Skip to content

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ส่วนสำคัญในหญิงตั้งครรภ์


27 มีนาคม 2025
บทความ

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่อยากมีลูก แน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกไข่ การเจริญของไข่ การมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์

แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบอย่างละเอียดว่าแท้จริงแล้วฮอร์โมนนี้มีหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วหากพบปัญหาฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ต้องทำอย่างไร และเมื่อฮอร์โมนเกิดไม่สมดุลปัญหาต่างๆที่ตามมาคืออะไร แก้ไขอย่างไร

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) คือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรของประจำเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่อะไร

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ และกระตุ้นให้ไข่สุกจนเกิดการตกไข่ หากมีระดับฮอร์โมนเอฟเอสเอชไม่สมดุล อาจหยุดการตกไข่ และทำให้มีลูกยากขึ้น

FSH ปกติโดยทั่วไปจะไม่เกิน 10 mIU/ml และจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับไข่สำรองที่มีอยู่ (รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่) เมื่อมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้น เพื่อชดเชยและกระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูง อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้

ฮอร์โมน FSH กับหญิงตั้งครรภ์

การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าคุณมีภาวะเจริญพันธุ์หรือความสามารถในการตั้งครรภ์อยู่ในระดับใด เมื่อคุณมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายของคุณจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

ฮอร์โมน FSH กับการทำเด็กหลอดแก้ว

ฮอร์โมน FSH เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งจะมีการตรวจ Basal FSH day 3 เป็นการตรวจฮอร์โมน FSH ในวันที่สามของประจำเดือน ไข่ที่คุณภาพดีจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและอินฮีบินบีสูง ผลคือ ค่า FSH จะต่ำลง หากไข่คุณภาพไม่ดีฮอร์โมนที่สร้างได้จากไข่จะมีระดับต่ำ ส่งผลให้ค่า FSH สูงขึ้น

สัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงการทำงานรังไข่ที่แย่ลง คือ ค่า FSH มากกว่า 10 mIU/mL ร่วมกับค่า E2 ที่น้อยกว่า 80 pg/ml มีรายงานว่าค่า FSH ที่มากกว่า 18 mIU/ml จะมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยมาก

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH

สำหรับผู้หญิง

  • หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • ดูการทำงานของรังไข่ว่ามีปัญหาหรือไม่
  • หาสาเหตุของประจำเดือนที่มาไม่ปกติหรือขาดหายไป
  • ยืนยันการเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาในชีวิตของผู้หญิงเมื่อประจำเดือนหยุดลงแจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป

สำหรับผู้ชาย

  • หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • หาสาเหตุของจำนวนอสุจิทำไมถึงมีน้อย
  • เพื่อดูว่าลูกอัณฑะมีปัญหาหรือไม่

สำหรับเด็ก

  • วัยเจริญพันธุ์ถ้าเริ่มก่อนอายุ 9 ในเด็กผู้หญิง และก่อนอายุ 10 ในเด็กผู้ชาย ถือว่าเร็ว
  • วัยเจริญพันธุ์หากยังไม่เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 13 ปีในเด็กผู้หญิง และเมื่ออายุ 14 ปีในเด็กผู้ชาย ถือว่าล่าช้า

การตรวจระดับฮอร์โมน FSH เหมาะกับใคร

สำหรับผู้หญิง

  • หลังจากปล่อยวิธีธรรมชาติมามากกว่า 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ประจำเดือนของคุณผู้หญิงหมดในช่วงที่ถึงวัยหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนวัย

สำหรับผู้ชาย

  • อสุจิไม่แข็งแรงจนทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ไม่สำเร็จภายใน 1 ปี
  • ความต้องการทางเพศลดลง


ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)

  1. พยาบาลจะซักประวัติของคุณแม่เบื่องต้นก่อน
  2. พยาบาลจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เสร็จแล้วพยาบาลจะพาไปพบแพทย์
  3. พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว ยาปฏิชีวนะที่ใช้ เคยมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซมไหม ประวัติโรคประจำตัวของคนในครอบครัว
  4. เจาะเลือด และนำไปตรวจ FSH เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. รอผลตรวจ ประมาณ 1 ชั่วโมง

สาเหตุที่ส่งผลให้ฮอร์โมน FSH ไม่สมดุล

ทางการแพทย์ที่มีผลต่อต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไตยังสามารถส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์อย่างมาก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของความไม่สมดุลของฮอร์โมนในผู้หญิง อีกอย่างคือ PCOS หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่เยอะ ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติและอยู่ในภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล คือ

  • อายุ
  • ยาบางชนิด
  • แพ้อาหาร
  • การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด
  • ความตึงเครียด

อาการที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน

  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
  • รอบเดือนผิดปกติ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
  • รอบประจำเดือนมากเกินไปหรือขาดหายไป
  • ความอยากช็อกโกแลตหรือผลิตภัณฑ์จากนม
  • สิว
  • อาการร้อนวูบวาบ


คำแนะนำในการรักษาสมดุลฮอร์โมน FSH

  • กินโปรตีนให้เพียงพอในทุกๆมื้อ โปรตีนเป็นสารอาหารที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ให้กับเรา ในแต่ละวันเราต้องมีอาหารที่เป็นโปรตีนในมื้ออาหาร เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการเสริมสร้าง และซ่อมแซม กล้ามเนื้อ กระดูก และผิวหนัง โปรตีนช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน ที่ช่วยควบคุมความหิว และช่วยให้เรารู้สึกอิ่ม
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเวท แอโรบิค เดิน หรือการออกกำลังกายอื่นๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคอ้วน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปตามวัย
  • เลี่ยงน้ำตาลและ Refined Carbohydrates อาหารพวกนี้มีส่วนทำให้มีอาการดื้ออินซูลิน เลี่ยงอาหารพวกนี้ ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหาร ทานพวก Whole foods จะช่วยลดระดับอินซูลินและเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้
  • จัดการความเครียด การลดความเครียด ด้วยกิจกรรมประเภท การทำสมาธิ นวด โยคะ ฟังเพลงสบายๆ ช่วยลดความเครียดช่วยลดระดับฮอร์โมน Cortisol ได้
  • รับประทานไขมันที่เป็นประโยชน์ ในส่วนของไขมันดี การกินไขมันดี ช่วยลดการดื้ออินซูลินและช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากและความอิ่ม
  • กินไขมันจากปลา ในส่วนของไขมันจากปลา กรดไขมันโอเมกา-3 ช่วยลดระดับ cortisol และ epinephrine เพิ่มความไวต่ออินซูลิน และลดระดับอินซูลินลดการดื้ออินซูลินด้วย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในส่วนของการนอนหลับ การนอนหลับๆตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนควบคุมความอิ่มลดลง ฮอร์โมนที่ทำให้เราหิวและเครียดเพิ่มขึ้น และทำให้การหลั่ง Growth Hormone ลดลง เพิ่มการดื้ออินซูลิน


ไข่ตก หรือ วันไข่ตก ของคุณผู้หญิงคืออะไร

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเพราะจะเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อวงจรของประจำเดือน หากฮอร์โมน FSH สูงขึ้นหรือต่ำลงก็จะเกิดผลเสียต่อการมีลูกของคุณผู้หญิง

หากท่านใดลองมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมามากกว่า 1 ปีแล้วยังไม่สำเร็จแสดงว่าท่านเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยหาสาเหตุและแนวทางในการรักษา ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ