Skip to content

ทำความเข้าใจอารมณ์คนท้องในแต่ละไตรมาส พร้อมวิธีการรับมือ


27 มีนาคม 2025
บทความ

อีกเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับครอบครัวมือใหม่ คืออารมณ์คนท้อง ที่ถูกพูดถึงกันว่า ไม่ปกติ ฮอร์โมนเปลี่ยน และอาจจะสร้างความรำคาญใจให้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ โดยแท้จริงแล้วนั้น สาเหตุของปัญหานี้คืออะไร ในแต่ละครอบครัวควรรับมืออย่างไรบ้างเพื่อให้ผ่านปัญหานี้ไปด้วยกัน


อารมณ์คนท้อง

อารมณ์คนท้อง คือการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในเลือดจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยในการเตรียมร่างกายของคุณแม่สำหรับการตั้งครรภ์ แต่ฮอร์โมนนี้ก็สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของคุณแม่ได้ ทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนไหว หงุดหงิด หรือโกรธง่าย

คนท้องอารมณ์แปรปรวน เกิดจากอะไร

1. ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้อารมณ์ของคุณแม่แปรปรวน เช่น ขี้น้อยใจ เอาแต่ใจตัวเอง อ่อนไหว ไร้เหตุผล รวมถึงความกังวลในเรื่องของการตั้งครรภ์ จนเกิดอาการเครียดได้ง่ายและเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย

เนื่องจากร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูก คุณแม่อาจประสบกับอาการแพ้ท้อง ปวดเมื่อยตามร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง คุณแม่บางคนอาจรู้สึกไม่สวยและหงุดหงิด หลายคนอาจกลัวว่าเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก

3. สภาพจิตใจ

คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะมีสุขภาพจิตที่แย่ลง เกิดจากความเครียด การคิดมาก ความกังวลในเรื่องต่างๆ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไร หากอ้วนแล้วจะลดความอ้วนได้หรือไม่ หรือหากไม่สบายเจ็บป่วยจะทานยาได้หรือไม่ หากปวดท้องจะเป็นอะไรหรือไม่กับลูกน้อย ความกลัวความกังวลนี้จะก่อให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้นทำให้เกิดอาการเหนื่อย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ

4. ความอ่อนเพลีย

ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกไม่สบายตัวหรือความเครียดก็อาจทำให้คุณแม่ประสบปัญหาในการนอนระหว่างตั้งครรภ์ได้ทั้งนั้น การพักผ่อนไม่เพียงพอนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบอย่างมากต่อภาวะทางอารมณ์ของบุคคล

อารมณ์คนท้องไตรมาสที่ 1

ช่วงไตรมาสแรก ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของคุณแม่อย่างมาก รวมกับอาการแพ้ท้องที่เริ่มหนักขึ้นสำหรับคุณแม่บางท่าน ทั้งปวดหัว เวียนหัว อาเจียน หน้ามืด เป็นลม

พร้อมทั้งอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น หงุดหงิด น้อยใจ สำหรับคุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกอ่อนไหวง่าย ใครพูดกระทบกระเทือนใจก็ทำให้ร้องไห้ได้ ซึ่งบางคนก็อาจจะไม่มีอาการเช่นนี้


อารมณ์คนท้องไตรมาสที่ 2

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง ช่วงนี้สภาพอารมณ์ของคุณแม่เริ่มปรับเป็นปกติมากขึ้นประกอบกับอาการแพ้ท้องเริ่มเบาบางจนเข้าสู่ภาวะปกติ คุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและเริ่มปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

สิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้คุณแม่จะเริ่มสัมผัสได้แล้วว่า ลูกน้อยในครรภ์กำลังเจริญเติบโตและดิ้นได้แล้วทำให้คุณแม่มีความสุขและตื่นเต้นไปกับปฏิกริยาแปลกใหม่และมีความสุขที่เห็นเจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการที่ดี

ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจเกิดอาการไม่สบายเนื้อสบายตัว ปวดขา ปวดหลัง บางคนเริ่มมีอาการบวมที่ขาหรือเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ได้เหมือนกัน

ดังนั้น ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ หากได้รับการวินิจฉัยว่า ตั้งครรภ์ปลอดภัยไม่มีปัญหาใดๆ คุณแม่ควรออกกำลังกายเบาๆ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ เช่น เดินวันละ 30 นาที ว่ายน้ำ ฝึกโยคะ ก็สามารถช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้

อารมณ์คนท้องไตรมาสที่ 3

ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักกังวลกับการคลอดที่จะมาถึง ว่าจะคลอดแบบไหนดี จะต้องเตรียมตัวอย่างไร จะเจ็บมากไหม การคลอดจะปลอดภัยดีหรือเปล่า แล้วเจ้าตัวน้อยจะออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ครบ 32 หรือไม่ และเมื่อคลอดออกมาแล้วจะต้องเลี้ยงดูอย่างไร เจ้าตัวน้อยจะงอแงหรือเปล่า ซึ่งความกังวลต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้คุณแม่เครียดได้


ปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ (Depression during Pregnancy) คนท้องอาจเผชิญกับภาวะซึมเศร้าที่ทำให้มีอาการหลายรูปแบบ เช่น รู้สึกเศร้าหรือฉุนเฉียวง่ายนานหลายสัปดาห์หรืออาจยาวนานเป็นเดือน ไม่รู้สึกสนุกสนานกับสิ่งที่ชอบเหมือนเคย ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป รู้สึกผิด ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง หมดหวัง ขาดสมาธิ หรืออาจคิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ซึ่งโรคซึมเศร้าที่เกิดกับคนท้องอาจเป็นผลมาจากปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง เช่น คุณแม่ไม่ได้รู้สึกยินดีกับการตั้งครรภ์ของตัวเอง หรือมีความเครียดอย่างมากจากการทำงาน เป็นต้น

ภาวะวิตกกังวล คุณแม่บางคนอาจรู้สึกกังวลหรือกลัวว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งอาจมาจากหลายปัจจัย อย่างความคาดหวังเกี่ยวกับการเป็นแม่ที่ดี หรือความกังวลว่าตนอาจไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ โดยภาวะนี้อาจทำให้คุณแม่วิตกกังวลมากกว่าปกติ ควบคุมความกังวลไม่ได้ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

  • เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
  • ขาดคนดูแลจากรอบข้างระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
  • เคยสูญเสียลูกมาก่อน
  • วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารก
  • ตั้งครรภ์ตอนไม่พร้อม
  • มีปัญหาชีวิตคู่ เช่น หย่ากัน แยกกันอยู่

ข้อสรุป

จากข้อมูลทั้งหมดกล่าวคือ คนท้อง จะมีภาวะทางร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมาก รวมถึงทางด้านอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น หงุดหงิดง่าย ขี้น้อยใจ อารมณ์ขึ้นๆลงๆ จนทำให้คุณแม่บางท่านไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ สาเหตุที่ทำให้อารมณ์แปรปรวนคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มมากขึ้น

ซึ่งวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องควรจะให้คุณแม่ได้ทำกิจกรรมที่ชอบ ออกกำลังกายเบาๆ เปิดใจพูดคุยกับคนรอบข้างให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและยังช่วยทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ให้คงที่ได้อีกด้วย หากคุณแม่ท่านไหนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ