอ่อนก็จะไม่สามารถผ่านท่อนำไข่ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ ส่งผลให้เกิด การตั้งครรภ์นอกมดลูก

รู้จักท่อนำไข่ (Fallopian Tubes)

ท่อนำไข่อุดตันเกิดจากสาเหตุใด

1. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

ในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การติดเชื้อกลุ่ม Chlamydia และ Gonorrhea สามารถทำให้เกิดพังผืด รอบๆ ได้ และส่งผลให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบตามมา

2. การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

การติดเชื้อที่อุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืดรอบๆ ท่อนำไข่ หรือทำให้เกิด Hydrosalpinx หรือที่เรียกว่า ท่อนำไข่บวมน้ำได้

3. การผ่าตัดในช่องท้องส่วนล่าง

เคยมีประวัติการผ่าตัดช่องท้องมาก่อน โดยเฉพาะการผ่าตัดที่เกิดกับท่อนำไข่ เช่น การทำหมัน (จะส่งผลโดยตรงให้ท่อรังไข่ตีบตัน) การผ่าตัดไส้ติ่ง เนื้องอกมดลูก หรือการผ่าตัดอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดพังผืดบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

4. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ซึ่งอาจมีการไปเจริญที่ท่อนำไข่ หรือการเกิดพังผืดรอบๆ ท่อนำไข่จากการอักเสบรอบๆ อุ้งเชิงกราน

อาการของภาวะท่อนำไข่อุดตัน

โดยปกติแล้วภาวะท่อนำไข่ตีบตันจะไม่แสดงอาการใดๆ จนเกิดปัญหาเรื่องมีบุตรยากจึงเริ่มสงสัยภาวะนี้ ในบางครั้งอาจมีอาการปวดท้องเล็กน้อยด้านที่ท่อนำไข่มีปัญหา ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่มีปัญหาท่อนำไข่บวม(Hydrosalpinx) เนื่องมาจากสารคัดหลั่งที่สร้างจากท่อนำไข่ไม่สามารถจะระบายออกไปได้ จึงเกิดภาวะที่มีน้ำคั่งอยู่ในท่อนำไข่ จนทำให้ท่อนำไข่เกิดการบวม และอาจเกิดอาการปวดขึ้นมาได้


ผลข้างเคียงจากภาวะท่อนำไข่อุดตัน

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะท่อนำไข่ตีบตันเป็นภาวะที่พบว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก เมื่อเป็นอาจจะปิดกั้นการเจอกันของไข่กับอสุจิ หรือปิดกั้นการเดินทางของตัวอ่อน ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้

แต่หากเกิดการตีบตันแบบ 100% โอกาสประสบความสำเร็จก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าไม่ใช่การตีบตันทั้งหมด ก็อาจยังมีโอกาสตั้งท้องได้ แต่จะเสี่ยงเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากขึ้น

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การท้องนอกมดลูก (Ectopic pregnancy) หากท่อนำไข่ไม่ได้ตีบทั้งหมด ไข่กับสเปิร์มอาจสามารถเดินทางมาเจอและปฎิสนธิกัน แต่จะไม่สามารถเดินทางไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ จึงเกิดเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกแทน

ซึ่งการตั้งครรภ์นอกมดลูก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างหนึ่ง แม้แต่การรักษาท่อนำไข่ตีบตันแบบการผ่าตัดก็อาจเพิ่มโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้เช่นกัน

การวินิจฉัยภาวะท่อนำไข่อุดตัน

การวินิจฉัยภาวะท่อนำไข่ตีบตันจะใช้วิธีการฉีดสีท่อนำไข่ การฉีดสีดูท่อนำไข่ (Hysterosalpingography : HSG) คือ การฉีดสีร่วมกับเอ็กซ์เรย์ดูว่ามีสีผ่านไปในปีกมดลูกหรือท่อนำไข่หรือไม่ ปกติการตรวจ HSG ควรทำหลังประจำเดือนหมดในรอบนั้นหรือก่อนถึงวันไข่ตกในรอบถัดไป การตรวจเป็นแบบ Non-invasive คล้ายการตรวจภายในโดยทั่วไป

หรือหากการทำ HSG ไม่ได้คำตอบ แพทย์อาจเลือกที่จะทำการส่องกล้องเล็กๆ (Laparoscopy) เพื่อให้เห็นพยาธิสภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถทำการรักษาได้เลยเมื่อเจอความผิดปกติ


วิธีรักษาภาวะท่อนำไข่อุดตัน

สำหรับวิธีรักษาภาวะท่อนำไข่อุดตัน มีดังนี้

  • ในกรณีที่ท่อนำไข่มีการตีบตีนเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธี การส่องกล้อง เผื่อเอาพังผืดออกหรือเปิดท่อนำไข่ ซึ่งอาจทำร่วมกับการรักษาด้วยการกระตุ้นให้ไข่ตกในบางราย หรืออาจทำ IUI ร่วมด้วย
  • ในกรณีที่ท่อนำไข่มีการตีบตันมาก อาจต้องพิจารณาการผ่าตัด แต่ในบางครั้งการรักษาท่อนำไข่อาจจะไม่ได้มีประโยชน์มากในบางกรณี เช่น มีเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ร่วมด้วย มีปัญหาเรื่องไข่ หรือมีภาวะมีบุตรยาก แพทย์อาจแนะนำให้ทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี IVF หรือ ICSI เพื่อที่ตัวอ่อนไม่จำเป็นต้องเดินทางผ่านท่อนำไข่ไปฝังตัวที่โพรงมดลูก แต่แพทย์จะนำตัวอ่อนไปใส่ไว้ในโพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้เลยโดยไม่ต้องมีการเดินทางใดๆ


ข้อสรุป

ภาวะท่อนำไข่ตีบตัน (Block Fallopian Tube) เป็นภาวะความผิดปกติของท่อนำไข่ ทำให้ไข่ไม่สามารถผ่านไปเพื่อผสมกับตัวอสุจิได้ หรือหากอสุจิเข้ามาผสมกับไข่ได้ ตัวอ่อนก็จะไม่สามารถผ่านไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ ซึ่งสาเหตุของภาวะท่อนำไข่ตีบตัน คือ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เคยผ่าตัดช่องท้อง ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ซึ่งภาวะท่อนำไข่ตีบตัน เป็นสาเหตุของภาวะผู้มีบุตรยากอันดับต้นๆ เช่นกัน เนื่องจากเมื่อท่อนำไข่ตีบตัน จะเป็นการปิดกั้นการเจอกันขอไข่กับอสุจิ หรือปิดกั้นการเดินทางของตัวอ่อนในการไปฝังตัวที่โพรงมดลูก และส่งผลให้เสี่ยงเกิดการ ตั้งครรภ์นอกมดลูก อีกด้วย

โดยวิธีการรักษา คือ การผ่าตัดท่อนำไข่ และการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งนี้คุณผู้หญิงควรสังเกตุอาการผิดปกติของตนหากมีอาการปวดท้องที่เดิมซ้ำๆไม่หายสักที หรือปวดท้องรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น หากท่านไหนมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ