Skip to content

ต้องรู้! วิธีนับหน้า 7 หลัง 7 ระยะปลอดภัย เริ่มต้นนับอย่างไรให้แม่นยำ


29 มีนาคม 2025
บทความ

ผู้หญิงหลายๆคนอาจเคยได้ยินและเลือกใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 กันบ้างแล้ว ซึ่งหน้า 7 หลัง 7 จะเป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ แต่จริงๆแล้วการนับหน้า 7 หลัง 7 ไม่ได้ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% แต่ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังสับสนกับวิธีการนับกันอยู่ว่าควรนับอย่างไร และที่บอกว่าระยะปลอดภัยคือช่วงวันไหน

ตอบคำถาม: คลายข้อสงสัย นับหน้า 7 หลัง 7 อย่างไร?

  • วิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติแบบเบื้องต้นที่ถือว่ามีความปลอดภัย โดยวิธีดังกล่าวเหมาะกับผู้ที่ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่เล็กน้อย
  • โดยการนับวันหน้า 7 หลัง 7 สามารถนับได้โดยอิงจากการมีประเดือนในแต่ละรอบ
  • หน้า 7 คือช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือน 7 วัน ส่วนหลัง 7 คือ 7 วันหลังจากวันแรกที่มีประจำเดือน
  • ยกตัวอย่างให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น เช่น นางสาว ก. ประจำเดือนมาวันแรกในวันที่ 18 มกราคม การจะนับหน้า 7 หลัง 7 นั้นจะมีการนับขึ้นไปหน้า 7 วันจากวันที่ 18 และนับลงไปอีก 7 วัน จากวันที่ 18
  • หน้า 7 คือ วันที่ 11-17 มกราคม และ หลัง 7 คือ 18-25 มกราคม
  • ฉะนั้นช่วงระยะที่ปลอดภัยที่นางสาว ก. สามารถมีเพศสัมพันธ์จากการนับวันหน้า 7 หลัง 7 ได้นั้น จะเป็นช่วงระยะเวลา 11-25 มกราคมนั่นเอง


หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร

การนับหน้า 7 หลัง 7 (Fertility Awareness Method: FAM) คือ วิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติโดยใช้หลักการหลีกเลี่ยงวันที่ไข่ตกเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ ซึ่งหน้า 7 หลัง 7 ถือว่าเป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันหรือคุมกำเนิด เพราะในช่วงนี้มดลูกจะอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะกับการตั้งครรภ์ จึงทำให้คู่ที่ยังไม่พร้อมมีลูก เลือกใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีนี้

โดยการนับหน้า 7 หลัง 7 สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • หน้า 7 เป็นช่วงระยะเวลา 7 วันก่อนที่จะมีรอบเดือน
  • หลัง 7 เป็นช่วงระยะเวลา 7 วันหลังจากวันแรกที่มีรอบเดือน

อย่างไรก็ตามการนับหน้า 7 หลัง 7 ก็เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ ที่เมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ ที่มีการใช้อุปกรณ์ ยังถือว่ายังอยู่ในประสิทธิภาพที่ต่ำเป็นอย่างมาก หากใครที่ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัย แล้วช่วงระยะเวลาการมีประจำเดือนที่คลาดเคลื่อนไปเพียงเล็กน้อย ประจำเดือนมาไม่ตรงตามที่กำหนด ก็สามารถเกิดโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์ได้เช่นกัน


ข้อควรระวังในการนับหน้า 7 หลัง 7

สำหรับการคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 เป็นวิธีการคุมกำเนิดแต่ก็ไม่ได้จะบอกว่าได้ผล 100% แถมยังไม่ได้ช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย สิ่งที่ควรระวังและเป็นข้อเสียของการคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 มีดังนี้

  • มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นอย่างมาก
  • อาจเกิดการติดเชื้อหรือโรคจากการมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เหมาะสมกับคนที่ประจำเดือนมาไม่ตรงกันในแต่ละรอบเดือน


สอนวิธีนับหน้า 7 หลัง 7 อย่างถูกต้อง

วิธีนับหน้า 7 หลัง 7 อย่างไร ไม่ให้พลาด

หลายๆคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วตกลงหน้า 7 หลัง 7 นับกันยังไง มาดูวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 ที่ถูกต้องกัน

หน้า 7 คือ 7 วันก่อนที่ประจำเดือนมา เช่น สมมุติว่าประเดือนจะมาวันที่ 16 วันที่เป็นระยะปลอดภัย คือ 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15

หลัง 7 คือ 7 วันหลังจากประจำเดือนมาวันแรก เช่น สมมุติว่าประจำเดือนมาวันที่ 16 ให้นับวันที่ 16 เป็นวันที่ 1 และนับต่อไปให้ครบ 7 วัน คือ 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22

** วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอไม่คาดเคลื่อนเท่านั้น

ทำความรู้จัก ‘วันไข่ตก’

วันไข่ตก คือ เป็นกลไกธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยจะใช้เวลารอบละ 28 วัน ซึ่งจะให้ นับวันไข่ตก หลังจากประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 พอถึงวันที่ 14 จะเป็นวันที่ไข่ตกพอดี ซึ่งวันที่ไข่ตกจะเป็นวันที่ไข่ใบที่สุกที่สุดออกมาจากรังไข่ไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: 7 สัญญาณบ่งชี้ อาการไข่ตก – ไข่ตกเมื่อไหร่ อาการเป็นอย่างไร


จดบันทึกช่วงรอบเดือนของตนเอง

การจดบันทึกจำนวนวันของรอบเดือนในแต่ละเดือน โดยจำเป็นจะต้องติดตามดูรอบเดือนอย่างน้อย 6-12 เดือน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาจนถึงวันแรกของประจำเดือนรอบถัดไป เพื่อจะได้แน่ใจว่าในแต่ละเดือนประจำเดือนจะมาช่วงไหนและช่วงไหนสามารถคุมกำเนิดด้วยวิธีหน้า 7 หลัง 7 ได้


ข้อควรระวังในการนับหน้า 7 หลัง 7

สำหรับการคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 เป็นวิธีการคุมกำเนิดแต่ก็ไม่ได้จะบอกว่าได้ผล 100% แถมยังไม่ได้ช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย สิ่งที่ควรระวังและเป็นข้อเสียของการคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 มีดังนี้

มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นอย่างมาก

อาจเกิดการติดเชื้อหรือโรคจากการมีเพศสัมพันธ์

ไม่เหมาะสมกับคนที่ประจำเดือนมาไม่ตรงกันในแต่ละรอบเดือน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนับหน้า 7 หลัง 7

นับหน้า 7 หลัง 7 ใช้ช่วยให้มีลูกได้ไหม

การนับหน้า 7 หลัง 7 ช่วยให้มีลูกได้ด้วยเช่นกัน โดยการนับหน้า 7 หลัง 7 จะช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ตามที่ผู้อยากมีลูกต้องการนั้น ควรเป็นการนับหน้า 7 หลัง 7 ที่มีการนับวันไข่ตกร่วมด้วย หากในช่วงที่นับหน้า 7 หลัง 7 เป็นช่วงที่ตรงกับวันไข่ตกพอดี ประกอบกับมีเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว คู่รักที่วางแผนมีลูก ฝ่ายหญิงก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้

หากคุมกำเนิดด้วยวิธีนับหน้า 7 หลัง 7 หลั่งนอก จะท้องไหม

อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าวิธีการคุมกำเนิดด้วยการนับหน้า 7 หลัง 7 ไม่ได้ช่วยป้องกันได้ 100% ในกรณีที่หลั่งนอกก็มีโอกาสท้องได้ เพราะในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ผู้ชายจะมีน้ำหล่อลื่นไหลออกมาตลอดซึ่งในน้ำหล่อลื่นนั่นจะมีตัวอสุจิปนออกด้วย จึงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ถึงแม้จะหลั่งนอก

หากคุมกำเนิดด้วยวิธีนับหน้า 7 หลัง 7 หลั่งใน จะท้องไหม

ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ เพราะวันตกไข่ไม่แน่นอน ในระหว่างที่นับอาจจะมีการคลาดเคลื่อนซึ่งสามารถส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้

หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน จะท้องหรือไม่

มีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่แนะนำเพราะเป็นช่วงที่ปากมดลูกเปิด สามารถเกิดการอักเสบและติดเชื้อในฝ่ายหญิง หรือติดโรคได้ง่ายอาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรง

สรุป

การนับหน้า 7 หลัง 7 ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์น้อยกว่าการกินยาคุม ฉีดยาคุม หรือฝั่งยาคุม แนะนำว่าเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่วมกับการนับ หน้า 7 หลัง 7 เพื่อควบคุมการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม

สำหรับผู้ที่อยากมีลูก วางแผนครอบครัว เตรียมตัวมีบุตร สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Beyond IVF หรือแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ