Skip to content

ใส่ตัวอ่อน 2 รอบ แต่สำเร็จในครั้งที่ 2 พร้อมตั้งครรภ์แฝด ด้วยวิธี ICSI ฝีมือหมอต้น Beyond IVF


24 มีนาคม 2025
เคสสำเร็จ

ใส่ตัวอ่อน 2 รอบ แต่สำเร็จในครั้งที่ 2 พร้อมตั้งครรภ์แฝด ด้วยวิธี ICSI ฝีมือหมอต้น Beyond IVF

คนไข้เคสนี้ไม่เคยมีประวัติการรักษามีบุตรยากที่ไหนมาก่อน แต่ด้วยช่วงอายุในวัย 37 ปี และระยะเวลาของการปล่อยมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมานานกว่า 1 ปี เลยทำให้ตัวเองมั่นใจว่าเป็นคนมีลูกยากแน่ๆ จึงเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษามีลูกยากผ่านทางเว็ปไซต์ จนมาเจอศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก Beyond IVF และได้ศึกษาวิธีการรักษาว่าตัวเองเหมาะกับการรักษาแบบไหน มีทั้งวิธี IUI การฉีดเชื้ออสุจิ และวิธีเด็กหลอดแก้ว แต่คนไข้อยากได้วิธีที่อัตราการตั้งครรภ์สำเร็จสูงที่สุด สามารถติดตามทุกกระบวนการรักษาได้ พร้อมกับการดูแลที่ใส่ใจทุกขั้นตอน คนไข้จึงมั่นใจที่ Beyond IVF เพราะจบทุกกระบวนการขั้นตอนในที่นี่ที่เดียว

เมื่อคนไข้เข้าพบปรึกษาคุณหมอต้นเพื่อฟังรายละเอียดเสร็จ คนไข้ก็ตัดสินใจได้ทันทีว่าจะต้องรักษาด้วยวิธี ICSI เท่านั้น เพราะด้วยช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นไม่อยากเสี่ยงมีลูกที่เกิดมามีความผิดปกติทางพันธุกรรม คือดาวน์ซินโดรม และวิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ลดโอกาสการแท้ง เลยเลือกวิธี ICSI พร้อมกับการตรวจ NGS คัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อดูความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ว่ามีแท่งโครโมโซมเกินมาหรือไม่ ก่อนที่จะย้ายตัวเข้าสู่โพรงมดลูก

หลังจากประจำเดือนมาในรอบเดือนถัดไป คนไข้ก็เริ่มเข้ามาฉีดยากระตุ้นไข่ทันที รังไข่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ดีมาก คุณหมอต้นสามารถเก็บไข่ได้ทั้งหมด 24 ใบ เหลือเป็น M ll (ระยะไข่สุกที่พร้อมปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน) ทั้งหมด 17 ใบ แต่น่าเสียดายที่ตัวอ่อนเติบโตถึงระยะ Blastocys (ระยะ 5 วัน) เพียงแค่ 5 ตัวอ่อน คนไข้พร้อมส่งตรวจโครโมโซมทั้งหมด ผลปรากฏว่าเหลือตัวอ่อน 3 ตัว สุดท้ายที่ได้ไปต่อผ่านเกณฑ์ไม่มีความผิดปกติ คนไข้ดีใจมากที่ยังพอมีหวังในการมีลูก ตัดสินใจใส่ตัวอ่อนในรอบเดือนถัดไป พร้อมเริ่มทานยาเตรียมโพรงมดลูกเพื่อรอรับลูกน้อยมาอยู่ในครรภ์คุณแม่

แต่เหมือนโชคยังไม่เข้าข้างหลังจากใส่ตัวอ่อนในครั้งแรก ทำให้ตัวอ่อนหลุดไม่เกิดการฝังตัวไม่ได้ไปต่อ เพราะเกิดจากความกังวลผสมกับความเครียดของคนไข้คาดหวังการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ จนฮอร์โมนแปรปรวนเกิดการเสียสมดุลไม่สามารถไปเลี้ยงให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้ ซึ่งในความโชคร้ายยังมีความโชคดีที่คนไข้ยังเหลือตัวอ่อน 2 ตัว ที่ยังสามารถย้ายในรอบต่อไปได้ แต่ในการใส่ตัวอ่อนรอบที่ 2 คุณหมอต้นขอปรับเทคนิคการรักษาให้คนไข้ใหม่แบบเฉพาะบุคคล (เทคนิคพิเศษ Beyond IVF) เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์มากที่สุด และคุณหมอได้แจ้งคนไข้ว่าการใส่ตัวอ่อนครั้งนี้ขอใส่พร้อมกัน 2 ตัว (เหตุผลเฉพาะทางการแพทย์)

การใส่ตัวอ่อนรอบที่ 2 ในเดือนถัดไปก็ผ่านไปด้วยดีคนไข้ผ่อนคลายมากขึ้น พร้อมปรับการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมอต้น และในทุกๆ 3 วัน คนไข้ต้องเข้ามาเจาะเลือดเพื่อเช็คฮอร์โมน หากเกิดฮอร์โมนเสียสมดุลอีกครั้งจะได้ปรับแก้ไขได้ทัน ผ่านไป 18 วัน ถึงรอบที่จะต้องตรวจฮอร์โมน hCG (ฮอร์โมนการตั้งครรภ์) ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจมากค่าฮอร์โมนขึ้นสูงเกิน 6000 mIU/ml ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาดตัวอ่อนอาจจะฝังพร้อมกันทั้ง 2 ตัว คุณหมอต้นขอตามต่ออีก 3 วัน เพื่ออัลตร้าซาวด์ดูถุงการตั้งครรภ์ว่าฝังเข้าผนังมดลูกมีกี่ถุง และแน่นอนว่าเป็นไปตามคาดคุณแม่ตั้งครรภ์ “ท้องแฝด”

คนไข้รักษาแบบด้วยวิธี ICSI เด็กหลอดแก้ว

เทคนิคพิเศษเพิ่มเติม

  • ICSI ( เทคนิคใช้กล้องชนิดพิเศษนำอสุจิเจาะเข้าเซลล์ไข่เพิ่มอัตราสำเร็จ)
  • NGS (ตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน)

ความรู้สึกที่คนไข้มีต่อ Beyond IVF

  • อยากขอบคุณคุณหมอต้นมากๆเลยค่ะที่ทำให้สมหวังกับสิ่งที่รอคอยมาตลอด
  • เจ้าหน้าที่ที่ Beyond IVF ดูแลดีมากๆติดตามสอบถามเราตลอดประทับใจค่ะ


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

เคสสำเร็จ

อายุไม่มากแต่เจอปัญหาฮอร์โมนเสื่อม ตั้งครรภ์ด้วยวิธี ICSI รักษาโดยคุณหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

อยากมีลูกคนที่ 3 ปล่อยมานานมากๆจนเข้าสู่ภาวะมีลูกยาก ตั้งครรภ์สำเร็จด้วยวิธี ICSI รักษาโดยหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

รีวิวฝากไข่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รีวิวเก็บไข่อย่างละเอียดทุกขั้นตอน

Read the story
เคสสำเร็จ

มีลูกยาก อยากมีลูก มาทำ ICSI กับคุณหมอต้นครั้งเดียวติดเลย ที่ Beyond IVF

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ