Skip to content

15 อาหารโฟลิกสูง ที่คุณแม่ควรทาน เพิ่มความแข็งแรงให้ลูกน้อย


27 มีนาคม 2025
บทความ

ผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการสารอาหารอย่างมากในการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และกดโฟลิกก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่คุณหมอแนะนำ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าอาหารที่ให้สารโฟลิกนั้นมีอะไรบ้าง และกรดโฟลิกให้ประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้

กรดโฟลิกกับการตั้งครรภ์

กรดโฟลิกที่เพียงพอ จึงต้องมีการเสริมกรดโฟลิกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ

กรดโฟลิกจะช่วยการสร้างเนื้อเยื่อของลูกในครรภ์ สร้างเซลล์ประสาทสมองช่วยลดความพิการแต่กำเนิด ช่วยความฉลาดและเชาว์ปัญญาของลูกที่จะเกิดมา และยังช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร

ประโยชน์ของกรดโฟลิก – โฟเลต

  • กรดโฟลิกเป็นกรดที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก RNA-DNA ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสืบพันธุ์ของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก โดยหากขาดสารชนิดนี้ไปจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง หยุดชะงัก หรือเกิดความผิดปกติได้ โดยเฉพาะในทารกในครรภ์ ซึ่งอาจพิการแต่กำเนิดได้เลย
  • กรดโฟลิกช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของประสาทไขสันหลัง ที่มักจะเกิดกับทารกในครรภ์ได้
  • กรดโฟลิกช่วยเสริมสร้างการพัฒนาสมองและเป็นสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญต่อสมองมาก
  • กรดโฟลิกเป็นโคเอนไซม์ชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อเรียกว่า เททระไฮโดรโฟเลต (tetrahydrofolic acid, THFA) ซึ่งจะช่วยให้กรดอะมิโนมีการแตกตัวได้ดีขึ้น
  • กรดโฟลิกมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และช่วยให้เม็ดเลือดมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงสามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นตัวส่งคาร์บอนในการสร้างฮีมอีกด้วย
  • กรดโฟลิกจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร จึงไม่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและสามารถกระตุ้นการสร้างกรดเกลือได้อย่างดีเยี่ยม
  • กรดโฟลิกจะช่วยส่งไขมันออกจากตับ จึงลดความเสี่ยงโรคไขมันอุดตันในตับได้

กรดโฟลิกมีในอาหารประเภทใด

ประเภทอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงมีดังนี้

  • ผักใบเขียว เป็นอาหารชั้นดีที่อุดมไปด้วยโฟเลท ในแต่ละมื้อลองเพิ่มผักขม กระหล่ำปลี หรือผักกาดเขียวลงไป เพื่อเพิ่มกรดโฟลิกให้กับร่างกาย เพราะเพียงแค่ทานผักเหล่านี้ 1 จานใหญ่ต่อวันก็จะทำให้ได้รับกรดโฟลิกเพียงพอแล้ว
  • ตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วเฮเซลนัท จะมีโปรตีนสูงและยังมีโฟลิกสูงที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย
  • ผลไม้ ผลไม้ส่วนใหญ่ต่างอุดมไปด้วยกรดโฟลิกทั้งนั้น เโดยเฉพาะผลไม้รสเปรี๊ยวจะมีกรดโฟลิกเยอะมาก นอกจากนี้พวกมะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูปหรือแม้แต่สตรอเบอรี่ก็มีกรดโฟลิกสูงเช่นกัน
  • บรอกโคลี บรอกโคลี 1 ถ้วย ทำให้เราได้รับกรดโฟลิกมากถึง 26% ของจำนวนที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิกต่อวัน


แนะนำ 15 อาหารที่มีโฟลิกสูง หาทานง่าย

1. ผักโขม

ผักโขมเป็นอีกหนึ่งผักใบเขียวที่มีโฟลิกสูงมาก เมื่อเทียบกับบรอกโคลีแล้วมีโฟลิกสูงมากกว่าถึง 3 เท่า เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์

เมนูแนะนำ ผักโขมอบชีส, ไข่ตุ๋นผักโขม, ผักโขมผัดไข่

2. บรอกโคลี

ในบรอกโคลีมีสารอาหาร วิตามิน และโฟลิกสูงมาก ยังมีสารชัลโฟราเฟนซึ่งสารตัวนี้มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งได้ดี

เมนูแนะนำ ผัดบรอกโคลีกุ้งสด, สลัดผักบรอกโคลี

3. อาโวคาโด

นอกจากอาโวคาโดจะมีโฟลิกสุงแล้ว ยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม, วิตามินเค, วิตามินซี และวิตามินบี 6 รวมถึงอะโวคาโดยังถือเป็นแหล่งของไขมันดีอีกด้วย

เมนูแนะนำ แซนวิชอโวคาโด, สลัดอาโวคาโด

4. พืชตระกูลถั่ว

พืชตระกูลถั่วนอกจากจะมีโฟเลตที่สูงแล้ว ยังถือเป็นแหล่งของโปรตีน ไฟเบอร์ โพแทสเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

เมนูแนะนำ ข้าวผัดธัญพืช, ถั่วแดงต้มน้ำตาล

5. หน่อไม้ฝรั่ง

เรียกได้ว่าเป็นแหล่งเติมโฟลิกให้ร่างกายชั้นดี และยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีอีกด้วย

เมนูแนะนำ หน่อไม้ฝรั่งห่อไข่, ผัดหน่อไม้ฝรั่งน้ำมันหอย

6. ไข่

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าไข่นั่นมีประโยชน์มากมาย และหนึ่งในนั่นไข่ยังมีกรดโฟลิกสูงอีกด้วย

เมนูแนะนำ ไข่ตุ๋น, ไข่เจียว, ไข่น้ำ, ไข่ดาว

7. ผักใบเขียว

ผักใบเขียว โดยเฉพาะปวยเล้งและผักกาดหอม ถือเป็นผักที่อุดมไปด้วยโฟลิกสูงมาก นอกจากจะมีโฟลิกสูงแล้ว ผักใบเขียวยังมีไฟเบอร์, วิตามินเค และวิตามินเออีกด้วย

เมนูแนะนำ ผัดผัก, สลัดผัก

8. ข้าวโพด

นอกจากผักใบเขียวแล้ว ข้าวโพดฝักเหลืองก็เป็นหนึ่งในอาหารที่โฟลิกอยู่ด้วยเช่นกัน

เมนูแนะนำ ข้าวโพดต้ม, ข้าวโพดคลุดเนย

9. ผลไม้รสเปรี้ยว

ผลไม้ส่วนใหญ่จะอุดมไปกรดโฟลิก โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยวเรียกได้ว่า เป็นผลไม้ที่มีกรดโฟลิกที่เยอะมาก เช่น ส้ม ในส้มจะมีกรดโฟลิกอยู่สูงมาก เพราะส้ม 1 ลูกจะมีกรดโฟลิกถึง 50g นอกจากส้มก็ยังมี มะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูป สตรอว์เบอร์รี่ อีกด้วย

เมนูแนะนำ น้ำผลไม้ปั่น, สลัดผลไม้


คำถามที่พบบ่อย

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเริ่มทานกรดโฟลิกช่วงไหน

สามารถทานได้ตั้งแต่เริ่มวางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อเนื่องยาวไปจนอายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์

ระหว่างตั้งครรภ์จำเป็นต้องทานโฟลิกมาก – น้อยเพียงใด

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ร่างกายมีความต้องการกรดโฟลิกอยู่ที่ 800 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ทั้งนี้ควรรับประทานไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากร่างกายได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป กรดโฟลิกจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เป็นโรคโลหิตจางได้

หากตั้งครรภ์แล้วได้รับกรดโฟลิกไม่เพียงพอจะส่งผลเสียอย่างไร

ทารกจะเสี่ยงต่อความพิการ ในทรากบางรายอาจจะเกิดความพิการทางสมอง ระบบประสาทส่วนกลาง และกะโหลกศีรษะไม่ปิด ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
บทความ

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
บทความ

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ