Skip to content

ตรวจครรภ์เวลาไหนดีที่สุด ?


30 มีนาคม 2025
บทความ

การตรวจการตั้งครรภ์โดยทั่วไปนั้นสามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง ถือเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด แต่ก็เป็นวิธีที่มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเมื่อใช้งานจริง สำหรับคำถามยอดฮิตที่ว่า ที่ตรวจครรภ์มีกี่แบบ แบบไหนดีที่สุด ตรวจตอนไหนชัวร์ที่สุด และวิธีอ่านผลตั้งครรภ์ดูอย่างไร เราจะมาตอบทุกคำถามกันในบทความนี้


ท้องแน่ไหม จะรู้ได้อย่างไร ?

  • ตรวจครรภ์แบบไหนผลแน่ชัดที่สุด วิธีการตรวจการที่แม่นยำมากที่สุดจะเป็นการวิธีการเจาะเลือดตรวจค่าฮอร์โมน Beta-hCG โดยใช้เวลาในการรอผลประมาณ 1-2 ชั่งโมงเท่านั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลที่แน่ชัดและรวดเร็ว
  • ตรวจครรภ์ด้วยตัวเองช่วงเวลาไหนดีที่สุด แนะนำให้ตรวจช่วงเวลาเช้าตื่นนอนจะเป็นช่วงที่เห็นผลได้ดีที่สุดเนื่องจากเป็นปัสสาวะใหม่ แต่ทั้งนี้การตรวจช่วงเวลาอื่นๆก็ใช่ว่าจะเห็นผลไม่ดีเพราะปัจจัยสำคัญคือปัสสาวะที่ใหม่เท่านั้น
  • รู้ผลว่าตั้งครรภ์แล้วควรทำอย่างไร หลังจากทราบผลควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์เข้าตรวจร่างกายป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆต่อคุณแม่และทารกในครรภ์พร้อมฟังคำแนะนำการปฏิบัติตัวในช่วงของการตั้งครรภ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การตรวจครรภ์ (Pregnancy Test)

ที่ตรวจการตั้งครรภ์หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์ (Pregnancy Tests) คือ อุปกรณ์ทดสอบภาวะตรวจการตั้งครรภ์ที่สามารถเช็กได้ด้วยตัวเอง หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยหลักการทำงานของที่ตรวจการตั้งครรภ์ คือ การตรวจหาฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะเริ่มสร้างขึ้นจากรกหลังเกิดการปฏิสนธิได้ 6 วัน และฮอร์โมนชนิดนี้จะสูงมากในช่วง 8-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

โดยที่ตรวจการตั้งครรภ์สามารถใช้ได้กับทั้งการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติและการตั้งครรภ์ด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว การทำ ICSI และการฉีด IUI


ตรวจครรภ์ตอนไหน

คำถามยอดฮิตคือตรวจครรภ์ได้ตอนไหนผลถึงจะมีความแน่ชัดมากที่สุด

  • คนที่พยายามตั้งครรภ์โดยธรรมชาติและผู้อยู่ในกระบวณการตั้งครรภ์แบบช่วยเหลือทางการแพทย์ปกติแล้วตรวจการตั้งครรภ์ควรจะตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 14 วันเป็นอย่างน้อย
  • ผู้ที่รักษามีบุตรยากแบบการทำเด็กหลอดแก้ว การทำ ICSI ควรตรวจหลังการใส่ตัวอ่อนน 14 วัน
  • ผู้ที่รักษามีบุตรยากด้วยการฉีด IUI ควรตรวจหลังจากวันฉีดเชื้อ 21 วัน

โดยการตรวจการตั้งครรภ์สามารตรวจโดยซื้อชุดที่ตรวจครรภ์ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาชั้นนำทั่วไปได้ ไม่ควรตรวจเร็วเกิดไปเพราะหากตรวจการตั้งครรภ์เร็วเกินไปแล้วผลเป็นไม่ตั้งครรภ์ จะสร้างความเสียใจและความเครียดให้กับคนไข้ได้ ในบางรายผลอาจจะขึ้นช้าเพราะฉะนั้นควรตรวจการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่แพทย์กำหนดจะดีที่สุด


อาการที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์

  • ประจำเดือนขาด หากปกติแล้วประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ แต่จู่ ๆ ขาดหายไปอาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
  • คลื่นไส้และอาเจียน มักจะเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 1 เดือน แต่บางคนอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเลยก็ได้
  • คัดเต้านม เกิดจากเลือดไปเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้นจนทำให้มีอาการบวม ตึง และยังไวต่อความรู้สึกคล้ายช่วงมีประจำเดือน
  • ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างกายผลิตเลือดไปยังส่วนต่างๆ มากขึ้นจึงทำให้ไตขับของเสียออกจากร่างกายมากขึ้นด้วย
  • ท้องผูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง รวมถึงเกิดจากการขยายตัวของมดลูกทำให้ไปกดทับลำไส้
  • อารมณ์แปรปรวน จะมีอาการโกรธ หรือหงุดหงิดง่าย เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุล

วิธีตรวจครรภ์ ที่ตรวจครรภ์ มีกี่แบบ

วิธีตรวจตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง

  • ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Test Strip)

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม หรือ Test Strip จะมีลักษณะเป็นแผ่นสำหรับนำไปจุ่มลงในปัสสาวะ บางยี่ห้อจะมีถ้วยตวงขนาดเล็กมาด้วยเพื่อใช้ในการเก็บปัสสาวะ วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มเก็บปัสสาวะใส่ถาชนะแล้วจึงค่อยนำเอาแผ่นทดสอบไปจุ่มลงในปัสสาวะประมาณ 3 วินาที นำขึ้นมาตั้งทิ้งไว้รออ่านผลตรวจหลังจากนั้นประมาณ 5 นาที โดยควรอ่านวิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มได้ในฉลากของผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้อย่างถูกต้อง

  • ที่ตรวจครรภ์แบบหยด (Pregnancy Test Cassette)
  • ที่ตรวจครรภ์แบบดิจิทัล (Digital Pregnancy Test)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

ที่ตรวจครรภ์ที่สะดวกและได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ที่ตรวจครรภ์แบบปากกาหรือชุดตรวจครรภ์แบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests) เพราะใช้งานได้สะดวก มีอุปกรณ์ไม่เยอะ ส่วนที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มก็จะมีข้อดีคือมีราคาที่ถูกกว่าแบบอื่นๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ตรวจครรภ์แบบไหน ผลลัพธ์ที่ได้ก็มีความแม่นยำใกล้เคียงกันประมาณ 98% การตรวจครรภ์ด้วยการตรวจปัสสาวะ แนะนำว่าควรใช้ปัสสาวะหลังจากที่ตื่นนอนตอนเช้าจะให้ผลดีมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัสสาวะจากช่วงเวลาอื่นจะให้ผลที่ไม่ดี ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้ปัสสาวะจะต้องเป็นการปัสสาวะใหม่เท่านั้น


ข้อควรรู้ก่อนใช้ที่ตรวจครรภ์

ชุดตรวจครรภ์เมื่อซื้อมาแล้วสามารถเก็บเอาไว้ในอุณหภูมิห้องตามปกติได้ที่ไม่เกิน 30 องศา เก็บให้เลี่ยงจากแสงแดดและความชื้น เมื่อฉีกซองชุดตรวจครรภ์แล้วจะต้องใช้ตรวจทันที จึงจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ แต่ถ้าฉีกแล้วยังไม่มีการใช้งานก็สามารถเก็บเอาไว้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะหากชุดตรวจครรภ์โดนความชื้นก็จะทำให้ประสิทธิภาพที่มีลดลง อีกทั้งยังอาจทำให้การแสดงผลตรวจผิดพลาดได้อีกด้วย ในการทดสอบซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ควรเว้นระยะห่างจากการตรวจครั้งแรกอย่างน้อย 2 – 3 วัน ข้อแนะนำสำหรับการใช้ที่ตรวจครรภ์ ได้แก่

  • ก่อนใช้ชุดตรวจครรภ์ควรอ่านคู่มือการใช้งานก่อน เพื่อให้ทำการตรวจได้ถูกวิธีและได้ผลการตรวจที่คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
  • ควรสังเกตวันหมดอายุของชุดตรวจครรภ์ก่อนใช้งานเพื่อความแม่นยำ เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทดสอบอาจเสื่อมสภาพไปแล้ว หากใช้ชุดตรวจครรภ์ที่หมดอายุจะทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนได้
  • ควรใช้ที่ตรวจครรภ์หลังจากวันแรกที่รอบเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 7 วันเนื่องจากประจำเดือนอาจมาช้ากว่าปกติเนื่องจากความเครียดของเราเองก็ได้

การอ่านผลที่ตรวจครรภ์

ผลตรวจครรภ์บนที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 1 ขีด

เมื่อตรวจครรภ์ผ่านที่ตรวจครรภ์แบบตรวจผ่านปัสสาวะแล้วขึ้น 1 ขีด โดยขีดจะขึ้นที่ C เพียงอย่างเดียว ได้ผลแปลว่า ‘น่าจะไม่ตั้งครรภ์’ หมายความว่า ไม่ตั้งครรภ์ หรืออาจจะตั้งครรภ์แต่ยังตรวจไม่พบ

ผลตรวจครรภ์บนที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด

ตรวจแล้วขึ้น 2 ขีด หรือขึ้นเป็น 2 ขีดจางๆ โดยขีดจะขึ้นที่ C และ T คือ ได้ผลบวก แปลว่า ‘น่าจะมีการตั้งครรภ์’ หากขีดขึ้นที่ T จางๆ แนะนำว่าให้รออีกสักประมาณ 2 – 3 วันแล้วตรวจอีกครั้ง

ผลตรวจครรภ์บนที่ตรวจครรภ์ไม่ขึ้นขีดใดๆ

ตรวจแล้วไม่ขึ้นแถบสี หรือไม่ขึ้นสักขีด หรือขึ้น 1 ขีดบนตัว T คือ อ่านค่าไม่ได้ แปลว่า ‘ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เสียหรือที่ตรวจครรภ์’ อาจเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนของการผลิต หรือชุดทดสอบหมดอายุ ถ้าตรวจแล้วผลที่แสดงไม่ขึ้นสักขีดก็เท่ากับว่าการตรวจในครั้งนั้นใช้ไม่ได้ ดังนั้นจะต้องทำการตรวจใหม่อีกครั้ง


ผลตรวจครรภ์ แม่นยำแค่ไหน

ที่ตรวจครรภ์แต่ละยี่ห้อมีการยืนยันถึงความแม่นยำที่สูง อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ผลการตรวจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ เช่น

  • ช่วงเวลาในการตรวจเร็วเกินไป เนื่องจากปริมาณฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะยังไม่มากพอ จึงไม่สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์
  • ค่าความไวในการตรวจของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แต่ละยี่ห้อมีการตรวจหาค่าความไวต่อฮอร์โมน hCG ที่ต่างกัน ยิ่งค่าความไวในการตรวจจับฮอร์โมนมีน้อยจะทำให้ผลอาจเป็นลบได้
  • ความเข้มข้นของปัสสาวะ เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเจือจาง เนื่องจากการดื่มน้ำมากเกินไปก่อนการตรวจ อาจส่งผลต่อความเข้มข้นของฮอร์โมนในปัสสาวะได้เช่นกัน และทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง
  • การรับประทานยาบางประเภท ในยาบางตัวอาจมีส่วนผสมของฮอร์โมน hCG เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) หรือยาแก้แพ้ (Antihistamines) ซึ่งส่งผลต่อการตรวจได้เช่นกัน


ตรวจครรภ์ กี่วันรู้ผล

สำหรับการตรวจครรภ์ที่มีหลายหลายวิธี ผลการตรวจก็จะแตกต่างกันออกไป

  • ตรวจครรภ์ด้วยชุดตรวจสำเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อ ทราบผลเร็วที่สุด มีความสะดวก โดยผลออกหลังจากทำการตรวจ5-10 นาที
  • ตรวจครรภ์โดยการเจาะเลือดที่สถานพยาบาล ทราบผลหลังตรวจ 1-2 ชั่วโมงโดยต้องได้รับการอ่านผลและแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • ตรวจครรภ์โดยการตรวจ Ultrasound ผ่านช่องคลอด ทราบผลทันทีเมื่อตรวจ แพทย์จะทำการวิเคราะห์จากภาพที่ออกมา

โดยแนะนำว่าหากต้องการทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่อาจะเริ่มตรวจจากวิธีใกล้ตัวที่ง่ายที่สุดคือการซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากมีความกังวลหรือสงสัยในการตรวจที่ได้รับผลไม่ชัดเจน ควรเข้าไปที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อขอคำปรึกษาแพทย์อีกครั้ง

ข้อสรุป

โดยสรุปคือเมื่อตั้งครรภ์เราสามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเอง ที่ตรวจครรภ์มีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ แบบจุ่ม แบบตลับหรือแบบหยด แบบปากกาหรือปัสสาวะผ่าน และแบบดิจิทัล ซึ่งทั้ง 4 แบบมีความแม่นยำใกล้เคียงกัน การตั้งครรภ์ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการหรือสัญญาณเตือนต่างๆ ที่คล้ายกับการตั้งครรภ์ในระยะแรก เช่น ประจำเดือนไม่มา หน้าอกขยาย รู้สึกอ่อนเพลีย หรือปวดท้องน้อย

หากมีอาการเหล่านี้สามารถใช้ที่ตรวจครรภ์เพื่อตรวจดูการตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจสามารถเข้าไปที่สถานพยาบาลเพื่อตรวจขอตรวจเลือดดูการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน หากท่านไหนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ รวมถึงปัญหาผู้มีบุตรยาก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทาง Line : @beyondivf


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ