Skip to content

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คืออะไร สำคัญอย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์


27 มีนาคม 2025
บทความ

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ถูกเรียกว่า ฮอร์โมนเพศหญิง แน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับประจำเดือน และการตั้งครรภ์ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบอย่างละเอียดว่าแท้จริงแล้วฮอร์โมนนี้มีหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วหากพบปัญหาฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ต้องทำอย่างไร

ตอบคำถาม: ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คืออะไร?

  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเตรียมความพร้อมให้มดลูก ช่วยให้ผนังมดลูกมีความหนาขึ้น เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะมีการผลิตจากรังไข่ และจะเกิดการหลั่งฮอร์โมนหลังตกไข่
  • อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังมีหน้าที่สำคัญในการช่วยการควบคุมการทำงานพื้นฐานภายในร่างกาย ตั้งแต่ความรู้สึก ความหิว อุณหภูมิภายในร่างกาย เป็นต้น
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน ความต้องการทางเพศ ไปจนถึงการกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เติบโตอีกด้วย
  • การที่ร่างกายของผู้หญิงมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอยู่ในระดับไม่สมดุล โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ต่ำในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความเสี่ยงการแท้งบุตรได้


ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

Progesterone (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน และคอยควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย ความหิว การนอน ความรู้สึกต่างๆ รวมถึงความต้องการทางเพศ และการสร้างฮอร์โมนหลายชนิดรวมถึงควบคุมการหลั่งฮอร์โมนด้วย จึงมีความเกี่ยวข้องในการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำหน้าที่อะไร

โดยหน้าที่ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีดังนี้

  • โปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเยื่อบุมดลูกเพิ่มขึ้น เพื่อให้เยื่อโพรงมดลูกหนาและคงตัวพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ โปรเจสเตอโรนก็จะลดระดับลงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน
  • ขณะตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนจะยับยั้งมดลูกไม่ให้บีบตัว แต่เมื่อใกล้คลอดโปรเจสเตอโรนจะลดปริมาณลง มดลูกจึงบีบตัวเพื่อช่วยในการคลอดลูก
  • ขณะตั้งครรภ์โปรเจสเตอโรนจะช่วยปรับการทำงานของร่างกายเพื่อให้เหมาะกับทารกที่จะเติบโตอยู่ในครรภ์ เช่น กระตุ้นให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หายใจเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ช่วยให้ข้อต่อและเอ็นยืดขยายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและสรีระเมื่อทารกเติบโตในครรภ์
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานร่วมกับฮอร์โมนอินซูลิน โดยจะช่วยเพิ่มสะสมของไกลโคเจน

มีการทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยจะช่วยให้ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น จากกระบวนการทำงานร่วมกันที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะกระตุ้นการทำงานให้เกิดการสร้างท่อน้ำนมให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนกระตุ้นการสร้างถุงน้ำนมนั่นเอง

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนกับการตั้งครรภ์

ในช่วงที่ตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปกติมาก โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนจะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้น รวมทั้งทำให้โครงสร้างภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับทารกในครรภ์และการคลอดบุตร โดยมีผลต่อร่างกายคุณแม่ ดังนี้

  • ทำให้มดลูกขยายตัวและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของคุณแม่
  • กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน
  • มูกที่บริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นมาผสมกับไข่อีก
  • ช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมพร้อมกับการตั้งครรภ์
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
  • ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อกระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม
  • ป้องกันการหดหรือบีบตัวของมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่สมดุล

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงเกินไป

หากมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงเกินไปจะส่งผลกระทบดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการเจ็บเต้านม
  • ขนาดเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะส่งผลให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โมโหง่ายมากยิ่งขึ้น
  • สามารถเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นได้ในบางราย
  • นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
  • ในบางคนอาจเกิดอาการท้องอืด

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

  • ค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ก่อนการตั้งครรภ์

หากมีค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำก่อนตั้งครรภ์ ก็จะทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีหน้าที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อน และยังเป็นฮอร์โมนที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่เพิ่มการสะสมไกลโคเจน และยังป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างตั้งครรภ์

  • ค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ในระหว่างการตั้งครรภ์

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ถ้าค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ถือว่าอันตรายมากอาจถึงขั้นการตั้งครรภ์ล้มเหลวหรือเรียกว่า ‘แท้งบุตร’ นั่นเอง แต่โดยส่วนใหญ่ถ้าคุณหมอตรวจและพบว่าค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ คุณหมอจะให้รับประทานฮอร์โมน หรืออาจจะเป็นการเหน็บหรือการฉีด เพื่อให้ประคองไม่ให้เกิดการแท้งบุตรได้

ค่าฮอร์โมนไม่สมดุล ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ มีลูกยาก มีบุตรยาก คืออะไร สาเหตุ รักษาได้อย่างไร ตอบโดยแพทย์เฉพาะทาง


ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในเกณฑ์ปกติ

สำหรับค่าระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนโดยทั่วไป จะแตกต่างกันตามวันที่ไข่ตก โดยมีหน่วยเป็น ng/ml

  • วันแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวันก่อนไข่ตก ค่าฮอร์โมนจะอยู่ที่ 0.2-1.5 ng/ml
  • วันไข่ตก ค่าฮอร์โมนจะอยู่ที่ 0.8-3.0 ng/ml
  • หลังวันไข่ตกจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป ค่าฮอร์โมนจะอยู่ที่ 1.7-27 ng/ml

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ต่างกันอย่างไร

แม้ว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีการทำงานร่วมกัน แต่ฮอร์โมนทั้ง 2 นั้นมีความแตกต่างทั้งหน้าที่การทำงานไม่น้อยอยู่เหมือนกัน

โดยหลัก ๆ แล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการสืบพันธุ์ของเพศหญิง กล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นก็คือ จะควบคุมระบบสืบพันธุ์ทั้งหมดของเพศหญิง พร้อมทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานอื่น ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเกิดการหลั่งก่อนการตกไข่

แตกต่างจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะมีหน้าที่หลัก ๆ เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยเตรียมความพร้อมให้ภายในมดลูกอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ไปจนถึงเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและความต้องการทางเพศ โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเกิดการหลั่งหลังจากการตกไข่

นอกจากการทำงานและระยะเวลาในการหลั่งฮอร์โมนที่แตกต่างกันแล้ว ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดยังถูกผลิตจากแหล่งที่มาที่ต่างกันอีกด้วย โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกผลิตจาก Theca Interna Cell ในรังไข่ ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกผลิตจาก Luteal Cell ในรังไข่ ต่อมหมวกไต และรก (ขณะตั้งครรภ์)

วิธีปรับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สมดุล

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งได้ปลดปล่อยความเครียดอีกด้วย

ทานอาหารบำรุงฮอร์โมน

การเลือกทานอาหารที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนถือว่าเป็นการเพิ่มฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติและดีต่อสุขภาพอีกด้วย การรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีดังนี้

  • กล้วย จะมีวิตามินบี 6 ที่ช่วยในการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุล
  • ถั่ว ถั่วเต็มไปด้วยสารอาหาร เช่น สังกะสี แมกนีเซียม และวิตามินบี 6 ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน การลดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนโดยอัตโนมัติ สิ่งนี้ช่วยต่อสู้กับความเครียด
  • เมล็ดแฟลกซ์ เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยลิกแนน สามารถช่วยจับเอสโตรเจนส่วนเกินได้ และยังเป็นตัวช่วยในการเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายอีกด้วย
  • อาหารทะเล กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุล ตัวอย่างของอาหารทะเล เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ
  • สัตว์ปีก เช่น ไก่ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินบี 6 และกรดอะมิโนจำเป็นที่เรียกว่า L-Arginine ในภาวะเจริญพันธุ์ของเพศหญิงไนตริกออกไซด์มีบทบาทสำคัญในการปลูกถ่าย การสร้างเส้นเลือดใหม่ และการทำงานโดยรวมของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง อาร์จินีนช่วยในการผลิตไนตริกออกไซด์เพื่อทำหน้าที่ในการเจริญพันธุ์และการสืบพันธุ์ที่จำเป็น รวมถึงการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย
  • ข้าวสาลี โปรเจสเตอโรนมีความสำคัญในการป้องกันการมีประจำเดือนผิดปกติและอาการ PMS Wheatgerm เต็มไปด้วยสังกะสี, ซีลีเนียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีนวิตามินบี 6 และกรดโฟลิก ร่วมกันช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งอาจช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนและอาการ PMS
  • เมล็ดฟักทอง วิตามินซี, อาร์จินีน, สังกะสี, แมกนีเซียม และวิตามินอี เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างโปรเจสเตอโรน เมล็ดฟักทองอุดมไปด้วยสารอาหารทั้งหมดที่กล่าวมาพร้อมกับไฟโตสเตอรอลที่ช่วยในการปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนและป้องกันความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมอีกด้วย
  • ทานผลิตภัณฑ์จากนม ถึงแม้จะมีโปรเจสเตอโรนอยู่น้อย แต่จากงานวิจัยพบว่าหากรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูงวันละ 3 หน่วยบริโภค จะเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ดูแลรักษาสุขภาพจิตใจ

ทำจิตใจให้แจ่มใสเพื่อลดความเครียด เพราะความเครียดถูกจัดเป็นสิ่งที่ซับซ้อน พอ ๆ กับการรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพที่ดี ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพทางจิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน วิธีการช่วยให้คลายเครียดมีดังนี้

  • การผ่อนคลายด้วยการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการตึง
  • หากิจกรรมทำในสิ่งที่ชอบหรือสนใจ
  • ดูแลร่างกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นั่งสมาธิ หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวล

การใช้ยา

การใช้ยาเพื่อช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะใช้เพื่อรักษาภาวะขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ควบคุมภาวะไข่ตกและการมีรอบเดือน ต้องได้รับจากการที่แพทย์จ่ายให้เท่านั้น ชนิดของยาเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะมี ยาแบบรับประทาน ยาฉีด ยาเหน็บช่องคลอด มีวิธีการใช้ดังนี้

  • ยารับประทาน
  • จะใช้ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในการรักษาภาวะหมดประจำเดือน รับประทานยาวันละ 200 มิลลิกรัม 1 ครั้งก่อนนอน ติดต่อกัน 12-14 วันต่อเดือน
  • รักษาภาวะขาดประจำเดือนและภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ รับประทานยาวันละ 400 มิลลิกรัม ติดต่อกัน 10 วัน
  • ยาฉีดจะเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
    • รักษาภาวะขาดประจำเดือนและภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ให้ยาวันละ 5-10 มิลลิกรัม ติดต่อกัน 5-10 วัน จนกว่าจะถึง 2 วันก่อนมีประจำเดือน
    • รักษาภาวะการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ให้ยาครั้งละ 25-100 มิลลิกรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 15 ของการตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงสัปดาห์ที่ 8-16 อาจเพิ่มปริมาณยาได้ทุกวัน หากจำเป็น
  • ยาเหน็บช่องคลอด
    • รักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ใช้ยา 200 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง อาจเพิ่มปริมาณเป็นครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง โดยเริ่มใช้ในวันที่ 12-14 ของรอบเดือนต่อเนื่องไปจนเริ่มมีประจำเดือน ในบางกรณีอาจใช้ยาเหน็บทางทวารหนักด้วย
    • รักษาภาวะขาดประจำเดือนและภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ใช้ยาวันละ 45 มิลลิกรัม วันเว้นวัน ตั้งแต่วันที่ 15 ถึงวันที่ 25 ของรอบเดือน อาจเพิ่มปริมาณยาเป็น 90 มิลลิกรัม หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา

**ทั้งหมดนี้ควรใช้ยาตามคำสั่งของแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำบนเอกสารกำกับยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรซื้อมารับประทานหรือใช้เองโดยไม่มีการปรึกษาแพทย์


สรุป

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง กลไกและหน้าที่ในการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมีรายละเอียดและทำงานร่วมกันหลายส่วน ดังนั้น การดูแลสุขภาพกายรวมถึงสภาพจิตใจ นอนหลับพักผ่อน กินอาหารครบ 5 หมู่ ไม่เครียด ก็จะช่วยให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมดุล โอกาสตั้งครรภ์ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเรื่องการมีบุตร สามารถแอดไลน์ @beyondivf สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมในการมีบุตร


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story
บทความ

ทำ ICSI เด็กหลอดแก้วตรวจโครโมโซม NGS ดีไหม?

Read the story
บทความ

การทำ ICSI (อิ๊กซี่) กับ IVF คืออะไร? โอกาสสำเร็จ มีลูกได้จริงไหม?

Read the story
บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ