Skip to content

ค่าฮอร์โมน hCG คืออะไร? มีส่วนช่วยอย่างไรในการตั้งครรภ์?


26 มีนาคม 2025
บทความ

ฮอร์โมน hCG ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่สำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมาก และเป็นตัวชี้ว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้คุณแม่หลายๆคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าถ้าฮอร์โมน hCG คือฮฮร์โมนของคนท้องจริงๆจะตรวจเจอตอนไหน มีวิธีการตรวจอย่างไร แล้วค่า hCG ขึ้นแต่ไม่ได้ตั้งครรภ์หมายถึงอะไร แล้วถ้าฮอร์โมนไม่สมดุลจะมีผลอะไรกับทารกไหม

ทำความรู้จัก ‘ฮอร์โมน hCG’

hCG (Human Chorionic Gonadotropin) คือ ฮอร์โมนตั้งครรภ์ เป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากเซลล์ของรก ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่ผู้หญิงตั้งครรภ์เท่านั้น เพราะส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมน hCG มาจากเซลล์รกของทารกเท่านั้น

ระดับฮอร์โมน hCG จะเริ่มตรวจพบหลังจากมีการปฏิสนธิของอสุจิกับเซลล์ไข่ประมาณ 11 วัน ระดับฮอร์โมนจะมีค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วัน ระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นค่าจะลดลงและคงที่ตลอดการตั้งครรภ์

ฮอร์โมน hCG สร้างจากอะไร?

โดยฮอร์โมน HCG ถูกสร้างจากเซลล์รกของทารก มีหน้าที่ช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกได้ดี ฮอร์โมน hCG จะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และฮอร์โมน HCG ยังช่วยกระตุ้นให้รังไข่ให้สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ ที่สำคัญในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ประโยชน์ของฮอร์โมน hCG ต่อการตั้งครรภ์?

ฮอร์โมน hCG จะช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก ช่วยกระตุ้นให้รังไข่ให้สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญคุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมน hCG จะค่อยๆเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังสามารถใช้ในการตรวจการตั้งครรภ์ได้อีกด้วยเพราะฮอร์โมน hCG จะมีอยู่ในเลือดกับปัสสาวะ

การตรวจค่า hCG คืออะไร

  • การทดสอบ hCG วัดเชิงคุณภาพ เป็นการตรวจหาว่าตั้งครรภ์หรือไม่ อาจสามารถตรวจได้ภายใน 11 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ
  • การทดสอบ hCG วัดเชิงปริมาณ โดยจะวัดปริมาณ hCG ในเลือด เพื่อดูระดับของฮอร์โมนว่าสูงหรือต่ำกว่าปกติหรือไม่ และยังอาจช่วยให้คุณหมอทราบและวินิจฉัยได้ว่ามีปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้

วิธีตรวจค่า hCG มีอะไรบ้าง?

1. การตรวจเลือด

การตรวจเลือด จะเก็บตัวอย่างเลือดและนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ซึ่งระดับของ hCG ในเลือดมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองการเกิดข้อบกพร่องของทารกในครรภ์

2. การตรวจปัสสาวะ

การตรวจค่า hCG ด้วยปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า ที่ตรวจครรภ์ ซึ่งการแสดงผลการตรวจของชุดทดสอบนี้ จะแสดงเป็นแถบขีดสี ถ้าขึ้นว่า 2 ขีด (ขึ้นที่ขีด C และ T) คือ ผลบวก แสดงว่า มีโอกาสตั้งครรภ์ และ ขีดเดียว (ขึ้นที่ขีด C เพียงอย่างเดียว) คือ ผลลบ แสดงว่า ไม่ตั้งครรภ์ หากตรวจแล้วไม่มีขีดใดขึ้นเลย แสดงว่าที่ตรวจครรภ์เสีย หมดอายุ หรือเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ ต้องตรวจใหม่อีกครั้ง

ระดับค่า hCG ในคนท้อง

วันไข่ตก คือ กลไกธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยจะใช้เวลารอบละประมาณ 28-35 วัน เริ่มนับวันแรกที่มีประจำเดือน

ซึ่งวันที่ไข่ตกคือไข่ใบที่สุกที่สุดออกมาจากรังไข่ไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่ คนที่อยากมีลูกจจึงมักเช็ค อาการไข่ตก เพื่อที่จะได้มีโอกาสมีลูกได้มากขึ้น ดังนั้นคนที่อยากมีลูกควรจะสังเกตุอาการต่างๆ เพื่อช่วยในการมีลูกได้ง่ายขึ้น

ระดับค่า hCG จะเพิ่มสูงสุดในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่า hCG จะเริ่มลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 และเริ่มคงที่ตั้งแต่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์เป็นต้นไป


ถ้าระดับค่า hCG ไม่สมดุลจะส่งผลอย่างไรบ้าง

  • ค่าฮอร์โมน hCG ต่ำ คือ โดยปกติคุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์หลังจากมีการตั้งครรภ์แล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ถ้าอิงจากค่ามาตรฐาน อายุครรภ์ 4 สัปดาห์จะมีค่า hCG อยู่ที่ประมาณ 500-6000 U/ml หากตรวจแล้วพบว่าค่าฮอร์โมน hCG ต่ำกว่ามาตรฐานควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะเกิดการแท้ง ไข่ฝ่อ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • ค่าฮอร์โมน hCG สูง คือ ถ้าอิงจากค่ามาตรฐาน อายุครรภ์ 4 สัปดาห์จะมีค่า hCG อยู่ที่ประมาณ 500-6000 U/ml หากตรวจแล้วพบว่าค่าฮอร์โมน hCG สูงเกินกว่ามาตรฐานควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะเกิดการตั้งครรภ์แฝด และตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกได้

ปัจจัยที่ทำให้ค่า hCG ไม่สมดุล

  • น้ำหนักตัวคุณแม่ หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินระดับ hCG จะต่ำกว่าปกติ
  • โรคเบาหวาน จะมีผลทำให้ระดับ hCG ต่ำกว่าปกติ
  • ตั้งครรภ์แฝด จะมีค่า hCG สูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว
  • uE3 (Unconjugated estriol) คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีค่า uE3 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นปกติ แต่หากค่า uE3 มีระดับที่ต่ำกว่าปกติ จะเสี่ยงอยู่ในกลุ่มของคุณแม่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม

คำถามที่พบบ่อย

ค่า hCG ของคนปกติทั่วไปอยู่ที่เท่าไหร่?

โดยคนปกติทั่วไปผู้หญิงที่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์จะไม่มีฮอร์โมน hCG ในร่างกายเลย เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์รกของทารก จะตรวจพบในปัสสาวะหลังจากปฏิสนธิ 11-14 วัน ระดับฮอร์โมนจะมีค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วัน ระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากไม่ได้มีการตั้งครรภ์จะไม่มีฮอร์โมน hCG และตรวจไม่ขึ้น

ระดับฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงจะท้อง?

ฮอร์โมน hCG จะผลิตออกมาประมาณ 11 วันหลังจากมีการปฏิสนธิกันจนเป็นตัวอ่อน โดยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วัน ระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นค่าจะลดลงและคงที่ตลอดการตั้งครรภ์ ในเชิงการแพทย์ถ้าระดับฮอร์โมน HCG > 25 mIU/mL ถือว่าตั้งครรภ์

ข้อสรุป

ฮอร์โมน hCG คือฮอร์โมนการตั้งครรภ์ เป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากเซลล์รกของทารก และช่วยให้ตัวอ่อนไปฝังที่ผนังมดลูกได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งฮอร์โมน hCG จะสามารถตรวจเจอได้ทั้งในปัสสาวะและในเลือด และระดับ hCG จะเริ่มพบหลังจากมีการปฏิสนธิประมาณ 11 วัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ของคุณแม่ ทั้งนี้หากคุณแม่ท่านไหนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ