Skip to content

ใส่ตัวอ่อนไปแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าติดหรือไม่


31 มีนาคม 2025
บทความ

ใส่ตัวอ่อนไปแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าติด

สำหรับผู้มีบุตรยากหลังจากที่รักษามีบุตรยากด้วยวิธี เด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ไปแล้วขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการใส่ตัวอ่อน และเป็นการลุ้นว่าตัวอ่อนนั้นจะกลายเป็นทารกหรือไม่ แต่การใส่ตัวอ่อนเข้าสู่ร่างกายเราจะไม่รู้สึกอะไรอยู่แล้วและไม่สามารถจับความรู้สึกว่ามีตัวอ่อนอยู่ในท้องได้ ที่เราจะรู้สึกได้ก็คือ ช่วงบริเวณท้องน้อยส่วนล่างจะหน่วงขึ้น เป็นเพราะว่าบริเวณมดลูกจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเยอะขึ้น เพราะว่าระหว่างใส่ตัวอ่อนจะมีการดูแลเรื่องการให้ฮอร์โมน ฮอร์โมนก็จะไปเพิ่มเลือดเพื่อมาเลี้ยงมดลูก ถ้าเราเปรียบมดลูกเป็นฟองน้ำก็จะเหมือนฟองน้ำที่ชุ่มไปด้วยน้ำ เพราะมีเลือดเยอะขึ้นเลยทำให้รู้สึกหน่วงๆ ซึ่งอาการตรงนี้จะเป็นเรื่องที่หลายๆท่านเป็นกังวล


อาการข้างเคียง หลังการใส่ตัวอ่อน

อาการข้างเคียงหลังจากการฝังตัวอ่อน อาจจะมีอาการคล้ายกับคนตั้งครรภ์ เช่น ปวดเกร็งท้องน้อย เต้านมคัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ในบางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วย แต่ในบางคนก็ไม่มีอาการใดๆ หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

เพราะฉะนั้นไม่แนะนำให้สังเกตุอาการอาการต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เรากังวลเปล่าๆว่าจะไม่สำเร็จหรือเปล่า การที่เราจะรู้ว่าประสบความสำเร็จไหม เราจะต้องติดตามดูฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนที่สร้างจากรก ซึ้งรกเป็นส่วนหนึ่งของตัวลูก ฮอร์โมนตัวนี้ชื่อว่า ฮอร์โมน HCG เมื่อฝังตัวลงไปหลังจากใส่ตัวอ่อน ลูกจะใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 10-14 วัน กว่าเซลล์ของรกจะไปเชื่อมกับเส้นเลือดของแม่ได้สำเร็จ แล้วเมื่อเชื่อมสำเร็จแล้ว ลูกก็จะส่งฮอร์โมนที่สร้างสำเร็จแล้วไปยังกระแสเลือดของแม่ ทำให้เราเริ่มเจาะเลือดตรวจวินิฉัยได้ว่า พอเจอฮอร์โมนนี้อยู่ก็แสดงว่าตั้งครรภ์ หรือว่าในคนที่ตั้งครรภ์ทั่วๆไป ที่เราไม่ได้เจาะดูเนี้ยพอเรารอหลังจาก 10-14 วัน เป็นช่วงที่เราเจาะเลือดแล้วจะรู้ เรารอหลังจากนี้ไป 1 สัปดาห์หรือ 17 – 21 วัน ตรงช่วงนี้ฮอร์โมนจะสูงพอที่จะทำให้ตรวจจากปัสสาวะเจออีกด้วย

หลังการใส่ตัวอ่อนควรทำอย่างไร

  • ไม่ควรลุกนั่งภายหลังการใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรง เจ็บหน่วงที่หน้าท้อง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ จึงไม่ควรขับรถมาเอง ควรให้สามี ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดพามาเท่านั้น
  • ควรเหน็บยาในช่องคลอด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือยกของหนักๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้
  • สำหรับอาหารการกินนั้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องท้องผูกหรือท้องเสีย เพราะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
  • ไม่ควรทานอาหารดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่พื้นที่แออัด หรือคนเยอะๆ

เพราะฉะนั้น ในการใส่ตัวอ่อนไปแล้วในช่วงแรกจะตามดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ทำได้อย่างเดียวคือต้องตามดูฮอร์โมน อาการต่างๆที่เกิดขึ้นไม่สามารถบอกได้เลย

ถ้าคุณผู้หญิงท่านใดมีความกังวลใจสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Beyond IVF หรือจะแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ