การปฏิสนธิ

กว่าจะเกิดการตั้งครรภ์ และให้กำเนิดเป็นลูกน้อยที่เป็นตัวแทนแห่งความรักของคุณพ่อและคุณแม่ ก็จะต้องมีกระบวนการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เสียก่อน ซึ่งจะเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้จะต้องมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้เซลล์สืบพันธุ์อย่างไข่และอสุจิได้มาเจอกัน แต่ในขั้นตอนหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงสามารถกลายเป็นตัวอ่อนและเติบโตกลายเป็นทารกได้ ที่นี่มีคำตอบ

ตอบคำถาม: การปฏิสนธิ คืออะไร

  • การปฏิสนธิ (Fertilization) คือขั้นตอนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศชาย (อสุจิ) เข้ามาผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง (เซลล์ไข่) โดยจะมีอสุจิเพียง 1 ตัวที่สามารถเข้ามาผสมกับไข่ 1 ฟอง
  • เมื่ออสุจิที่แข็งแรงที่สุด 1 ตัวเจาะเข้ามายังไข่ได้แล้ว เปลือกไข่ก็จะหนาตัวขึ้นจนอสุจิตัวอื่นไม่สามารถเจาะเข้ามาได้อีก
  • เซลล์สืบพันธุ์มีผลต่อเพศของเด็ก โดยเฉพาะอสุจิที่มีโครโมโซม X และ Y หากอสุจิที่มีโครโมโซม X สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ เด็กจะเป็นเพศหญิง แต่หากเป็นอสุจิที่มีโครโมโซม Y เด็กจะเป็นเพศชาย
  • การปฏิสนธิจะเป็นการรวมตัวและแบ่งโครโมโซมจากอสุจิและไข่อย่างละครึ่ง หากปฏิสนธิสำเร็จก็จะกลายเป็นตัวอ่อนระยะ Zygote ก่อนจะแบ่งเซลล์ต่อไปและเคลื่อนตัวออกมาจากท่อนำไข่สู่ผนังมดลูก
  • เมื่อตัวอ่อนสามารถฝังตัวที่ผนังมดลูกได้สำเร็จ จึงนับว่าสำเร็จการตั้งครรภ์

การปฏิสนธิ (Fertilization)

การปฏิสนธิ (Fertilization) คือ ขั้นตอนที่เซลล์ไข่ของเพศหญิงถูกเซลล์อสุจิของเพศชายเจาะเข้ามาเพื่อผสมรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว โดยระยะนี้จะเรียกว่า Zygote ซึ่งจะมีการแบ่งตัวในรูปแบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ Blastocyst ซึ่งเป็นตัวอ่อนที่มีความแข็งแรงและมีการแบ่งเซลล์มามากกว่า 100 เซลล์ จะเคลื่อนตัวไปยังโพรงมดลูกเพื่อฝังตัวอยู่กับผนังมดลูกต่อไป หากตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ก็จะเริ่มเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์

ขั้นตอนการปฏิสนธิ

ขั้นตอนการปฏิสนธิ

1.การตกไข่

ในถุงน้ำหุ้มรังไข่จะมีเซลล์ไข่อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งถูกสร้างมาตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ เซลล์ไข่เหล่านี้จะค่อย ๆ สุกทีละ 1 ใบในแต่ละเดือนแล้วหลุดออกจากถุงน้ำหุ้มรังไข่ ก่อนที่จะตกลงมายังท่อนำไข่ โดยกระบวนการนี้เรียกว่า “การตกไข่” นั่นเอง

2.ไข่เคลื่อนที่ไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ

หลังกระบวนการตกไข่ ไข่จะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ เซลล์จะมีเวลารอในการปฏิสนธิแค่ 24 ชั่วโมง ซึ่งในระหว่างกระบวนการตกไข่ ที่ผนังมดลูกก็จะหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่หากไม่มีการปฏิสนธิขึ้น เซลล์ไข่จะฝ่อ และผนังมดลูกก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนต่อไป

3.เกิดการปฏิสนธิ

เมื่อเซลล์ไข่ที่สุกเคลื่อนตัวมายังท่อนำไข่ และในระหว่างนี้มีเพศสัมพันธ์ขึ้น ก็มีโอกาสที่เซลล์อสุจิจะไปเจอกับเซลล์ไข่ โดยที่อสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัว เจาะเข้าไปยังเซลล์ไข่ 1 เซลล์จนเกิดการปฏิสนธิ และหลังจากนั้นเซลล์ไข่ก็จะสร้างเปลือกหนาขึ้นทำให้อสุจิตัวอื่นไม่สามารถเข้ามาปฏิสนธิได้อีก 

ในขั้นตอนการปฏิสนธินั้น เซลล์อสุจิมีบทบาทต่อเพศของทารกอย่างมาก เนื่องจากเซลล์อสุจิจะมีทั้งโครโมโซม X และโครโมโซม Y และเซลล์ไข่จะมีเพียงโครโมโซม X เท่านั้น หากอสุจิที่มีโครโมโซม X เจาะเข้ามายังไข่ได้ ทารกก็จะเป็นเพศหญิง (XX) กลับกันหากอสุจิที่มีโครโมโซม Y เจาะเข้ามายังไข่ได้ ทารกก็จะเป็นเพศชาย (XY)

4.ระยะไข่ฝังตัวที่ผนังมดลูก

หลังจากมีการปฏิสนธิแล้ว เซลล์ไข่และอสุจิจะรวมกันกลายเป็นตัวอ่อนระยะ Zygote การแบ่งเซลล์จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งตัวอ่อนที่อยู่ในท่อนำไข่จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปยังมดลูกเพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูก ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 3-4 วัน ในช่วงกระบวนการฝังตัวของตัวอ่อน อาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดได้

อยากมีลูก ไม่ท้องสักที รีบปรึกษาแพทย์ ก่อนถึงวัยมีลูกยาก ปนึกษาแพทย์ฟรี คลิก

หลังปฏิสนธิกี่วัน ถึงจะรู้ว่าท้อง

หลังปฏิสนธิกี่วัน ถึงจะรู้ว่าท้อง

หลังจากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกแล้ว จะทราบว่าตั้งครรภ์ไหมจะต้องตรวจจากการวัดระดับฮอร์โมน เอชซีจี (HCG) ซึ่งจะเริ่มตรวจพบได้ ประมาณ 14 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือประมาณ 6 วันหลังการปฏิสนธิ แต่ระดับฮอร์โมนระดับ HCG ยังต่ำมาก และจะเพิ่มอย่างรวดเร็วจนถึงช่วงอายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์

ช่วงเวลาที่การปฏิสนธิมีโอกาสสำเร็จมากที่สุด

การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่มีการตกไข่ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น ในแต่ละเดือนกระบวนการตกไข่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ซึ่งหมายความว่าใน 1 เดือนจะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ได้ 

อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกับวันที่ไข่ตกก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เหมือนกัน เนื่องจากอสุจิที่แข็งแรงสามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายของผู้หญิงได้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง และไข่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 12-24 ชั่วโมง หลังการตกไข่ โดยผู้ที่มีประจำเดือนมาปกติจะเกิดการตกไข่ 14 วันก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป ซึ่งการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่ออสุจิและไข่ผสมกันแทบจะทันทีหลังเกิดการตกไข่

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

สอบถามรายละเอียด โทรเลย

สอนวิธีคำนวณวันไข่ตก 

การนับวันตกไข่สำหรับผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนปกติมักจะแม่นยำ เพราะปกติแล้วผู้หญิงจะมีประเดือนทุกๆ 28 วัน ซึ่งจะให้นับหลังจากประจำเดือนมาวันที่ 1 พอถึงวันที่ 14 จะเป็นวันที่ไข่ตก

ถ้าต้องการจะมีบุตรให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาก่อนวันไข่ตก, วันที่ไข่ตก หรือหลังวันที่ไข่ตก 1 วัน (วิธีนี้จะเหมาะสำหรับคุณผู้หญิงที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนเท่านั้น)

อ่านวิธีนับวันไข่ตกอย่างละเอียด ได้ที่บทความ นับวันไข่ตก คืออะไร มีวิธีนับอย่างไร?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิสนธิ

ปัจจัยที่ส่งผลที่ต่อการปฏิสนธิมีอยู่หลายปัจจัย ดังนี้

  • เซลล์ไข่ จะต้องเป็นไข่ที่สุกพร้อมต่อการปฏิสนธิ ลักษณะของเซลล์ไข่ควรจะมีผนังที่ไม่หนาเกินไป เนื่องจากอสุจิจะเจาะเข้าไปเพื่อปฏิสนธิได้ยากขึ้น
  • อสุจิ ต้องมีจำนวนมากพอที่จะว่ายมาถึงเซลล์ไข่บริเวณท่อนำไข่ เมื่อมาถึงแล้วต้องแข็งแรงมีความสามารถที่จะเจาะเข้าเซลล์ไข่ได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงต้องมีความปกติทางด้านรูปร่าง โดยเฉพาะส่วนหัวของอสุจิที่เป็นส่วนบรรจุโครโมโซมพันธุกรรม หากมีความผิดปกติก็จะส่งผลให้ปฏิสนธิไม่สำเร็จเช่นกัน
  • ฮอร์โมนในร่างกาย เนื่องจากการปฏิสนธิและเกิดการตั้งครรภ์สำเร็จไม่ใช่เพียงแค่เซลล์ไข่ผสมกับอสุจิได้เท่านั้น แต่จะต้องสามารถเจริญเติบโตเพื่อพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน และสามารถฝังตัวกับผนังมดลูกเพื่อเกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ ฮอร์โมนในร่างกายมีความสำคัญอย่างมาก หากระดับฮอร์โมนไม่สมดุลหรือเหมาะสม ก็ส่งผลให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการเจริญของตัวอ่อน นำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
  • ลักษณะของรังไข่และมดลูก ในขั้นตอนการปฏิสนธิ เซลล์ไข่จะอยู่ที่ท่อนำไข่เพื่อรอให้อสุจิวิ่งมาปฏิสนธิ ซึ่งถ้าหากรังไข่หรือมดลูกอยู่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมต่อการปฏิสนธิ เช่น ท่อนำไข่ตีบตัน ก็จะมีโอกาสที่อสุจิจะมาปฏิสนธิกับไข่ยากขึ้น หรือแม้ว่าจะปฏิสนธิสำเร็จ ก็อาจมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะถูกขวางกั้นไม่ให้ไปฝังตัวที่ผนังมดลูกได้

วิธีกระตุ้นการปฏิสนธิแบบธรรมชาติ

สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์ หากอยากเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิแบบธรรมชาติ ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ที่ส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความแข็งแรง ฮอร์โมนสมบูรณ์อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ภาวะอ้วนหรือผอมเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิได้ การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยวิธี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • ทานอาหารบำรุงร่างกาย ควรบำรุงร่างกายให้พร้อมก่อนมีแผนการตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและไขมันทรานส์สูง ควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 แทน 
  • ทานอาหารเสริม เมื่อเริ่มวางแผนจะมีบุตรต้องเริ่มรับประทานวิตามินรวมหรือวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิค (Folic acid) โดยในระยะแรกของการตั้งครรภ์ หลอดประสาทของตัวอ่อนจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิคจะช่วยลดความเสี่ยงภาวะพิการแต่กำเนิดได้ 
  • ความเครียด เพราะภาวะเครียดส่งผลให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูง อาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เพื่อช่วยลดความเครียดสร้างสุขภาพจิตที่ดี
  • ลดปริมาณการดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ แม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการดื่มคาเฟอีนหรือการดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิ แต่การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่ หรือมีผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ควรจำกัดปริมาณหรือเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ไปก่อน
  • หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร การท้องนอกมดลูก และการเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 ปี ส่วนผู้ชายก็ควรหยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้อสุจิไม่แข็งแรงและมีปริมาณน้อยลงนั่นเอง
  • การรับประทานยาบางชนิด หากมีแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการรับประทานยา เพราะยาบางชนิดมีผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อน นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์

การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In-vitro Fertilization)

นอกจากการปฏิสนธิแบบธรรมชาติแล้ว ยังมีอีกวิธีที่สามารถทำให้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ได้ ก็คือ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In-vitro Fertilization) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ประสบภาวะมีลูกยาก โดยวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การฉีด IUI และ การทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI

1. IUI การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

วิธีนี้ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติเพียงแต่แพทย์จะจ่ายยาเพื่อให้เซลล์ไข่มีขนาดที่ใหญ่และจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงมีการคัดเชื้ออสุจิเอาเฉพาะที่แข็งแรง ฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพิ่มโอกาสให้อสุจิว่ายเข้าใกล้เซลล์ไข่มากขึ้น

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 10-15%

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ IUI คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? คนมีลูกยากควรรู้ เพิ่มโอกาสมีลูก

2. เด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI

เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการทำกิ๊ฟท์สมัยก่อน แต่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าแถมไม่ต้องผ่าหน้าท้อง โดยการฉีดยาเพื่อกระตุ้นเซลล์ไข่เป็นเวลา 10-12 วัน แล้วเจาะเอาเซลล์ไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิภายในห้องแล็บ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อนและย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญฺงเจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 70-80%

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการปฏิสนธิ

การปฏิสนธิใช้เวลากี่วัน

การปฏิสนธิจะใช้เวลาอยู่ที่ 24 ชั่วโมง จากเซลล์ไข่และกลายเป็นตัวอ่อนในระยะ 1 วัน

อสุจิเข้าผสมกับไข่ที่บริเวณใด

อสุจิจะมาเจอและผสมกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ เมื่อปฏิสนธิกันจนเป็นตัวอ่อนแล้วจึงเคลื่อนย้ายมาฝังตัวที่ผนังมดลูกเพื่อเจริญเติบโตต่อไป

การฝั่งตัวของทารกใช้เวลากี่วัน 

หลังจากที่ตัวอ่อนเกิดการปฏิสนธิแล้วจะมีการเดินทางจากท่อนำไข่มาที่ผนังมดลูกและทำการฝังตัวจะอยู่ที่ 5-6 วัน หากไม่เกิดการฝังตัวที่ผนังมดลูก หรือผนังมดลูกไม่พร้อมที่จะฝังตัว ตัวอ่อนก็จะฝ่อจึงทำให้ไม่ตั้งครรภ์

สรุป

การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้เซลล์สืบพันธุ์ทั้ง 2 จะต้องมีความสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อม โดยมีเวลาปฏิสนธิหลังจากไข่ตกภายใน 24 ชั่วโมง และเจริญเติบโต ไล่จากตัวอ่อนระยะ 1 วันจนไปถึงระยะ 5 วันที่พร้อมกับการฝังตัวที่โพรงมดลูก เมื่อฝังตัวสำเร็จจะเริ่มรับสารอาหารจากผนังมดลูกของแม่โดยตรง การตรวจตั้งครรภ์จะสามารถทำได้เร็วที่สุดคือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน


เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยากได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางไลน์ @beyondivf

Fertilization and implantation. (2023, September 27). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/multimedia/fertilization-and-implantation/img-20008656

Professional, C. C. M. (n.d.-a). Conception. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11585-conception

UCSF Health. (2024b, March 1). Conception: How it works. ucsfhealth.org. https://www.ucsfhealth.org/education/conception-how-it-works