Skip to content

ข้อควรรู้ “ขูดมดลูก” เพื่ออะไร มีผลเสียไหม พร้อมวิธีดูแลหลังผ่าตัด


27 มีนาคม 2025
บทความ

การขูดมดลูก (​​Dilation and Curettage) ผู้หญิงหลายๆ คนเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่ยังมีคนอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วขูดมดลูกทำเพื่ออะไร สามารถใช้ตรวจอะไรได้บ้าง ใครที่ควรขูดมดลูก แล้วการขูดมดลูกอันตรายไหม ต้องเตรียมและดูแลตัวเองทั้งก่อนหลังขูดมดลูกอย่างไร มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงแค่ไหน

การขูดมดลูก ( Dilation and Curettage)

การขูดมดลูก (​​Dilation and Curettage) คือ การขูดเอาเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาตรวจวินิจฉัย หรือรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในมดลูก วิธีนี้มักใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะแท้งบุตร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำชิ้นส่วนรกที่ตกค้างภายในมดลูกออกให้หมด เพื่อทำความสะอาด และป้องกันการมีเลือดออกที่อาจเกิดขึ้น แพทย์จะใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการเปิดปากมดลูก และขูดเนื้อเยื่อในมดลูกออกด้วยเครื่องมือขูดเนื้อเยื่อ

สาเหตุที่ทำให้ต้องขูดมดลูก

1. การขูดมดลูกเพื่อวินิจฉัยโรค

เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับภายในมดลูกของผู้หญิงแล้ว แพทย์จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยใช้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก การขูดมดลูกออกมาเพื่อวินิจฉัยโรคจึงเป็นอีกวิธีการรักษาหนึ่งในการหาสาเหตุของโรคต่างๆภายในร่างกาย เช่น

  • ตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
  • ตรวจวินิจฉัยสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • ตรวจวิเคราะห์เซลล์เยี่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ
  • ตรวจหาความผิดปกติของติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ตรวจภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนา
  • วินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

โดยการขุดมดลูกเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นจะเป็นการขูดเพื่อนำเซลล์ออกมาวิเคราะห์ไม่ใช่การขูดออกมาในจำนวนที่มากหรือขูดเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมจึงมีความแตกต่างกับการขุดมดลูกเพื่อรักษาโรค

2. การขูดมดลูกเพื่อรักษาโรค

วิธีการขูดมดลูก ยังเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้รักษาโรคได้ ส่วนมากจะเป็นโรคที่มีความผิดปกติมีสิ่งแปลกปลอมภายในมดลูก เช่น ในกรณีที่ฝ่ายหญิงประสบปัญหาภาวะแท้งบุตร ไม่ว่าจะจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ หรือเกิดการท้องนอกมดลูกที่ถือว่าเป็นครรภ์ผิดปกติ มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการขูดมดลูกเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกและช่วยให้มดลูกกลับสู่ภาวะปกติ

รวมถึงการทำแท้งก็เป็นอีกวิธีที่ใช้การขูดมดลูกในการทำหัตถการนี้เพราะเมื่อเกิดความผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ระดับที่ไม่สามารถทำแท้งด้วยวิธีการอื่นได้ จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการขูดมดลูกเช่นกัน

การเตรียมตัวก่อนขูดมดลูก

การเตรียมตัวก่อนการขูดมดลูก ได้แก่

  • งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการขูดมดลูกเพื่อลดอันตรายจากการสำลักอาหารขณะให้ยาระงับความรู้สึก
  • งดแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพื่อง่ายต่อการประเมินการไหลเวียนและการเสียเลือดขณะขูดมดลูก
  • งดสวมใส่เครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ เพื่อป้องกันการสูญหาย และถอดฟันปลอม คอนแทคเลนส์ก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  • ควรมีญาติหรือเพื่อนมาด้วยเพื่อช่วยดูแล และพากลับบ้าน
  • เตรียมผ้าอนามัยสำหรับใช้หลังการขูดมดลูก
  • ในรายที่มีโรคประจำตัวให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์สำหรับแต่ละโรค

ขั้นตอนการขูดมดลูก

โดยขั้นตอนการขูดมดลูก มีดังนี้

  1. แพทย์จะทำความสะอาดปากมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และอาจใช้การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อก่อนเริ่มต้นกระบวนการ
  2. แพทย์จะสอดเครื่องมือถ่างช่องคลอดแบบปากเป็ด เพื่อเปิดผนังช่องคลอดและเข้าถึงปากมดลูก
  3. หลังจากถ่างปากมดลูกแล้ว แพทย์จะสอดเครื่องมือขูดเนื้อเยื่อ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับช้อน และทำการขูดเนื้อเยื่อรอบๆ ผนังมดลูกออก
  4. กรณีที่เครื่องมือขูดเนื้อเยื่อไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อออกได้ทั้งหมด แพทย์อาจใช้เครื่องมือสำหรับดูด เพื่อเก็บเนื้อเยื่อที่ตกค้างอยู่
  5. แพทย์จะนำเครื่องมือต่างๆ ออกจากร่างกายเมื่อปริมาณตัวอย่างเนื้อเยื่อเพียงพอ หรือเมื่อไม่มีเนื้อเยื่อตกค้างภายในมดลูก และส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์ต่อไป

การดูแลตัวเองหลังขูดมดลูก

การดูแลตัวเองหลังขูดมดลูก มีดังนี้

  1. ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชม.
  2. ไม่ควรทำงานหนักในช่วงหลังทำการขูดมดลูก 1-2 สัปดาห์
  3. อาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน จากยาระงับความรู้สึก โดยทั่วไปหลังขูดสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  4. งดมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนมาทำการขูดมดลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  5. หลังขูดมดลูกอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งจะน้อยลงเรื่อยๆ และมักมีไม่นานเกิน 2 สัปดาห์
  6. หลังขูดมดลูกไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
  7. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่โพรงมดลูก
  8. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เช่น ยาแก้ปวดในกรณีมีอาการปวดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
  9. มาตรวจตามแพทย์นัด เพื่อฟังผลทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ หรือเพื่อวางแผนการรักษาต่อเนื่อง

อาการผิดปกติหลังขูดมดลูกที่ควรพบแพทย์

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • มีอาการเจ็บปวดที่ท้องน้อยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องเกิน 48 ชั่วโมง
  • มีเลือดไหลจากช่องคลอดเป็นจำนวนมาก
  • มีของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นไหลออกจากช่องคลอด

ภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดหลังขูดมดลูก

มดลูกอักเสบติดเชื้อ

การขูดมดลูกอาจยังมีเนื้อเยื่อบางส่วนตกค้างอยู่ ซึ่งร่างกายสามารถขับออกมาเองได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่หากเกิดการติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ปากมดลูกเสียหาย

หากปากมดลูกขาดหรือเสียหายระหว่างการขูดมดลูก แพทย์จะกดปากแผล หรือเย็บปิดบาดแผลเพื่อห้ามเลือด

เกิดพังผืดในโพรงมดลูก

มักเกิดขึ้นจากการขูดมดลูกหลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนขาด หรือมีอาการเจ็บปวดมากขณะมีประจำเดือน เกิดภาวะมีบุตรยาก หรืออาจเกิดการแท้งบุตรขึ้นในอนาคต

มดลูกเกิดการทะลุ

ในกรณีที่มดลูกทะลุอาจเกิดจากเครื่องมือระหว่างทำการขูดมดลูก ซึ่งมักเกิดในผู้ที่เพิ่งตั้งครรภ์และหมดประจำเดือน

ขูดมดลูก..เสี่ยงมีบุตรยาก จริงไหม

สำหรับการขูดมดลูก จะทำให้เป็นช่วงที่ผนังมดลูกบางมาก อาจทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรืออาจจะทำให้รกไปฝังตัวในผนังมดลูกที่ลึกเกินไปและมีโอกาสที่รกจะติดค้างตอนคลอด ดังนั้น เมื่อขูดมดลูกแพทย์จะแนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 เดือน และเว้นช่วงที่จะตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อรอให้ผนังมดลูกกลับมามีความหนาตัวพอที่จะรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน


ไม่ขูดมดลูกได้ไหม

กรณีขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัย

จุดประสงค์แรกของการขูดมดลูก คือ การวินิฉัยโรคที่เกิดความผิดปกติ เช่น มีภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูก หรือมีความเสี่ยงที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ จะทำการขูดมดลูกเพื่อนำเนื้อเยื่อไปตรวจหาสาเหตุ ซึ่งมีทั้งโรคมะเร็งในเยื่อบุโพรงมดลูก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาตัวผิดปกติ มีติ่งเนื้อ มีเนื้องอกในโพรงมดลูก

กรณีขูดมดลูกเพื่อการรักษา

นอกจากการขูดเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว อีกจุดประสงค์หนึ่งของการขูดมดลูก คือ เพื่อรักษาโรค อย่างในเคสของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีภาวะตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกหรือการเกิดเนื้องอกที่รกในครรภ์, รักษาในกรณีทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หรือ เมื่อคุณแม่เกิดการแท้งบุตร ต้องมีการขูดมดลูกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้อเยื่อใดๆ ตกค้างอยู่

คำถามที่พบบ่อย

ขูดมดลูก อันตรายไหม?

การขูดมดลูกจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทุกการทำหัตถการทางการแพทย์อาจเกิดผลข้างเคียงได้แล้วแต่บุคคล เช่น การมีเลือดออกเล็กน้อยหลังขูดมดลูก การปวดท้องน้อย มีไข้ โดยการขูดมดลูกควรทำการักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดที่รุนแรง และหลังการขูดมดลูกหากมีอาการผิดปกติอื่นๆแทรกซ้อนควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที

ขูดมดลูก พักฟื้นกี่วัน?

หลักจากที่ขูดมดลูกแล้วจำเป็นที่จะต้องนอนพักฟื้นประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน เพื่อที่แพทย์จะรอดูอาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากขูดมดลูก และดูว่าคนไข้มีอาการข้างเคียงจากยาสลบหรือยาชาหรือไม่

ขูดมดลูก วางยาสลบไหม?

ความเจ็บปวดขณะทำ แต่หลังจากที่ยาหมดฤทธิ์อาจทำให้คุณรู้สึกปวดบิดๆเล็กน้อย และจะใช้เวลาไม่นานประมาณ 30 นาที


ข้อสรุป

การขูดมดลูก (​​Dilation and Curettage) การขูดเอาเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาตรวจวินิจฉัย หรือรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในมดลูก วิธีนี้มักใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะแท้งบุตร มีภาวะเลือดแแกทางช่องคลอดผิดปกติ ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ การท้องนอกมดลูก การตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น ทั้งนี้หากท่านไหนรู้สึกกังวลใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ