Skip to content

คนไข้รักษาด้วยวิธี ICSI พร้อมตรวจโครโมโซม เพราะคนในครอบครัวเคยมีประวัติลูกเกิดมาผิดปกติ


24 มีนาคม 2025
เคสสำเร็จ

คนไข้อยากรักษาด้วยวิธี ICSI พร้อมตรวจโครโมโซม เพราะคนในครอบครัวเคยมีประวัติลูกเกิดมาผิดปกติ

คนไข้เคสนี้ประสบปัญหาเรื่องการมีลูกยาก พยายามปล่อยมีลูกมานานหลายปีก็ยังไม่ตั้งครรภ์ และด้วยช่วงอายุของทั้ง 2 ท่านที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีความกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติของทารกที่จะเกิดมา แถมคนในครอบครัวของคนไข้ยังมีประวัติลูกเกิดมาแล้วมีความผิดปกติ เพราะมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติตอนอายุเยอะ เลยทำให้คนไข้มีความกังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

จากการหาข้อมูลทางเว็บไซต์ของคนไข้ จนมาเจอรีวิวเคสสำเร็จของ Beyond IVF ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาแนวทางการรักษาของคนไข้ จึงเข้ามาปรึกษากับคุณหมอต้นแบบเป็นการส่วนตัว เพื่อให้คุณหมอออกแบบการรักษาให้ โดยวิธีที่จะสามารถลดความเสี่ยงของทารกที่จะเกิดมาผิดปกติได้ คือ วิธี ICSI เด็กหลอดแก้ว และการตรวจคัดกรองโครโมโซม โดยการดึงเซลล์จากรกตัวอ่อนส่งตรวจ NGS (Next Generation Sequencing) เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นสาเหตุหลักของทารกที่เกิดมาผิดปกติจากพันธุกรรม ซึ่งการตรวจโครโมโซมยังช่วยลดปัญหาการที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว และการแท้งในช่วงไตรมาสแรกได้อีกด้วย

เมื่อประจำเดือนคนไข้มาวันที่ 2 ของรอบเดือน ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยวิธี ICSI ทัน แต่หลังจากเก็บไข่และเลี้ยงเป็นตัวอ่อนระยะ 5 วัน (ระยะ Blastocyst) คนไข้หลงเหลือตัวอ่อนจำนวน 5 ตัว เมื่อส่งตรวจโครโมโซมมีตัวอ่อนที่ผ่านเกณฑ์ไม่พบความผิดปกติใดๆ เพียง 1 ตัวเท่านั้น เป็นข้อสรุปได้ว่าหากคนไข้ไม่ได้รักษาด้วยวิธี ICSI พร้อมตรวจ NGS คัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน มีโอกาสที่ทารกเกิดมาผิดปกติจากพันธุกรรมได้ แต่ตัวอ่อนเพียงหนึ่งเดียวเป็น ”ตัวอ่อนทองคำ” ที่เกรดดีมากๆ พร้อมสำหรับการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก

แต่ก่อนย้ายตัวอ่อนคุณหมอต้นได้มีการปรับเปลี่ยนการรักษาให้กับคนไข้ (เทคนิคพิเศษ Beyond IVF) เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ได้มากที่สุดสำหรับตัวอ่อนเพียงหนึ่งเดียว หลังจากย้ายตัวอ่อนผ่านไป 18 วัน ถึงกำหนดการตรวจฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก ซึ่งจะสามารถทราบผลได้ทันทีว่ามีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่ และเป็นไปตามเป้าหมายค่าฮอร์โมน hCG ผ่านเกณฑ์มีโอกาสตั้งครรภ์ แต่เพื่อความแน่ชัดอีก 3 วัน คุณหมอต้นขอนัดอัลตร้าซาวด์เช็คดูถุงการตั้งครรภ์ และตัวอ่อนทองคำเพียงหนึ่งเดียวก็ไม่ทำให้ผิดหวัง “พบ 1 ถุง ตั้งครรภ์แน่นอน”

คนไข้รักษาแบบด้วยวิธี ICSI เด็กหลอดแก้ว

เทคนิคพิเศษเพิ่มเติม

  • ICSI ( เทคนิคใช้กล้องชนิดพิเศษนำอสุจิเจาะเข้าเซลล์ไข่เพิ่มอัตราสำเร็จ)
  • NGS (ตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน)

ความรู้สึกที่คนไข้มีต่อ Beyond IVF

  • คุณแม่ท่านไหนที่มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องพันธุกรรมของลูก แนะนำให้มารักษาที่ Beyond IVF เลยค่ะ เพราะคุณหมอต้นดูแลดีและใส่ใจการรักษาของคนไข้มากๆ ค่ะ
  • เจ้าหน้าที่ทุกๆ ท่านของศูนย์รักษา Beyond IVF เป็นกันเองและน่ารักมาก รวมถึงสถานที่ด้วยค่ะ ปลอดภัยได้มาตรฐาน รู้สึกสบายใจทุกครั้งที่มาที่นี่


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

เคสสำเร็จ

อายุไม่มากแต่เจอปัญหาฮอร์โมนเสื่อม ตั้งครรภ์ด้วยวิธี ICSI รักษาโดยคุณหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

อยากมีลูกคนที่ 3 ปล่อยมานานมากๆจนเข้าสู่ภาวะมีลูกยาก ตั้งครรภ์สำเร็จด้วยวิธี ICSI รักษาโดยหมอกิตติ

Read the story
เคสสำเร็จ

รีวิวฝากไข่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รีวิวเก็บไข่อย่างละเอียดทุกขั้นตอน

Read the story
เคสสำเร็จ

มีลูกยาก อยากมีลูก มาทำ ICSI กับคุณหมอต้นครั้งเดียวติดเลย ที่ Beyond IVF

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ