Skip to content

ตรวจอัลตร้าซาวด์ บอกอะไรได้บ้าง? ตรวจวินิจฉัยทารกแต่ละช่วงอายุครรภ์


30 มีนาคม 2025
บทความ

การอัลตราซาวด์ วิธีที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดเมื่อคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการตรวจด้วยวิธีนี้มีความปลอดภัยสูง และสามารถทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงไม่ได้มีประโยชน์เพียงการดูเพศและดูการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้น ยังสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ได้อีกด้วย

แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วการอัลตราซาวด์นั้นคืออะไร มีรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากการดูเพศลูกและดูรูปร่างหน้าตาของลูกแล้ว การอัลตราซาวด์ยังมีความสำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร หากมีการแพลนการอัลตราซาวด์ควรจะมีการเตรียมตัวอย่างไร


การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่มากกว่า 20,000 Hz คลื่นเสียงอัตราซาวด์นี้ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์


หลักการทำงานของอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasonography คือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน

หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นมา เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค ตรวจทารกในครรภ์ หรือเป็นเครื่องมือช่วยให้ศัลยแพทย์เห็นภาพร่างกายขณะผ่าตัดได้

ประเภทของการตรวจอัลตร้าซาวด์

1. อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ

การทำอัลตราซาวด์ 2 มิติ เป็นภาพตัดขวางทีละภาพตามแนวของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งออกไปในแนวระนาบ คือ มิติที่ 1 ความกว้าง มิติที่ 2 ความยาว โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพเงาขาวดำแสดงให้เห็นทารกในครรภ์ แต่ไม่สามารถมองเห็นหน้าทารกได้ชัดเจน คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่เข้าใจภาพและมองภาพไม่ออกตามที่แพทย์บอก


2. อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ

เครื่องอัลตราซาวด์ 3 มิติ จะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นจาก 2 มิติ คือ จะแสดงความกว้าง ความสูง และความลึก โดยที่หัวตรวจจะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งผ่านมาในมุมที่แตกต่างกัน แล้วรับสัญญาณคลื่นเสียงสะท้อนกลับออกมา ทำการประมวลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน ซึ่งภาพที่ได้ออกมาจะเป็นภาพพื้นผิวของทารก หรือเป็นภาพอวัยวะภายในทารก คุณพ่อคุณแม่จะเห็นทั้งรูปร่างและรูปทรงของทารกที่เหมือนจริงมากขึ้น รวมทั้งเห็นใบหน้าและรายละเอียดของทารกชัดเจนกว่าภาพถ่าย 2 มิติ ทำให้คาดเดาได้ว่าเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วจะมีหน้าตาอย่างไร และสามารถเข้าใจรูปภาพได้ง่ายขึ้นมากว่ารูปถ่าย 2 มิติ

3. อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

เครื่องอัลตราซาวด์ 4 มิติ จะคล้ายกับอัลตราซาวด์ 3 มิติ แต่มีการประมวลผลที่ดีขึ้น และเพิ่มมิติที่ 4 ขึ้นมา คือ “เวลา” นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นทารกในแบบภาพ 3 มิติแล้ว เครื่องตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติจะนำภาพ 3 มิติมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยใช้คลื่นสียง ทำให้รู้สึกเหมือนได้เห็นทารกในครรภ์แบบ Real Time

ซึ่งการอัลตราซาวด์แบบนี้จะช่วยให้เราสามารถศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นการหาว ดูดนิ้ว อ้าปาก ขยับนิ้ว หรือการยิ้ม ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ยังได้ข้อมูลและรายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความผิดปกติที่พื้นผิว เช่น ปากแหว่ง หรือเนื้องอกที่ผิวบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างได้


ข้อดี – ข้อจำกัดของการตรวจอัลตร้าซาวด์ครรภ์

ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ครรภ์

  • ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะทำการอัลตราซาวด์
  • เครื่องอัลตราซาวด์ยังสามารถจับภาพเนื้อเยื่ออ่อนได้ชัดเจนกว่าการเอ็กซเรย์
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถทราบเพศของลูกได้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หรือถ้าให้แม่นยำจะอยู่ที่ 16 สัปดาห์
  • ระยะเวลาในการตรวจครรภ์สั้นลง เนื่องจากสามารถมองเห็นร่างกายของทารกและอวัยวะต่างๆ ได้จากภาพที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
  • อวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้วมือ
  • สามารถเห็นพฤติกรรมของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน เช่น สามารถมองเห็นทารกกำลังหาว ดูดนิ้ว ยิ้ม กลืนน้ำคร่ำ กระพริบตา หรือขยับนิ้วมือ

ข้อจำกัดของการตรวจอัลตร้าซาวด์ครรภ์

  • ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูก หรือถูกกระดูกบังได้ เพราะกระดูกจะสะท้อนคลื่นกลับหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปยังอวัยวะต่างๆได้


ตรวจอัลตร้าซาวด์แต่ละช่วงอายุครรภ์ บอกอะไรได้บ้าง

ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 0-14 สัปดาห์)

การอัลตราซาวด์ครั้งแรกของการฝากครรภ์ จะเป็นการยืนยันว่าเป็นการตั้งครรภ์ในมดลูกหรือนอกมดลูก และใช้กำหนดอายุครรภ์ร่วมกับการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยวัดความยาวของตัวอ่อน จากภาพอัลตราซาวด์ และการตรวจดูอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานอย่างมดลูกและรังไข่ประกอบ ซึ่งภาพอัลตร้าซาวด์ท้องในแต่ละเดือนก็จะมีความสำคัญแต่ต่างกันออกไป

ยกตัวอย่างเช่น การอัลตร้าซาวด์ท้อง 1 เดือนจะทำให้เห็นว่าผนังมดลูกของคุณแม่มีความหนาขึ้นเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัว และในภาพอัลตร้าซาวด์ท้อง 1 เดือนนั้นจะยังไม่เห็นถุงการตั้งครรภ์ ในกลางไตรมาสที่ 1 หากมีการอัลตร้าซาวด์ รูปอัลตร้าซาวด์ 2 เดือนจะแสดงให้เห็นตัวของเด็กทารกที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เป็นต้น

ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 14-28 สัปดาห์)

ช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์จากภาพอัลตร้าซาวด์ โดยสามารถอัลตร้าซาวด์มดลูกดูความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆได้ ซึ่งภาพอัลตร้าซาวด์ แต่ละสัปดาห์ นั้นสามารถประเมินความสมบูรณ์ได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

  • กะโหลกศีรษะ และ สมอง
  • โครงสร้างใบหน้า ลูกตา เพดานปาก ริมฝีปาก
  • ทรวงอก ปอด โครงสร้างของหัวใจ เส้นเลือดหัวใจ และการไหลเวียนของเลือด
  • ช่องท้อง กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต กระเพาะปัสสาวะ
  • เพศ
  • โครงสร้างกระดูก กระดูกสันหลัง กระดูกแขน ขา มือ เท้า นิ้วมือและเท้า
  • ปริมาณน้ำคร่ำ
  • ประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์
  • ตำแหน่งการเกาะของรกและสายสะดือ

ความผิดปกติที่พบบ่อย เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ สมองผิดปกติ หัวใจพิการ รกเกาะต่ำ หากตรวจพบความผิดปกติแต่กำเนิดในช่วงนี้ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม โดยการเจาะน้ำคร่ำหรือสายสะดือทารก เพื่อตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม รวมถึงการได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด

ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์จนถึงคลอด)

ในช่วงไตรมาสที่ 3 การอัลตร้าซาวด์ท้องจะช่วยตรวจดูน้ำหนักของทารกเพื่อประเมินทั้งน้ำหนักก่อนคลอด ท่าของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ และภาพอัลตร้าซาวด์ยังสามารถยืนยันตำแหน่งการเกาะของรกว่ามีรกเกาะต่ำหรือไม่ เพื่อประเมินความเหมาะสมของวิธีการคลอด และตรวจดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ที่อาจตรวจพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 จะเห็นได้ว่าการอัลตร้าซาวด์ทารกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้

การเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ ก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์

  • การตรวจอัลตราซาวด์ในช่องท้อง ควรงดน้ำ งดอาหาร และยา ก่อนตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • การตรวจอัลตราซาวด์ในอุ้งเชิงกราน ผู้ตรวจจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะในตอนตรวจ แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ ก่อนทำการตรวจ เพราะน้ำในกระเพาะปัสสาวะจะเป็นตัวกลางส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานที่อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ

ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์

การตรวจครรภ์ด้วยการอัลตราซาวน์มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวน์ทางหน้าท้อง และการตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด โดยแต่ละวิธีมีขั้นตอนดังนี้

การตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องท้อง

  1. เริ่มต้นจากการให้คุณแม่นอนบนเตียง ทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องให้สะอาด
  2. ทาเจลสำหรับอัลตราซาวน์บนหน้าท้องในบริเวณที่ต้องการตรวจ เพื่อช่วยให้คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถผ่านได้ดียิ่งขึ้น
  3. เริ่มแตะหัวตรวจของเครื่องอัลตราซาวน์บนหน้าท้อง แล้วค่อยๆเลื่อนหัวตรวจไปตามตำแหน่งที่ต้องการ
  4. คลื่นเสียงที่ส่งผ่านหัวตรวจจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับและแปลผลเป็นภาพบนหน้าจอให้เห็นทันที
  5. แพทย์ผู้ตรวจจะคอยอธิบายภาพที่เห็น บอกผล และให้คำแนะนำกับคุณแม่
  6. โดยปกติแล้ววิธีนี้จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง

การตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอด

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรก (อายุครรภ์ประมาณ 7-12 สัปดาห์) ถุงการตั้งครรภ์ยังมีขนาดเล็ก ทำให้ภาพจากการอัลตราซาวน์ทางหน้าท้องไม่ชัดเจน หรือคุณแม่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จนทำให้การตรวจอัลตราซาวน์ทางหน้าท้อง เห็นผลไม่ชัดเจน สามารถตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดแทนได้

  1. โดยแพทย์จะสอดหัวอัลตราซาวด์เข้าไปในช่องคลอด (หัวอัลตราซาวด์จะมีลักษณะที่ต่างกับการอัลตราซาวด์หน้าท้อง)
  2. หัวตรวจจะเข้าใกล้ตำแหน่งของมดลูกและรังไข่ได้มากกว่าการตรวจทางช่องท้อง ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพของมดลูกและรังไข่ได้ชัดเจนกว่า

วิธีอ่านค่าอัลตร้าซาวด์

การอัตราซาวด์ทารกสามารถทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของทารกในทุก ๆ ด้าน และการอัลตร้าซาวด์แบบละเอียดก็จะช่วยพิจารณาถึงความผิดปกติบางอย่างของทารกในครรภ์ได้ด้วย ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม หลายครั้งที่อาจจะต้องได้ยินคุณหมออ่านค่าการอัลตร้าซาวด์ด้วยตัวย่อ คุณแม่มือใหม่จึงควรศึกษาเอาไว้เพื่อฟังคุณหมอได้ให้เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งวิธีอ่านค่าอัลตร้าซาวด์มีดังนี้

  • CRL = ความยาวตัวอ่อนจากหัวถึงก้น ใช้สำหรับคำนวณอายุครรภ์
  • BPD = ความกว้างของศีรษะทารก
  • HC = วัดเส้นรอบวงของศรีษะทารก
  • AC = วัดเส้นรอบท้องของทารก
  • FL = วัดกระดูกต้นขาของทารก
  • EFW = ค่าประมาณน้ำหนักของทารก
  • NT = ความหนาของเนื้อเยื่อต้นคอทารก ช่วยคัดกรองทารกดาวน์
  • EDD = วันครบกำหนดคลอดโดยประมาณ
  • EFW1 (HAD-1) = น้ำหนักโดยประมาณที่ได้มากจากสูตรที่ชื่อ Haddlock
  • EFW2 (SHEPARD) = น้ำหนักโดยประมาณที่ได้มากจากสูตรที่ชื่อ Shepard
  • FHS = ตรวจการเต้นของหัวใจด้วยคลื่นเสียง
  • Gestational sac = ถุงการตั้งครรภ์
  • Fetal cardiac pulsation = อัตราการเต้นของหัวใจทารก
  • Placental site = ตำแหน่งรก
  • Placental grading = ลักษณะเนื้อรก

การตรวจอัลตร้าซาวด์ครรภ์ ไม่เป็นอันตรายต่อทารก

ตั้งแต่มีการนำเครื่องอัลตราซาวด์มาใช้ในทางการแพทย์ ยังไม่มีรายงานถึงผลข้างเคียงที่เกิดจากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ การทำบ่อยหรือไม่บ่อยแค่ไหนไม่มีอันตรายใดๆ แต่อยู่ที่ความจำเป็นในการตรวจ ถ้าเป็นการตรวจครรภ์โดยทั่วไปมักตรวจกันเดือนละ 1 ครั้ง หรือถ้าเคสไหนที่ต้องดูแลใกล้ชิดก็อาจจะเป็น 2 สัปดาห์ครั้ง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของคนไข้แต่ละรายไป

แต่อย่างไรก็ดี ทุกอย่างมีข้อจำกัด โรคบางโรคก็ไม่สามารถตรวจได้ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ หรือบางครั้งท่าเด็กก็ไม่เอื้อให้การอัลตร้าซาวด์สามารถมองเห็นได้

คำถามที่พบบ่อย

หากตั้งครรภ์แล้วไม่ตรวจอัลตร้าซาวด์ได้ไหม

สามารถทำได้ แต่คุณพ่อคุณแม่จะไม่ทราบได้เลยว่าถุงการตั้งครรภ์มาฝังและเจริญถูกที่หรือไม่ และลูกน้อยมีความสมบูรณ์แข็งแรงแค่ไหน หรือมีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งไม่แนะนำเพราะเมื่อเกิดอันตรายขึ้นมาแพทย์จะไม่สามารถแก้ปัญหาหรือรักษาได้ทัน

คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่

ควรอัลตราซาวด์ตั้งแต่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพราะแพทย์จะอัลตราซาวด์เพื่อดูว่าถุงการตั้งครรภ์อยู่ถูกที่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาด เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรอันตราซาวด์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์เลย

อัลตร้าซาวด์บ่อยอันตรายไหม

ตั้งแต่มีการใช้เครื่องอันตราซาวด์ในทางการแพทย์มา ยังไม่พบผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้น ดังนั้นการอัลตราซาวด์ไม่ว่าจะบ่อยหรือไม่บ่อยก็ไม่ส่งผลอะไรต่อทารก

ตรวจอัลตร้าซาวด์ บอกความผิดปกติหรือความพิการของทารกได้ไหม

การตรวจอัลตราซาวด์สามารถดูความผิดปกติของทารกได้ และควรทำช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์

อัลตร้าซาวด์อายุครรภ์ 1 เดือน จำเป็นไหม

การอัลตร้าซาวด์ท้องตอนอายุครรภ์ 1 เดือนยังไม่จำเป็น เพราะยังไม่เห็นทารกที่เป็นรูปเป็นร่างสักเท่าไหร่ จะเห็นเพียงก้อนเล็ก ๆ ที่อยู่ในท้องเท่านั้น

ผลตรวจอัลตร้าซาวด์ผิดพลาดได้หรือไม่

ผลตรวจอัลตร้าซาวด์สามารถผิดพลาดได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากเครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับความเสียหาย หรือไม่ก็คุณหมอที่อัลตร้าซาวด์ให้อาจจะไม่ใช่แพทย์ผู้ชำนาญ ดังนั้นการเลือกสถานบริการและคุณหมอที่มีเอกสารรับรอง จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ตรวจอัลตร้าซาวด์แค่ช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ได้ไหม

การอัลตร้าซาวด์ควรเริ่มตรวจตั้งแต่ไตรมาสแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์ และป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นหากเลือกตรวจแค่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์อาจจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทัน


ข้อสรุป

การอัลตราซาวด์ คือ การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่มากกว่า 20,000 Hz จะใช้ในการตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจครรภ์ การอัลตราซาวด์มีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท คือ การอัลตราซาวด์แบบ 2มิติ 3มิติ และ 4มิติ

โดยที่หากต้องการเตรียมตัวที่จะอัลตราซาวด์ ควรงดน้ำ งดอาหาร และยา ก่อนตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือถ้าเป็นการอัลตราซาวด์ในอุ้งเชิงกราน จะแนะนำให้กลั้นปัสสาวะขณะตรวจ เนื่องจากน้ำในกระเพาะปัสสาวะจะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังอวัยวะอื่นๆ

สำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ แนะนำให้มาตรวจอัลตราซาวด์เพื่อยืนกันอายุครรภ์ โดยการวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงกระดูกก้นกบ ทำให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอน หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนสนใจ หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ