การบริจาคไข่ การใช้ไข่บริจาค ถูกกฎหมาย Beyond ivf

การบริจาคไข่ การใช้ไข่บริจาค แบบถูกกฎหมาย

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยวิธีเด็กหลอดแก้วแม้จะมีอัตราการรักษาที่ผลสำเร็จสูง แต่ก็ยังมีบางคู่สมรสที่ไม่อาจจะสามารถใช้เซลล์สืบพันธุ์ของคู่สมรสตัวเองในการรักษาได้ “การบริจาคไข่&การใช้ไข่บริจาค” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคู่สมรสที่มีปัญหาจากทางฝ่ายหญิง ซึ่งในประเทศไทยมีกฎหมายรองรับการบริจาคไข่&การใช้ไข่บริจาคแบบถูกกฎหมาย แต่ห้ามใช้เพื่อการค้าเด็ดขาดเพราะจะผิดกฎหมายเข้าข่ายการค้ามนุษย์

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

สอบถามรายละเอียด โทรเลย

หลักเกณฑ์ของผู้ที่สามารถใช้ไข่บริจาคได้

สำหรับคู่สมรสที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ด้วยไข่ของตัวเอง และต้องการใช้ไข่บริจากจะต้องมีการประเมินจากแพทย์ก่อน จะไม่สามารถขอใช้ไข่บริจาคได้ทันที โดยต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • เคยรักษามีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว เริ่มเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่แต่รังไข่ไม่มีการตอบสนองต่อยากระตุ้นไข่ หรือถึงกระบวนการย้ายตัวอ่อนแล้วแต่ก็ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ โดยแพทย์พิจารณาแล้วว่าสาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับเซลล์ไข่
  • ฝ่ายหญิงที่มีอายุมากจนแทบไม่เหลือเซลล์ไข่ และลองกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้วแต่ได้เพียงแค่ 1-2 ใบ
  • มีภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด ส่งผลให้รังไข่เสื่อมสภาพจนไม่สามารถผลิตเซลล์ไข่ได้
  • มีประวัติการผ่าตัดนำรังไข่ทั้ง 2 ข้างออกด้วยปัจจัยทางการแพทย์
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่อาจส่งผลต่อทารก
อยากมีลูก ไม่ท้องสักที รีบปรึกษาแพทย์ ก่อนถึงวัยมีลูกยาก ปนึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ข้อดีของการใช้ไข่บริจาค

การตั้งครรภ์โดยใช้ไข่บริจาคในการทำเด็กหลอดแก้ว นอกจากจะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำเร็จในผู้หญิงที่อายุมากแล้ว โอกาสที่เด็กจะมีความผิดปกติทางโครโมโซม หรือจากโรคดาวน์ซินโดรมยังลดลงด้วย เพราะเซลล์ไข่ที่ได้รับจากการบริจาคส่วนใหญ่อายุของผู้บริจาคไข่จะอายุน้อยกว่า 35 ปี ทำให้ความสมบูรณ์ของเซลล์ไข่จึงมีมากกว่า เพราะช่วงอายุของผู้ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากโดยส่วนใหญ่จะอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุที่ทำให้ตัวอ่อนอาจเกิดความผิดปกติได้ถ้าไม่ผ่านการตรวจโครโมโซม

หลักเกณฑ์ของผู้ที่สามารถบริจาคไข่ได้

1.ผู้บริจาคไข่ต้องมีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย โดยผู้ที่บริจาคไข่ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • กรณีผู้บริจาคไม่มีความเกี่ยวข้องกับคู่สมรส ผู้บริจาคไข่ต้องมีอายุระหว่าง 20-35 ปี
  • กรณีผู้บริจาคเป็นญาติสืบสายโลหิตของทางฝั่งภรรยา ต้องมีอายุระหว่าง 20-40 ปี และมีหลักฐานทางกฎหมายที่แสดงถึงความเป็นญาติสืบสายโลหิต
  • ผู้บริจาคไข่ต้องผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต และต้องได้รับคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงในการบริจาคไข่ก่อนเริ่มกระบวนการ
  • ผู้บริจาคไข่ต้องมีสัญชาติเดียวกันกับผู้รับบริจาคไข่
  • ผู้บริจาคไข่สามารถบริจาคได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
  • ผู้บริจาคไข่ต้องบริจาคให้กับผู้รับบริจาค 1 คน ในแต่ละรอบการรักษา

2.เป็นผู้ที่เข้ารับบริการเกี่ยวกับ “การฝากไข่” ซึ่งจะต้องมีการเซ็นสัญญาก่อนเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษา ตามข้อกฎหมายของการฝากเซลล์สืบพันธุ์ ถ้าหากไม่มีเงินจ่ายค่าฝากรายปีต่อไป จะให้ทางคลินิกทำลายไข่ทิ้ง หรือจะบริจาคไข่ให้แก่ผู้มีบุตรยาก หรือหมดสัญญาการฝากไข่ และไม่ต้องการที่จะฝากไข่ต่อ ด้วยเหตุอาจจะมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ และมีบุตรเพียงพอต่อการสร้างครอบครัวแล้ว แต่ก่อนที่จะบริจาคไข่ให้จะต้องได้รับการเซ็นยินยอมจากทางสามีก่อนด้วยเช่นกัน

สรุปได้ว่า การบริจาคไข่&การใช้ไข่บริจาค ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่ห้ามซื้อขายหรือให้ค่าตอบแทน เด็ดขาด เพราะจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ตาม พรบ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558

สำหรับท่านไหนที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf