Skip to content

ตรวจอสุจิ ตรวจสเปิร์ม ทำอย่างไร เตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อการมีลูก


30 มีนาคม 2025
บทความ

ปัญหาการมีบุตรยาก อาจจะไม่ได้มาจากฝ่ายหญิงเสมอไป แต่กลับพบว่าฝ่ายชายก็เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากถึง 25% ส่วนการตรวจดูว่าปัญหามาจากฝ่ายชายจริงหรือไม่สามารถตรวจได้จาก การตรวจคุณภาพอสุจิ แล้วการตรวจอสุจิทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตรวจอสุจิ ตรวจสเปิร์ม คืออะไร ตรวจอะไรบ้างในน้ำเชื้อ

การตรวจอสุจิ คือ การตรวจดูความปกติและผิดปกติของอสุจิโดยนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง เพื่อประเมินความสามารถในการมีบุตรได้ของฝ่ายชาย หรือวิเคราะห์ปัญหาทางการสืบพันธุ์ โดยมากการตรวจคุณภาพอสุจิจะหาปริมาณของอสุจิ จำนวนตัวอสุจิ การเคลื่อนไหวของอสุจิ รูปร่างของตัวอสุจิ ตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิ ตรวจความแข็งแรงของอสุจิ และหาความผิดปกติของอสุจิ เพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยากจากฝ่ายชาย และแพทย์จะช่วยวางแผนเรื่องการมีบุตรเป็นลำดับต่อไป

อสุจิ คืออะไร

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจในการตรวจอสุจิ หรือตรวจสเปริ์ม อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า อสุจิคืออะไร อสุจิคือน้ำที่หลั่งออกมาเมื่อฝ่ายชายถึงจุดสุดยอด ในน้ำอสุจิประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญที่สุดในการสืบพันธุ์ของฝ่ายชายคือ อสุจิ นอกเหนือจากอสุจิก็จะประกอบไปด้วยน้ำหล่อลื่น อาหารของอสุจิ และน้ำ ซึ่งลักษณะที่ออกมาจะมีสีขาวขุ่น โดยการมองลักษณะทางภายนอกจะไม่สามารถตอบได้ว่า ในน้ำอสุจินั้น มีตัวอสุจิมากน้อยเพียงใด หรือฝ่ายชายนั้นๆ มีความสามารถในการสิบพันธุ์หรือไม่จนกว่าจะได้รับการตรวจอสุจิ หรือการตรวจสเปิร์ม


เมื่อไหร่ที่ควรตรวจอสุจิ

เมื่อที่มีความสงสัยเกี่ยวกับความแข็งแรงของอสุจิและต้องการทราบถึงภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับอสุจิหรือระบบสืบพันธุ์ เช่น การปล่อยมานานเกินกว่า 1 ปีแล้วยังไม่มีบุตร คู่สมรสสามารถเริ่มตรวจได้จากฝ่ายชายก่อนเพราะมีการเตรียมตัที่ค่อนข้างน้อย ไม่ต้องเจาะเลือดหรือตรวจใดๆที่ มีการเจ็บ

หรือสามารถตรวจในฝ่ายชายที่ทำหมันมาแล้ว และต้องการตรวจเช็คอีกครั้งว่าการทำหมันนั้นสมบูรณ์หรือไม่ ก็สามารถใช้การตรวจอสุจิ หรือการตรวจสเปิร์มได้เช่นเดียวกัน


วิธีตรวจอสุจิ มีขั้นตอนการตรวจอย่างไรบ้าง

การตรวจน้ำอสุจิเป็นการตรวจหาปริมาณ จำนวน การเคลื่อนไหว และความผิดปกติทางรูปร่างของตัวอสุจิ มีอยู่ 2 วิธี คือ

  • การตรวจดูด้วยตาเปล่า (Macroscopic Examination) เพื่อดูลักษณะทั่วไปของอสุจิ
  1. ความผิดปกติของสีน้ำอสุจิโดยรวมที่หลั่งออกมา
  2. ความขุ่นใสของน้ำอสุจิ
  3. การละลายตัว (การละลายตัวของน้ำอสุจิไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง)
  4. ปริมาตรของน้ำอสุจิ (น้ำอสุจิโดยปกติต่อการหลั่ง 1 ครั้งจะต้องมีปริมาณ 1.5 มิลลิลิตร ขึ้นไป)
  5. ความหนืด ความเป็นกรดด่างของน้ำอสุจิ
  • การตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination)
  1. จำนวนตัวอสุจิ อัตราการเคลื่อนไหว (ควรมีตัวอสุจิเคลื่อนที่อย่างน้อย 40%)
  2. อัตราการมีชีวิตของอสุจิ (การรอดของตัวอสุจิโดยปกติจะต้องรอด 58% ขึ้นไป)
  3. เปอร์เซ็นต์ของตัวอสุจิที่มีรูปร่างปกติ (ควรมีรูปร่างที่ปกติ 4% ขึ้นไป)
  4. เม็ดเลือดขาว (เม็ดเลือดขาวในน้ำอสุจิควรมีไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ถ้าเกินอาจมีการติดเชื้อ)
  5. เม็ดเลือดแดง (เม็ดเลือดแดงควรมีน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร หากพบมากกว่านี้อาจเกิดการติดเชื้อ)


เทคโนโลยีที่ใช้ตรวจอสุจิ

การตรวจอสุจิหรือตรวจสเปิร์ม ไม่ใช่การตรวจด้วยตาเปล่าแต่จะเป็นการตรวจด้วยกล้องและเทคโนโลยีการย้อมสีต่างๆ ซึ่งต้องทำด้วยนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางด้านนี้เท่านั้น โดยเทคโนโลยีต่างๆจะช่วยให้ตรวจได้ลึกและละเอียดมากขึ้น เช่น การตรวจจำนวนตัว การตรวจความสามารถมนการรอดชีวิต ลักษณะการเคลื่อนไหว การปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เป็นต้น


การตรวจเชื้ออสุจิ ต้องเตรียมตัวก่อนมาตรวจ อย่างไรบ้าง


  • งดการมีเพศสัมพันธ์หรือการหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 5-7 วันก่อนเข้ามาพบแพทย์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดก่อนทำการเก็บอสุจิ
  • ไม่สามารถใช้เจลหล่อลื่นและถุงยางอนามัยขณะเก็บอสุจิได้

ผลตรวจสเปิร์ม ดูอย่างไร บอกอะไรเราได้บ้าง

ผลการตรวจอสุจิว่าปกติหรือไม่ปกติ มีเกณฑ์กำหนดดังนี้
  • ปริมาณของน้ำอสุจิ (Volume)ต้องมากกว่า หรือ เท่ากับ 1.5 มิลลิลิตร (> 1.5 ml.)
  • ความเข้มข้นของตัวอสุจิ (Sperm Concentration ต้องมากกว่า หรือ เท่ากับ 15 ล้านตัว / มิลลิลิตร (> 15 M/ml.)
  • การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (Motility) ต้องมากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อยละ 40 (> 40%)
  • รูปร่างอสุจิ / ตัวอสุจิที่ปกติ (Morphology) ต้องมากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อยละ 4 (> 4%)
  • การรอดชีวิตของตัวอสุจิ (Viability) ต้องมากกว่า 58%
  • จำนวนเม็ดเลือดขาว (WBC) เม็ดเลือดขาวในน้ำอสุจิควรมีไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร
  • จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) เม็ดเลือดแดงควรมีน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร

เก็บเชื้ออสุจิอย่างไรให้ถูกต้อง

การตรวจความสมบูณ์ของอสุจิ จะต้องมีความระมัดระวังในการเก็บเชื้ออสุจิเพราะถ้าหากเกินความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจจะส่งผลต่อผลการตรวจอสุจิได้ เช่น การเตรียมตัวก่อนมาตรวจต้องงดหลั่งอสุจิ 5-7 วัน โดยไม่มากหรือไม่น้อยไปกว่านี้ หรือระหว่างการเก็บจะต้องเก็บโดยการช่วยตัวเองเท่านั้น ห้ามมีเพศสัมพันธ์ หรือห้ามใช้ถุงยางอนามัย โดยใส่ภาชนะที่ทางสถานพยาบาลเตรียมไว้ให้เท่านั้น


ข้อจำกัดในการเก็บอสุจิ

ข้อจำกัดในการเก็บอสุจิ
หากพูดถึงข้อจำกัดในการเก็บอสุจิก็จะเป็นผู้ที่ไม่สามารถเก็บอสุจิได้ เช่น ฝ่ายชายพิการ หรือว่า ไม่มีความสามารถในหารตื่นตัวของอวัยวะเพศจนส่งผลให้ไม่มีตัวอย่างของน้ำอสุจิที่สามารถส่งเพื่อไปตรวจคุณภาพอสุจิได้

อีกข้อจำกัดหนึ่งคือ ข้อจำกัดของสถานที่การเก็บ ฝ่ายชายจะต้องเดินทางเพื่อมาเก็บที่สถานพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถเก็บจากบ้านหรือสถานที่อื่นและนำมาให้เราได้ เพราะอาจส่งผลให้ อสุจิที่นำมาเกิดความเสียกายหรือตายได้ ทั้งนี้ฝ่ายชายจึงความเตรียมความพร้อมเพื่อมาเก็บเชื้อในสถานพยาบาล

ตรวจอสุจิราคาเท่าไหร่

ตรวจน้ำเชื้อราคาหรือที่เรียกว่าตรวจคุณภาพอสุจิราคาเท่าไหร่ ที่ Beyond IVF ราคาค่าตรวจคุณภาพอสุจิจะอยู่ที่ 1,500 บาท จะครอบคลุมทั้งตรวจปริมาณน้ำอสุจิ ความเข้มข้นของอสุจิ การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ รูปร่างของอสุจิ การรอดชีวิตของตัวอสุจิ จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเม็ดเลือดแดงในน้ำอสุจิ
ใช้เวลาในการรอผล 1-2 ชั่วโมง โดยมีการแจ้งผลผ่านนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทุกเคส


ตรวจอสุจิที่ไหนดี เลือกคลินิกในการตรวจอย่างไร

ถ้าถามว่าตรวจอสุจิ ตรวจสเปิร์มที่ไหนดี แน่นอนว่าการเลือกสถานที่เลือกผู้เชี่ยวชาญที่จำทำการตรวจถือว่าสำคัญมาก ที่ Beyond IVF นอกจากจะมีนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจคุณภาพอสุจิในห้องปฏิบัติการแล้ว

งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ และวิเคราะห์ผลของอสุจิได้อย่างละเอียดถีถ้วนแนะนำถึงแนวทางการแก้ไขเมื่อผลตรวจออกมาผิดปกติได้ สถานที่หรือห้องที่ใช้สำหรับเก็บอสุจิจะมีการฆ่าเชื้อทุกครั้งแบบเคสต่อเคส มั่นใจว่าสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรคแน่นอน ยังมีทีมนักวิทย์ฯกับพยาบาลที่ผ่านประสบการณ์และการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจอสุจิ

ตรวจอสุจิ รู้ผลในกี่วัน

เมื่อฝ่ายชายเข้ามาเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิแล้วจะรู้ผลภายใน 2 ชั่วโมงหลังเก็บเชื้ออสุจิ โดยที่ Beyond IVF ของเราจะแจ้งผลคนไข้ในช่วงเย็นโดยนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง

ตรวจอสุจิ ต้องเว้นระยะห่างในการตรวจกี่วัน

แพทย์แนะนำให้เว้น 1 อาทิตย์ในการตรวจอสุจิ และงดหลั่งอสุจิก่อนการตรวจครั้งถัดไป

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ