Skip to content

ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?


30 มีนาคม 2025
บทความ

ฉีดสีท่อนำไข่ (Hysterosalpingography) ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยาก รวมไปถึงตรวจดูความผิดปกติภายในโพรงมดลูกและท่อนำไข่ หลายๆท่านอาจจะไม่ทราบว่าการฉีดสีท่อนำไข่คืออะไร มีขั้นตอนในการตรวจอย่างไร อันตรายไหม แล้วใครที่ไม่ควรตรวจด้วยวิธีนี้

การฉีดสีท่อนำไข่ (Hysterosalpingography)

การฉีดสีท่อนำไข่ (Hysterosalpingography) คือ การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาเกี่ยวข้องกับการฉีดสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบเข้าทางปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูกและท่อนำไข่ทั้งสองข้างก่อนจะถ่ายภาพเอกซเรย์

การตรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูรูปร่างโดยทั่วไปของมดลูก และตรวจหาสาเหตุการมีบุตรยาก หรือการเป็นหมัน เช่น ติ่งเนื้อภายในมดลูก ท่อนำไข่ตีบตัน หรือโพรงมดลูกมีลักษณะผิดปกติ เป็นต้น


รู้จักสารทึบรังสี (Contrast Medium)

สารทึบรังสีมี 2 แบบ คือ แบบละลายน้ำ และน้ำมัน ซึ่งมีการศึกษาหลายชิ้นเปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์ระหว่างการฉีดสีดูท่อนำไข่โดยใช้สารทึบรังสีแบบละลายน้ำและน้ำมัน พบว่า การฉีดสีโดยใช้สารทึบรังสีแบบน้ำมัน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตั้งครรภ์ได้มากกว่าแบบละลายน้ำ


ข้อดีของการฉีดสีท่อนำไข่

โดยข้อดีและประโยชน์ของการฉีดสีท่อนำไข่ มีดังนี้

  • ทำให้ทราบรูปร่างของโพรงมดลูกว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น ลักษณะที่ผิดปกติของมดลูก เนื้องอกในมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก
  • เพื่อดูว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่ ถ้าตีบตันเกิดขึ้นที่ส่วนใด เพื่อที่จะประเมินและหาทางรักษาต่อไป


ผู้ที่ไม่สามารถฉีดสีท่อนำไข่ได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดสำหรับบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้ารับฉีดสีท่อนำไข่ได้ ได้แก่

  • คนที่กำลังตั้งครรภ์
  • เคยมีประวัติการแพ้สารทึบรังสี
  • ติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน

ฉีดสีท่อนำไข่สามารถเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ไหม

การใช้สารทึบรังสีแบบน้ำมันทำให้โอกาสการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เพราะ

  1. สารทึบรังสีแบบน้ำมันจะช่วยชะล้างโพรงมดลูกและท่อนำไข่ กำจัดสิ่งที่ขวางอยู่เล็กๆน้อยๆ ทำให้สภาวะในท่อนำไข่เหมาะแก่การปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่
  2. สารทึบรังสีแบบน้ำมันสามารถลดจำนวนของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (Macrophages) ซึ่งอสุจิจะถูกทำลายโดยกลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย (Phagocytosis) ด้วยคุณสมบัติของสารทึบรังสีแบบน้ำมันที่สามารถลดจำนวนของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันได้ จึงเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ดี
  3. สารทึบรังสีแบบน้ำมันสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ทำให้เกิดการเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ได้ (Uterine Natural Killer)


วิธีเตรียมตัวก่อนฉีดสีท่อนำไข่

สำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องการเข้ารับการฉีดสีท่อนำไข่ มีวิธีเตรียมตัวดังนี้

  • วันที่เหมาะสำหรับการฉีดสีท่อนำไข่ คือหลังหมดประจำเดือนประมาณ 2-7 วัน แต่ยังไม่ถึงช่วงวันไข่ใกล้ตก ที่สำคัญคือต้องมั่นใจว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์ ถ้ามีความสงสัยว่ามีการตั้งครรภ์ ต้องมีการตรวจเพื่อยืนยันก่อนเสมอ
  • งดมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ประจำเดือนหมด ไปจนถึงวันที่ฉีดสีท่อนำไข่
  • ไม่ควรมีโลหะติดตัว เนื่องจากการตรวจเป็นการใช้ X-ray ในการทำ
  • หากเคยมีประวัติ แพ้สารทึบรังสี หรือ Contrast media หรืออาหารทะเล ควรแจ้งแพทย์ก่อนเสมอ

ขั้นตอนการฉีดสีท่อนำไข่

โดยขั้นตอนการฉีดสีท่อนำไข่นั้นก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยทั่วไปจะเริ่มจาก

  1. แพทย์จะสอบถามประวัติเบื้องต้น ก่อนเริ่มในขั้นตอนต่อไป
  2. การฉีดสีท่อนำไข่ จะคล้ายการตรวจภายใน คือคุณผู้หญิงจะอยู่บนเตียงวางขาบนขาหยั่ง แพทย์จะใส่ Speculum ทางช่องคลอด เพื่อเปิดให้เห็นปากมดลูกได้ดีขึ้น
  3. แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณปากมดลูก จากนั้นจะสอดท่อเล็กๆ (Cannula) เข้าไปทางปากมดลูก แพทย์จะเอา Speculum ออก จากนั้นจะมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในมดลูกผ่านท่อเล็กๆ ซึ่งสารทึบรังสีนี้จะไหลไปในมดลูก และผ่านออกไปทางท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง แล้วไหลเข้าไปในช่องท้อง
  4. จากนั้นจะทำการ X-ray ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนท่าระหว่างการทำ
  5. เมื่อเสร็จสิ้นการฉีดสีท่อนำไข่แพทย์จะนำท่อเล็กๆออก
  6. หลังเสร็จสิ้น แพทย์อาจให้ยาแก้ปวด และยาเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม

คำถามที่พบบ่อย

ฉีดสีท่อนําไข่เจ็บไหม

การฉีดสีท่อนำไข่จะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่อาจจะมีอาการปวดหน่วงๆ จากแรงดันภายในมดลูกได้ แนะนำให้ทานยาแก้ปวดล่วงหน้าก่อนทำการตรวจ 1 ชั่วโมง

ฉีดสีท่อนําไข่อันตรายไหม

การฉีดสีท่อนำไข่ จะไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่อาจจะมีผลข้างเคียงหลังจากที่ทำ เช่น มีเลือดออกกะปริดกะปรอย อาการปวดท้อง หรืออาจเกิดการติดเชื้อ (แต่เกิดขึ้นน้อยมาก) เป็นต้น


ข้อสรุป

ฉีดสีท่อนำไข่ คือ การตรวจดูความผิดปกติภายในโพรงมดลูกและท่อนำไข่ เช่น ติ่งเนื้อในมดลูก การตีบตันของท่อนำไข่ หรือลักษณะรูปร่างที่ผิดปกติของโพรงมดลูก ที่ถือเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก ซึ่งขั้นตอนในการตรวจจะคล้ายกับการตรวจภายใน คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อาจจะมีอาการหน่วงๆเล็กน้อย

หลังตรวจอาจจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอย แต่ภายใน 24 ชม. ก็จะหายไป แต่ถ้าหากมีเลือดออกมาก มีตกขาวที่มีกลิ่น ควรรีบมาพบแพทย์เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ ทั้งนี้หากท่านไหนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ