Skip to content

คนท้อง ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย แก้อย่างไร กินยาได้ไหม?


27 มีนาคม 2025
บทความ

ปัญหาท้องอืดของคนท้อง ถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ทุกคน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจสร้างความหงุดหงิดใจ ไม่สบายตัว และคุณแม่ไม่รู้ว่า ควรหลีกเลี่ยงอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืด และถ้าหากเกิดอาการท้องอืดมีวิธีรักษาอย่างไร ทานยาอะไรได้บ้าง

อาการท้องอืดในคนท้อง

อาการท้องอืดในคนท้องมักจะเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภช่วงไตรมาสแรก โดยมีอาการรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง มีลมในกระเพาะอาหารจํานวนมาก จนทําใหเกิดการเรอหรือผายลมออกมาบ่อยๆ หรืออาจจะมีเสียงร้องโครกออกมาจากท้อง ซึ่งอาการท้องอืดถือเป็นอาการปกติสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์


สาเหตุที่ทำให้คนท้อง ท้องอืด

1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน

ในช่วงที่ผู้หญิงตั้งครรภ์จะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการเปลี่ยนแปลงสูง เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจำนวนมากเพื่อรองรับการตั้งครรภ์ จึงทำให้เป็นสาเหตุหลักทำให้มีแก๊สส่วนเกินในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์

2. ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง

เมื่อผู้หญิงอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์จะส่งผลให้การทำงานของลำไส้ทำงานช้าลง กล้ามเนื้อของลำไส้เคลื่อนไหวช้าลงทำให้การย่อยอาหารช้างลงไปด้วย และทำให้อาหารค้างสะสมอยู่ในกระเพาะเป็นเวลานานจนเกิดแก๊สจำนวนมาก ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดอาการท้องอืด

3. การขยายตัวของมดลูก

เมื่อคุณแม่เริ่มมีอายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูกจะขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากทารกเริ่มมีพัฒนาการและโตขึ้น จนทำให้มีการเบียดกระเพาะอาหารกับลำไส้ จนระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่

4. พฤติกรรมของคุณแม่

พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคุณแม่ก็ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ เช่น เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทานอาหารที่มีรสจัดเกินไป ทานอาหารจำพวกของทอด และทานผักผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊สมาก

วิธีบรรเทาอาการท้องอืดสำหรับคนท้อง

วิธีบรรเทาอาการท้องอืดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร โดยเคี้ยวอาหารนานๆ เคี้ยวให้ละเอียด เพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
  2. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้กับร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงของทอด ของมัน
  3. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เพราะอาหารที่มีรสจัดจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้ง่ายขึ้น
  4. ไม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป แต่ควรรับประทานครั้งละน้อยๆและทานหลายๆมื้อ เพื่อช่วยลดอาการท้องอืด
  5. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เครื่องดื่มโซดา เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น

ยาแก้ท้องอืดสำหรับคนท้อง

ยาแก้ท้องอืดที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทานได้ มีดังนี้

  • ยาชนิดเม็ด เช่น แอนตาซิล, air-x
  • ยาชนิดชง เช่น อีโน
  • ยาชนิดน้ำ เช่น อะลัมมิลค์
  • ยาสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วคุณหมอจะแนะนำให้รักษาอาการท้องอืดด้วยวิธีธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อทารกได้ แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องอืดมาก ควรเข้าปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คุณหมอจ่ายยาให้อย่างเหมาะสม ไม่ควรซื้อยาทานเอง


อาหารที่คนท้องควรเลี่ยง ป้องกันท้องอืด

อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืด มีดังนี้

  • ผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ หน่อไม้ผรั่ง เพราะผักที่กล่าวมาข้างต้นมีแก๊สจำนวนมากเนื่องจากผักเหล่านี้มีน้ำตาลราฟฟิโนส ซึ่งทำให้เกิดแก๊สได้
  • แป้งบางชนิด เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวโพด แป้งมัน เนื่องจากเป็นแป้งที่ทำให้เกิดแก๊สจำนวนมาก
  • ถั่ว เพราะในถั่วมีน้ำตาลราฟฟิโนส ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดแก๊ส และยังทำให้การย่อยอาหารช้าลงอีกด้วย
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตส เช่น กระเทียม หัวหอม แอปเปื้ล น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง และน้ำอัดลม เนื่องจากอาหารเหล่านี้ประกอบไปด้วยฟรุกโตส และมีการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของการท้องอืด


ข้อสรุป

อาการท้องอืดในคนท้องคืออาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแก๊สจํานวนมาก หรือรับประทานอาหารที่มีรสจัด ร่วมกับการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเลยส่งผลให้อาหารไม่ย่อยหรือย่อยช้าลงจนทําให้แน่นท้อง และท้องอืดได้ การรักษาอาการท้องอืดของคนท้องหากอาการไม่ได้รุนแรงมาก อาจจะใช้เป็นยา แอนตาซิล, air-x หรืออีโน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ

แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ท่านไหนมีอาการท้องอืดขั้นรุนแรงหรือไม่ปกติ รีบปรึกษาแพทย์ อย่าซื้อยารับประทานเองเนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ