Skip to content

ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ฮอร์โมนสำคัญในคนท้อง มีหน้าที่อะไร?


28 มีนาคม 2025
บทความ

ฮอร์โมน LH เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่อยากมีลูก แน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับประจำเดือน และการตั้งครรภ์ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบอย่างละเอียดว่าแท้จริงแล้วฮอร์โมนนี้มีหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วหากพบปัญหาฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ต้องทำอย่างไร

ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone)

ฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing hormone: LH) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่าโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) โดยฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง

หากไม่มีฮอร์โมนดังกล่าวจะไม่สามารถสืบพันธ์ุได้ ฮอร์โมนลูทิไนซิงในเพศหญิงจะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ ซึ่งจะมีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ ส่วนในเพศชาย ฮอร์โมนลูทิไนซิงจะกระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)


ฮอร์โมน LH : Luteinizing Hormone ทำหน้าที่อะไรบ้าง

ฮอร์โมน LH ในผู้หญิง

ในผู้หญิงฮอร์โมน LH จะช่วยควบคุมรอบเดือน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นไข่จากรังไข่ เรียกว่า การตกไข่ ระดับฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนถึงวันที่ไข่ตก

ฮอร์โมน LH ในผู้ชาย

ในผู้ชายฮอร์โมน LH จะช่วยให้ลูกอัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการผลิตสเปิร์ม โดยปกติระดับฮอร์โมน LH ในผู้ชายจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

ฮอร์โมน LH ในเด็ก

ระดับฮอร์โมน LH มักจะต่ำในวัยเด็ก และจะเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปี ก่อนเข้าวัยเจริญพันธุ์ ในเด็กผู้หญิงฮอร์โมน LH จะช่วยส่งสัญญาณให้รังไข่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่วนในเด็กผู้ชาย จะช่วยส่งสัญญาณให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

ฮอร์โมน LH สำคัญอย่างไรกับคนท้อง

ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ปล่อยไข่ให้พร้อมสำหรับการปฏิสนธิ โดยปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน LH ออกมาในปริมาณที่น้อย จนถึงระยะก่อนเวลาไข่ตก ฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเกิดการตกไข่ภายใน 12-36 ชม. ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชม. หลังจากตรวจพบว่าระดับฮอร์โมน LH เพิ่มขึ้น จะช่วยให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

การตรวจค่าฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone)

การทดสอบ LH ทำงานอย่างใกล้ชิดกับฮอร์โมนอื่นที่เรียกว่า FSH เพื่อควบคุมการทำงานของฮอร์โมนทางเพศ ดังนั้นการทดสอบฮอร์โมน FSH มักจะทำควบคู่ไปกับการทดสอบฮอร์โมน LH การทดสอบเหล่านี้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะทดสอบกับ ผู้หญิง ผู้ชาย หรือเด็ก

ในผู้หญิง การทดสอบเหล่านี้มักใช้เพื่อ

  • ช่วยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • เพื่อดูการตกไข่ว่าช่วงไหนคือช่วงเวลาที่คุณมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์มากที่สุด
  • หาสาเหตุประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาด
  • ยืนยันการเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งพอหมดประจำเดือนเท่ากับว่ารังไข่จะหยุดผลิตเซลล์ไข่และไม่สามารถมีลูกได้ มักจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป

ในผู้ชาย การทดสอบเหล่านี้มักใช้เพื่อ

  • ช่วยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • หาสาเหตุของจำนวนอสุจิน้อย
  • หาสาเหตุของความสนใจทางเพศต่ำ

ในเด็ก การทดสอบเหล่านี้มักใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยวัยเจริญพันธุ์หรือเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ล่าช้า

  • วัยเจริญพันธุ์ถ้าเริ่มก่อนอายุ 9 ในเด็กผู้หญิงและก่อนอายุ 10 ในเด็กผู้ชาย ถือว่าเร็ว
  • วัยเจริญพันธุ์ หากยังไม่เริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปีในเด็กผู้หญิง และเมื่ออายุ 14 ปีในเด็กผู้ชาย จะถือว่าล่าช้า



ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน LH

  1. พยาบาลจะซักประวัติของคุณแม่เบื่องต้นก่อน
  2. พยาบาลจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เสร็จแล้วพยาบาลจะพาไปพบแพทย์
  3. พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว ยาปฏิชีวนะที่ใช้ เคยมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซมไหม ประวัติโรคประจำตัวของคนในครอบครัว
  4. เจาะเลือด และนำไปตรวจ LH เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. รอผลตรวจ ประมาณ 1 ชั่วโมง


ผลตรวจฮอร์โมน LH

ค่าระดับฮอร์โมน LH ปกติโดยใช้หน่วยวัดมาตรฐานสากล (IU/L) มีดังนี้

  • ผู้หญิงในวัยก่อนหมดประจำเดือน : 5-25 IU/L
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน : 15.9-54.0 IU/L
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ น้อยกว่า : 1.5 IU/L
  • ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด : 0.7-5.6 IU/L
  • ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 20-70 ปี : 0.7-7.9 IU/L
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี : 3.1-34.0 IU/L

คำแนะนำในการดูแลระดับฮอร์โมน LH

การดูแลและปรับความสมดุลของฮอร์โมน LH จะต้องดูแลควบคู่ไปกับฮอร์โมนตัวอื่นๆ เช่น หากระดับ insulin สูงขึ้น ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมน LH สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเราควรดูแลความสมดุลของฮอร์โมนไปพร้อมๆกัน ซึ่งการดูแลความสมดุลของฮอร์โมน LH มีดังนี้

  • การออกกำลังอย่าสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มี Inositol การทาน Inositol จะช่วยลดระดับฮอร์โมน LH ให้ต่ำลง
  • รับประทานอาหารที่มี Omega 3 ไขมันโอเมก้า 3 เป็นองค์ประกอบสำคัญในอาหารทุกประเภท และมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงที่เป็น PCOS และยังช่วยลดระดับฮอร์โมน LH อีกด้วย

การปรับสมดุลฮอร์โมน LH สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์

แพทย์จะทำการตรวจวัดระดับฮอร์โมน LH เบื้องต้น เพื่อดูความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการมีบุตรยาก แพทย์จะทำการตรวจด้วยการ

  • ผู้ชาย จะตรวจวิเคราะห์จากน้ำอสุจิ ทดสอบพันธุกรรม ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนตัวอื่นๆร่วมด้วย
  • ผู้หญิง ตรวจวัดระดับฮอร์โมนจากการเจาะเลือด และการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก

การรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายต้องทำควบคู้ไปกับการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยหากต้องการที่จะเตรียมตัวในการมีลูกควรปฏิบัติดังนี้

  • งดทานของหวาน ร่างกายเราไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำตาลเพิ่มเลยในแต่ละวัน การที่เรากินแป้ง กินข้าว หรือผลไม้เราก็ได้รับน้ำตาลอยู่แล้วเพราะร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่ง “น้ำตาลคือภัยร้ายที่สุด” มันคืออนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ ทำให้แก่ ทำให้เซลล์ไข่เสื่อม และด้อยคุณภาพ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะ “กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน” ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งจะส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็ก
  • งดดื่มชา กาแฟ การดื่มคาเฟอีนส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลเสียต่อพัฒนาการของลูก และยังเสี่ยงต่อระบบหัวใจของลูกทำให้มีปัญหามากขึ้น ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการแท้งหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกอีกด้วย
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ บำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักและผลไม้ เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ข้าวโพด ส้ม และกล้วย มีกรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกช่วยป้องกันทารกจากโรคกระดูกไขสันหลังผิดปกติ ทานข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน เพื่อให้ได้แป้งเพียงพอ รวมถึงทานโปรตีนทุกมื้อ ส่วนธาตุเหล็กก็อย่าให้ขาด เพราะเป็นธาตุสำคัญซึ่งส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการทางสมองของลูก


คำถามที่พบบ่อย

การตรวจค่าฮอร์โมน LH เจ็บไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่

การตรวจฮอร์โมน LH จะเป็นการตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด ไม่เจ็บและไม่มีผลข้างเคียงหรือมีผลข้างเคียงน้อยจนถึงน้อยมาก

ก่อนตรวจค่าฮอร์โมน LH ต้องเตรียมตัวอย่างไร

เนื่องจากการตรวจฮอร์โมน LH เป็นการเจาะเลือดเพื่อไปตรวจและไม่ได้ใช้เลือดจำนวนมาก จึงไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก อาจจะแค่พักผ่อนให้เพียงพอ แล้วก็สามารถมาตรวจได้เลย

ข้อสรุป

ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) คือ ฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเพราะจะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการตกไข่ หากท่านใดอยากทราบว่าไข่จะตกในช่วงไหน สามารถซื้อที่ตรวจวัดระดับฮอร์โมน LH เพื่อดูระดับฮอร์โมนหากเพิ่มขึ้นแสดงว่าช่วงนั่นจะเป็นช่วงที่ไข่ตก และหากท่านใดอยากมีลูกให้รีบมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนั้นเพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกได้

ถ้าท่านใดลองมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมามากกว่า 1 ปีแล้วยังไม่สำเร็จ แสดงว่าท่านเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยหาแนวทางในการรักษา ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการตรวจภาวะผู้มีบุตรยากฟรี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story
บทความ

ทำ ICSI เด็กหลอดแก้วตรวจโครโมโซม NGS ดีไหม?

Read the story
บทความ

การทำ ICSI (อิ๊กซี่) กับ IVF คืออะไร? โอกาสสำเร็จ มีลูกได้จริงไหม?

Read the story
บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ