Skip to content

ช็อกโกแลตซีสต์ อาการเป็นอย่างไร หายเองได้ไหม ท้องได้หรือเปล่า?


27 มีนาคม 2025
บทความ

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่ผู้หญิงส่วนใหญมักเป็นกัน เป็นคำพูดติดปากว่าสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่ความจริงแล้วเมื่อเป็นช็อกโกแลตซีสต์แล้วอาการจะเป็นอย่างไร อาการขั้นไหนถึงควรพบแพทย์ แล้วถ้าเป็นจะต้องผ่าตัดอย่างเดียวเลยไหม รักษาให้หายเองได้หรือเปล่า หากอยากมีลูกจะทำให้มีลูกยากจริงไหม

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือ การที่ประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงที่มีเลือดคั่ง และไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็น

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากเลือดประจำเดือนหรือการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมาตลอดและจะปล่อยเลือดออกมาด้วยเสมอ

แต่เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกไปอยู่ที่รังไข่และปล่อยเลือดออกมาแต่รังไข่ไม่มีทางออกของเลือด จึงเกิดการสะสมของเลือดขึ้นทีละนิด เหมือนลูกโป่งที่เติมน้ำเข้าไปทีละนิดทำให้เลือดในถุงมีปริมาณมากขึ้น

หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนานๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า “ถุงน้ำช็อกโกแลต” หรือ “ช็อกโกแลตซีสต์” นั่นเอง

อาการสัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

โดยอาการสัญญาณเตือนโรคช็อกโกแลตซีสต์ที่คุณผู้หญิงควรเฝ้าระวัง มีดังนี้

  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง และจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงมีรอบเดือน
  • ปวดประจำเดือนมาก ซึ่งมักจะเริ่มปวดก่อนประจำเดือนมา 2-3 วันไปจนหมดรอบเดือน ซึ่งจะต่างกับการปวดประจำเดือนปกติที่มักปวดในช่วงวันแรกๆ และไม่รุนแรง
  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด หรืออาการอื่นๆ ที่คล้ายกับช่วงมีประจำเดือน
  • รู้สึกเจ็บและปวดบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการอาจคงอยู่หลังมีเพศสัมพันธ์ไปอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง
  • มีบุตรยาก
  • บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายอุจจาระหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขณะปัสสาวะ

ตำแหน่งการเกิดของช็อกโกแลตซีสต์

ตำแหน่งที่ส่วนใหญ่มักพบการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ได้แก่

  • อุ้งเชิงกราน
  • ท่อนำไข่
  • ลำไส้
  • ช่องคลอด
  • มดลูก
  • รังไข่ (ซึ่งมักพบบ่อยที่สุด)

ใครมีโอกาสเป็นช็อกโกแลตซีสต์บ้าง

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดช็อกโกแลตซีสต์ มีดังนี้

  • มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
  • มีประจำเดือนรอบสั้น โดยเฉพาะรอบห่างของประจำเดือนน้อยกว่า 27 วัน
  • มีประจำเดือนมาก หรือนานกว่า 7 วันต่อครั้ง
  • มีสมาชิกในครอบครัว เช่น แม่ ยาย พี่สาว มีประวัติเป็นโรคนี้
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับเยื่อพรหมจารีปิด หรือมีความผิดปกติที่ปากมดลูก

การวินิจฉัยโรคช็อคโกแลตซีส

การตรวจภายใน

การตรวจภายในเป็นการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูว่ามีเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ มีก้อนบริเวณมดลูกและรังไข่เกิดขึ้นไหม แต่ในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดเล็กมากก็อาจมีโอกาสตรวจไม่พบได้เช่นกัน

การตรวจอัลตร้าซาวด์

การตรวจด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ เป็นการตรวจวิเคราะห์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปภายในช่องท้องหรือสอดอุปกรณ์สำหรับการตรวจอัลตราซาวด์ หรือที่เรียกว่า Hysteroscopy เข้าไปทางช่องคลอด เพื่อตรวจดูอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งสามารถตรวจพบก้อนขนาดเล็ก แต่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด

การตรวจด้วยการส่องกล้อง

การตรวจด้วยการส่องกล้อง แพทย์จะส่องกล้องตรวจดูความผิดปกติภายในช่องท้อง ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยวินิจฉัยได้แม่นยำมากที่สุด โดยเริ่มจากการให้ยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจึงเปิดแผลขนาดเล็กใต้สะดือและสอดกล้องพิเศษลงไปตรวจดูภายใน ทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน สามารถระบุตำแหน่งและขนาดของถุงน้ำที่ตรวจพบ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม


วิธีรักษาช็อกโกแลตซีสต์

โดยทั่วไปแล้ว ช็อกโกแลตซีสต์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาโดยการใช้ยา จะมียาอยู่ 2 ประเภท คือ
  • ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs)

หรือเรียกแบบย่อว่า ยาเอ็นเสด (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยหรือปวดระหว่างมีรอบเดือนที่ไม่รุนแรง ตัวอย่างยาที่นิยมใช้ เช่น ยาไอบรูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen)

  • ยาฮอร์โมนเพศหญิง (Hormone Therapy)

ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดมากและไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ในระยะอันใกล้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง เพราะการเพิ่มหรือลดของฮอร์โมนในช่วงรอบเดือนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก

โดยตัวยาจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ให้ช้าลงและป้องกันการฝังตัวใหม่ของเซลล์เยื่อบุมดลูก ซึ่งอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล แต่ในบางรายอาจพบอาการได้ใหม่หลังหยุดใช้ยา

ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย เช่น ยาคุมกำเนิดรูปแบบต่าง ๆ ยากลุ่มฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง (Gonadotropin Releasing Hormone: GnRH) ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestin Therapy) ยาดานาซอล (Danazol)

การผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์

เมื่อการรักษาด้วยยาแล้วยังไม่ดีขึ้น ยังคงมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากถุงน้ำมีขนาดใหญ่จนอาจกระทบกับอวัยวะอื่น แพทย์มักจะแนะนำให้คนไข้ผ่าตัด เพื่อนำเซลล์เยื่อบุออกจากรังไข่

โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องมากกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้อง เนื่องจากรอยแผลมีขนาดเล็ก ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย และยังสามารถมีบุตรได้ในอนาคต

ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ และต้องมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) เข้ามาช่วยเสริม


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคช็อกโกแลตซีสต์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากช็อกโกแลตซีสต์ ได้แก่

  • เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ซีสต์อักเสบติดเชื้อจนเป็นฝี หรือปริแตก ทำให้ปวดท้องน้อยเฉียบพลันจนต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
  • มีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่อุดตัน และตัวอ่อนฝังตัวยากขึ้น
  • มีพังผืดกดรัดท่อไต ทำให้ท่อไต หรือไตบวม

ช็อกโกแลตซีสต์ ท้องได้ไหม

เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญผิดที่ส่งผลให้การทำงานของรังไข่มีความผิดปกติ และเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

ซึ่งการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธ์ุที่ช่วยในการตั้งครรภ์ ทั้งการทำเด็กหลอดแก้ว การทำ ICSI และการฉีด IUI


ช็อกโกแลตซีสต์ป้องกันได้ไหม

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีที่ป้องกันการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ได้ แต่หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ มีประจำเดือนมามากหรือนานขึ้น อาการปวดรบกวนชีวิตประจำวันควรตรวจเช็คภายในเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง นอกจากนี้การตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุกๆ ปี ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายแรงในภายหลังได้อีกด้วย


อาหารที่ควรเลี่ยงเพื่อป้องกันช็อกโกแลตซีสต์

สำหรับอาหารที่ควรเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคช็อกโกแลตซีสต์ มีดังนี้

  • อาหารจำพวกของทอดของมัน
  • อาหารจำพวกปิ้งย่างต่างๆ
  • อาหารที่มีรสหวาน เช่น ชา ช็อกโกแลต น้ำอัดลม
  • อาหารแปรรูป และผ่านกระบวนการต่างๆ
  • ผักผลไม้ที่ฉีดยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
  • เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรืออื่นๆ ที่ฉีดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารเร่งโต


คำถามที่พบบ่อย

ช็อกโกแลตซีสต์อันตรายไหม

ช็อกโกแลตซีสต์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นอันตราย ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน เริ่มตั้งแต่ไม่มีความผิดปกติใดๆ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือรุนแรง

ช็อกโกแลตซีสต์หายเองได้ไหม

ช็อกโกแลตซีสไม่สามารถหายเองได้ หากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุและหาพบว่าเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรรีบรักษาไม่ควรมองข้ามหรือปล่อยผ่านไป

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ