ฮอร์โมนเพศหญิง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งฮอร์โมนในร่างกายสามารถบางบอกได้ว่าในตอนนี้คุณผู้หญิงกำลังมีภาวะอะไรอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมีบุตรยาก เป็นซีสต์ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ล้วนแล้วมาจากฮอร์โมนทั้งสิ้น หลายๆคนอาจไม่ทราบว่าหากต้องตรวจฮอร์โมนต้องตรวจอะไรบ้าง ฮอร์โมนแต่ละตัวบ่งบอกถึงอะไร และค่าใช้จ่ายในการตรวจเท่าไหร่
การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจความผิดปกติของระบบฮอร์ภายในร่างกายของเพศหญิง โดยช่วงเวลาการตรวจขึ้นอยู่กับฮอร์โมนในแต่ละตัวเช่นบางฮอร์โมนควรตรวจตอนมีประจำเดือน บางฮอร์โมนควรตรวจตอนไม่มีประจำเดือนหรือบางฮอร์โมนสามารถตรวจได้ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณาตรวจฮอร์โมนควรเป็นไปตามแพทย์แนะนำเพื่อชี้วัความผิดปกติของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง เป็นการตรวจสมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแต่ละตัว เพื่อประเมินความผิดปกติของอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนการเกิดโรค ทั้งระบบเผาผลาญ การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การควบคุมอารมณ์ ความเครียด ความรู้สึกทางเพศ และการเจริญพันธุ์ เพื่อหาแนวทางการปรับให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุลอีกครั้ง
หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุลจะส่งผลอย่างไร
ในวัยเจริญพันธุ์หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล จะทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น
- ประจำเดือนขาด
- สิวขึ้น
- ท้องอืด
- อารมณ์แปรปรวน
- ซึมเศร้าง่าย
- ภาวะมีบุตรยาก
สำหรับหญิงวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงจะต่ำลงมาก ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ความจำแย่ อารมณ์ฉุนเฉียว กระดูกบาง ผิวเหี่ยว
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง
สำหรับคำถามที่ว่า ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนตัวใดบ้าง เนื่องจากฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับเพศหญิงนั้นมีหลากหลาย ฮอร์โมนที่จำเป็นต้องตรวจจึงได้แก่
- ตรวจระดับฮอร์โมน Estradiol (E2) เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง อยู่ในกลุ่มเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ตรวจระดับฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ฮอร์โมนนี้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จะกระตุ้นออกมาช่วงตกไข่ ถ้าใครไม่มีฮอร์โมนตัวนี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้ามีค่า LH สูงก็อาจจะเป็นซีสต์ในรังไข่ได้
- ตรวจระดับฮอร์โมน Progesterone ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนและการตั้งครรภ์
- ตรวจระดับฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่สุก ถ้าไม่มีตัวนี้ก็จะทำให้เป็นหมันได้
- Sex Hormone Binding Globulin เป็นการตรวจสำหรับประเมินภาวะแอนโดรเจนผิดปกติ ฮอร์โมนแอนโดรเจนคือฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งหากผู้หญิงมีฮอร์โมนตัวนี้เยอะก็จะทำให้เป็นเนื้องอก หรือมีหนวด มีเคราเหมือนผู้ชาย
- ตรวจระดับฮอร์โมน DHEA – Sulphate เป็นการตรวจปริมาณสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ
- ตรวจระดับฮอร์โมน IGF1 (Insulin-like โกรทฮอร์โมน Factor) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โกรทฮอร์โมน เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม การเจริญเติบโต และการฟื้นฟูของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
- ตรวจ IGFBP3 เพื่อดูว่า มีภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone deficiency) หรือภาวะที่มีฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากผิดปกติ ( Acromegaly)
- ตรวจการทำงานของไทรอยด์ มักดูระดับฮอร์โมนสำคัญ 3 ตัว ได้แก่
- ระดับฮอร์โมน TSH (Thyroid Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีความไวสูงที่สุดในการประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์
- T3 (Triiodothyronine Free) สร้างจากต่อมไทรอยด์ โดยปกติจะผลิตออกมาน้อยกว่า T4 แต่จะแอคทีฟน้อยกว่า T4 ถึง 10 เท่า
- T4 (Thyroxine Free) สร้างจากต่อมไทรอยด์
ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศหญิงบ้าง
- คนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- คนที่อยากมีลูกหรือเตรียมตั้งครรภ์
- คนที่มีอารมณ์แปรปรวน
- มีปัญหาสุขภาพหรือภาวะร่างกายผิกปกติ เช่น อ่อนเพลียง่าย อ้วนง่าย
อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล
สำหรับอาการที่ส่งสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่
1. ประจำเดือนผิดปกติ
ปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 วัน แต่หากรอบเดือนมาบ่อยเกินไป หรือประจำเดือนขาด หมายความว่าเรามีฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมไปถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เป็นตัวควบคุมการมาของประจำเดือนมากหรือน้อยเกินไป
2. นอนไม่หลับหรือหลับยาก
นอกจากฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่มีส่วนช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นแล้ว ยังมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ผลิตออกมาจากรังไข่ของผู้หญิง ที่ช่วยให้ผู้หญิงนอนหลับได้สบายมากขึ้น แต่หากฮอร์โมนหนึ่งในสองชนิดนี้มีปริมาณต่ำกว่าปกติ ก็จะส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน รวมไปถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen)ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ถ้ามีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำกว่าปกติ ก็อาจทำให้คุณผู้หญิงรู้สึกร้อนวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับได้เหมือนกัน
3. สิวขึ้นมากผิดปกติ
สิวฮอร์โมนที่ขึ้นเป็นเม็ดๆ บนใบหน้าก่อนมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีสิวขึ้นเป็นประจำไม่หายขาด อาจมีปัญหาที่ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่หากมีปัญหาจะส่งผลให้ต่อมไร้ท่อ และต่อมไขมันที่เซลล์ของผิวหนัง และรูขุมขนทำงานผิดปกติ จึงทำให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นสิวได้
4. มีอาการหลงลืมบ่อยๆ
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าหากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีความผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อการควบคุมในสมอง และสารด้านสื่อประสาท ซึ่งมีผลต่อสมาธิ และความจำด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้หมดประจำเดือน จะมีอาการหลายอย่างที่เชื่อมโยงกับระดับฮอร์โมนและต่อมไทรอยด์ ทำให้การทำงานของสมองอาจไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่เหมือนช่วงเวลาอื่น
5. อาการปวดท้อง
ไม่ใช่อาการปวดท้องทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน แต่เป็นอาการปวดท้องบริเวณท้องน้อยที่เกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนในผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน และไม่ถือว่ามีความผิดปกติมากนักหากเป็นอาการปวดเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่หากปวดประจำเดือนมากๆ จนทนไม่ไหว ปวดท้องจนหน้าซีด และในบางครั้งยาแก้ปวดประจำเดือนก็เอาไม่อยู่ แบบนี้อาจส่งผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ผิดปกติ
6. เมื่อยล้า อ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา
เมื่อฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนน้อยลง อาจส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยล้า และพลังงานลดลง โดยอาจมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่มาจากการทำงานของท่อมไทรอยด์ หรืออาจจะเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
7. เครียด อารมณ์แปรปรวน
หากใครเคยได้ยินคำว่า ฮอร์โมนแปรปรวน หรือ Hormone Swing คงเข้าใจว่ามีอาการเป็นอย่างไร นอกจากอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่ายแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen)ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อสมองและอารมณ์อีกด้วย
8. น้ำหนักเพิ่มขึ้น
หากบอกว่าอ้วนขึ้นเพราะฮอร์โมนผิดปกติก็อาจจะเป็นไปได้ เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) น้อยลง เราก็จะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น ต่อมความหิวก็เริ่มทำงานมากขึ้น จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนอยากทานอาหารจุกจิกจนน้ำหนักเพิ่มขึ้นนั่นเอง
9. ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะมีหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในนั้นยังมีเรื่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ต่ำ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน หากลองสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือนในทุกเดือน อาจเป็นเพราะความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen)ได้
10. ช่องคลอดแห้ง
โดยปกติแล้วหากคุณผู้หญิงมีช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์บ้างเป็นบางครั้งยังไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีปริมาณต่ำ ทำให้ช่องคลอดขาดความสมดุลในการทำงานตามไปด้วยนั่นเอง
11. ความต้องการทางเพศลดลง
ฮอร์โมนที่ควบคุมเรื่องความต้องการทางเพศหญิงคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(Testosterone) หากระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยเกินไป อาจส่งผลให้มีความต้องการทางเพศลดลงได้
12. หน้าอกเปลี่ยนแปลง
ผู้หญิงหลายคนอาจเคยสังเกตว่าช่วงมีประจำเดือนขนาดของหน้าอกจะใหญ่ขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนเพศหญิงอื่นๆ ดังนั้นหากผู้หญิงคนไหนที่รู้สึกว่าขนาดหน้าอกเล็กลง อาจจะเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลงได้
การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง มีดังนี้
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- การตรวจสุขภาพไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วง 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน
- ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 8-12 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
- หากมีผลการตรวจสุขภาพครั้งล่าสุด กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วย
- หากท่านมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
โดยขั้นตอนการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก มีขั้นตอนดังนี้
- พยาบาลจะซักประวัติของคุณผู้หญิงเบื่องต้นก่อน
- พยาบาลจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เสร็จแล้วพยาบาลจะพาไปพบแพทย์
- พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว ยาปฏิชีวนะที่ใช้
- เจาะเลือด และนำไปตรวจฮอร์โมน เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
- รอผลตรวจ ประมาณ 2 ชั่วโมง
ผลการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
สำหรับตัวอย่างค่าปกติของผลตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ดังเช่นรูปภาพด้านล่าง
แนะนำวิธีรักษาสมดุลของฮอร์โมน
หากคุณหมอวินิจฉัยว่า คุณมีปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล สามารถรักษาได้ทั้งการรักษาทางการแพทย์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเอง
การรักษาทางการแพทย์
- การใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งนิยมใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน
- ปรับสมดุลของเอสโตรเจนในช่องคลอด ด้วยการใช้ยาที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจน ทั้งแบบครีมสำหรับทา แบบเม็ดสอดช่องคลอด แบบแผ่นแปะผิวหนัง แบบกิน เป็นต้น
- ใช้การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และทำให้ประจำเดือนเป็นปกติ ทั้งยังอาจช่วยลดสิวและลดขนที่ดกเกินไปได้ด้วย
- ใช้ยาต้านแอนโดรเจน สำหรับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป คุณหมออาจให้คุณใช้ยาต้านฤทธิ์แอนโดรเจน ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาผมร่วง ขนดกดำเกินไป หรือปัญหาสิวดีขึ้นได้
การปรับสมดุลของฮอร์โมนด้วยตัวเอง
- การนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชม.
- ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารหวานและรสจัด อาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมน เช่น
- ถั่วเหลือง หรืออาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบเช่น เต้าหู้ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นต้น เป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูงสะสมอยู่ มีฮอร์โมนไฟโตเอสโตรเจนทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน การรับประทานอาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ นอกจากสารอาหารที่มีอยู่ในถั่วเหลืองจะช่วยปรับฮอร์โมนของผู้หญิงที่ขาดไปในร่างกายได้ รวมถึงยังช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และยังมีสารอาหารที่จำเป็นอีกมากมาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม วิตามินบีคอมเพล็กซ์ สังกะสี สารอาหารเหล่านี้ยังช่วยลดอารมณ์ที่แปรปรวนของวัยทองได้อีกด้วย
- ข้าวกล้อง ในข้าวกล้องมีสารเส้นใยที่สามารถช่วยซับน้ำมันและน้ำตาลที่เรากินเข้าไปเกินในแต่ละวันทิ้งเป็นกากอุจจาระได้ การกินข้าวกล้องจึงช่วยควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปและยังให้ความรู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวปกติ ทำให้ไม่เป็นคนกินจุบกินจิบ แต่ประโยชน์ที่สำคัญของข้าวกล้องหรืออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต คือ การกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสุข หรือควบคุมอารมณ์ของเราไม่ให้หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และเจ้าสารเซโรโทนินนี้ละที่สามารถช่วยลดความเครียดได้
- ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้แหละที่คอยช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน และยังสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย ซึ่งผลไม้สดที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์อยู่มากเช่น มะขาม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว เป็นต้น หรืออาจเลือกทานเป็นผลไม้จำพวกสตรอเบอรี่ อะโวคาโด กล้วย ฝรั่ง นอกจากจะมีสารไบโอฟลาโวนอยด์แล้วยังมีวิตามินอีที่ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ไม่แก่ก่อนวัยอันควรด้วย
- ผักใบเขียว แม้ว่าผักจะมีหลากหลายสีให้เลือกทาน แต่ขึ้นชื่อว่าผักแล้วมีประโยชน์ทั้งนั้น สำหรับวัยทองแล้วการทานผักใบเขียวจะช่วยในเรื่องความจำ ชะลอโรคหัวใจ ผักใบเขียวยังมีกรดโฟลิกที่ช่วยในการผลิตเซลล์ใหม่ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน แป้ง และไขมันดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย สำหรับคนวัยทองผักใบเขียวยังมีแมกนีเซียมสูงช่วยลดอาการแปรปรวนของอารมณ์ รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้ ผักใบเขียวที่เราหาทานได้ง่ายๆ เช่น คะน้า บร็อคโคลี่ ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาด ปวยเล้ง ฯลฯ
นอกจากการรับประทานอาหารเหล่านี้จะช่วยให้ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองสามารถปรับสมดุลในร่างกายให้กลับมาคงที่ได้แล้ว การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหาของวัยทองไม่ให้ผู้หญิงทั้งหลายกลายเป็นมนุษย์ป้าได้เช่นกัน และหากออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ก็จะยิ่งช่วยให้ควบคุมฮอร์โมนได้ดีมากขึ้น
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงราคาเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงที่ Beyond IVF จะอยู่ที่ 7,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งราคานี้จะตรวจฮอร์โมนเพศหญิงได้ทุกตัว เช่น
- ฮอร์โมน Estradiol (E2)
- ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH)
- ฮอร์โมน Progesterone
- ฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH)
- Sex Hormone Binding Globulin
- ฮอร์โมน DHEA – Sulphate
- ฮอร์โมน IGF1 (Insulin-like โกรทฮอร์โมน Factor)
- ตรวจ IGFBP3
- ฮอร์โมน TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- T3 (Triiodothyronine Free)
- T4 (Thyroxine Free)
ข้อสรุป
การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง คือ การตรวจเพื่อดูความสมดุลของฮอร์โมน ว่ามีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หรือผู้ที่มีปัญหาด้านนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หลับยาก มีลูกยาก ปัญหาวัยทอง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ความรู้สึกทางเพศลดลง หากมีความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการของวัยทองเร็วหรือรุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เมื่อเห็นสาเหตุของปัญหาแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์แนะนำและช่วยหาแนวทางในการรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศให้
หากท่านไหนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf