Skip to content

ตอบคำถาม การทำลูกแฝด อยากมีลูกแฝด มีวิธีอย่างไรบ้าง ?


01 เมษายน 2025
บทความ

การมีลูกแฝดสมัยก่อนคือความผิดปกติจากการแบ่งตัวของเซลล์ตัวอ่อนที่ไม่ปกติ แต่ในปัจจุบันคนนิยมมีลูกแฝดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี แน่นอนว่าเด็กแฝดมีความน่ารัก ตั้งครรภ์รอบเดียวได้ลูก 2 คน หรือในกรณีทางการแพทย์ที่รักษาผู้มีบุตรยาก มีความจำเป็นต้องใส่ตัวอ่อนหลายตัวเพื่อเพิ่มความตั้งครรภ์ก็เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เกิดแฝดได้ หลายๆคนอาจเคยสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่หากต้องการท้องลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ หรือมีตัวช่วยอะไรไหมที่สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด และต้องทำอย่างไรบ้าง

ลูกแฝด (Multiple Pregnancy)

การตั้งครรภ์แฝด (Multiple pregnancy) คือ การตั้งครรภ์ครั้งเดียวแต่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน หรือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เรียกว่า แฝดสอง หรืออาจจะเป็น แฝดสาม แฝดสี่ ตามจำนวนของทารกในครรภ์ แต่จะเรียกรวมกันว่า ครรภ์แฝด การตั้งครรภ์ลูกแฝดถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และในระยะหลังคลอด มีโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตอีกด้วย

ชนิดของการตั้งครรภ์ลูกแฝด

ลูกแฝดแท้

แฝดแท้ (Identical – monozygotic) เกิดจากไข่ 1 ใบ อสุจิ 1 ตัว ที่มีการปฏิสนธิกันและมีการแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนทีมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน จึงอาจเหมือนกันได้หลายอย่าง เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม รวมถึงกรุ๊ปเลือด ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลต่อรูปร่างลักษณะภายนอกให้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แฝดแท้ส่วนใหญ่มักจะเป็นแฝดที่มีเพศเดียวกัน

ลูกแฝดเทียม

แฝดเทียม (Fraternal – dizygotic) เกิดจากไข่ 2 ใบ อสุจิ 2 ตัว มาปฏิสนธิกันและแยกกันอยู่ในครรภ์ แล้วแยกตัวกันฝังอยู่ในมดลูก ทำให้แฝดเทียมอาจมีเพศ หน้าตา รูปร่าง และกรุ๊ปเลือดเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ แฝดเทียมจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเท่ากับพี่น้องที่เกิดในช่วงเวลาที่ต่างกันเท่านั้น แต่จะไม่เหมือนกันจนแยกไม่ออกแบบแฝดแท้

ข้อดี – ข้อจำกัดของการมีลูกแฝด

ข้อดีของการมีลูกแฝด

  • ตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูก 2 คน ไม่ต้องเสียเวลาตั้งครรภ์หลายรอบ
  • มีลูกแฝดจะทำให้เด็กๆมีเพื่อนเล่น อยู่ด้วยกันเหมือนเป็นทั้งเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง คอยช่วยเหลือกันและกัน คอยดูแลกัน
  • การมีลูกแฝดจะทำให้คุณสนุกและมีความสุขไปกับการจับลูกๆทั้งสองคนแต่งตัวเหมือนกัน

ข้อจำกัดของการมีลูกแฝด

  • มีค่าใช้จ่ายที่เยอะขึ้น ทั้งการซื้อของใช้ต่างๆยาวไปจนถึงค่าเรียนทุกอย่างจะต้องจ่ายคูณสอง
  • การท้องลูกแฝดจะมีความเสี่ยงมากกว่าการท้องลูกคนเดียวมากกว่าปกติ
  • เวลาของความเป็นส่วนตัวจะน้อยลง เพราะการมีลูกแฝดใช่ว่าเด็กๆจะตื่น นอน กิน หรือเล่นพร้อมกัน คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำกิจกรรมต่างๆเป็นสองเท่าตลอด ทั้งการอาบน้ำ แต่งตัว ป้อนนม ทานข้าว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดการตั้งครรภ์ลูกแฝด

  • ภาวะแท้งบุตร
  • ภาวะรกเกาะต่ำ เสี่ยงต่อการตกเลือดก่อนคลอด
  • เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และภาวะซีด
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
  • การคลอดธรรมชาติเป็นไปได้น้อยกว่าครรภ์เดี่ยว เพราะลูกแฝดอาจจะไม่อยู่ในท่าที่เหมาะต่อการคลอดเองตามธรรมชาติ
  • ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น การติดเชื้อหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ อัตราการเสียชีวิตของทารกมีมากกว่าครรภ์เดี่ยว
  • อาจมีอาการแพ้ท้องมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว

ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสได้ลูกแฝด

การตั้งครรภ์แฝดเกิดจากความผิดปกติของการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ และการแบ่งตัวของตัวอ่อน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายๆปัจจัย ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวเคยมีคนตั้งครรภ์แฝด ก็จะมีโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น การถ่ายทอดพันธุกรรมแฝดมักจะมาจากฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย
  • อายุของคุณแม่และจำนวนการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา ยิ่งคุณแม่อายุมากขึ้นหรือผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง ในแต่ละครั้งที่ไข่ตกก็จะตกในจำนวนที่มากขึ้น ทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์แฝดอีกด้วย
  • หยุดกินยาคุมกำเนิด เมื่อหยุดกินยาคุมหลังจากที่กินตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนที่เคยถูกหยุดไว้ก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง ทำให้มีโอกาสที่ไข่จะตกรอบละหลายๆใบ และทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดได้


อยากมีลูกแฝด ต้องทำอย่างไร

4 ตัวช่วยที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด มีดังนี้

  • นมวัว ในนมวัวจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนของเพศหญิง เมื่อดื่มนมวัวทุกวันอาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝดได้
  • ทานอาหารที่มีสังกะสี เพราะการทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีจะช่วยบำรุงให้อสุจิแข็งแรง อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี คือ หอยนางรม, เมล็ดฟักทอง, ถั่วลันเตา, เมล็ดธัญพืช, ผักใบเขียว เป็นต้น
  • มันเทศป่า (มันสำปะหลัง) มีคุณสมบัติที่ช่วยกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่และให้ไข่ตกมากกว่า 1 ฟอง
  • น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ เป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ช่วยเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝดอีกด้วย

แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้การันตีว่าจะทำให้ตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ 100% เพราะเป็นแค่ตัวช่วยที่ช่วยบำรุงเท่านั้น

ไม่มีเชื้อแฝด มีลูกแฝดได้ไหม

มีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยทำให้เกิดลูกแฝดได้ คือ การรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI เพราะการนำไข่และอสุจิมาปฏิสนธิภายนอกร่างกายมีอัตราการให้ลูกแฝดค่อนข้างสูง การปฏิสนธินอกร่างกายจะมีโอกาสให้ลูกแฝดอยู่ที่ 20-40% เลยทีเดียว

ข้อสรุป

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวช่วยและวิธีการบำรุงเท่านั้น หากคุณแม่ท่านไหนเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยากหรืออยากมีลูกแฝด แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายให้ละเอียดเพื่อดูความว่าสามารถตั้งครรภ์ลูกแฝดได้หรือไม่ หรือร่างกายพร้อมมากน้อยแค่ไหน แล้วแพทย์จะวางแผนในการรักษาให้ตามความเหมาะสมต่อไป

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ