Skip to content

อาการไข่ตกเป็นอย่างไร รู้สัญญาณบ่งชี้ ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์


26 มีนาคม 2025
บทความ

ตอบคำถาม: อาการไข่ตก มีอะไรบ้าง

  • อาการไข่ตก คือ ช่วงเวลาที่เซลล์ไข่จะตกจากรังไข่ มายังสู่ปลายท่อนำไข่ ซึ่งไข่ที่ตกมายังปลายท่อนำไข่สามารถปฏิสนธิกับอสุจิและเกิดเป็นตัวอ่อนก่อนที่จะฝังตัวที่มดลูก
  • อาการไข่ตก มักจะมีสัญญาณบ่งชี้ เช่น มูกไข่ตก, เจ็บคัดเต้านม, ร่างกายอบอุ่นขึ้น, เกิดอารมณ์ทางเพศได้ง่าย, ปากมดลูกกว้างขึ้น, อาการปวดท้อง และมีประสาทสัมผัสดีขึ้น
  • อาการไข่ตกอาจเป็นอาการที่หลายคนไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นอาการที่อาจสังเกตได้ยากในบางราย
  • นอกจากอาการไข่ตกที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้ทราบช่วงเวลาไข่ตกแล้ว ‘การนับวันไข่ตก’ ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ทราบช่วงเวลาไข่ตกเช่นกัน โดยปกติไข่จะตกช่วงวันที่ 14-17 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือน

7 สัญญาณบ่งชี้ อาการไข่ตก


สำหรับผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นคุณแม่อาจทราบถึงวิธีที่ช่วยให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จขึ้นอย่างการนับวันไข่ตก แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอีกปัจจัยที่ทำให้เราทราบว่า ในช่วงนี้ร่างกายของเรากำลังอยู่ในช่วงไข่ตก ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณของไข่ตกมีอะไรบ้าง สังเกตได้จากอาการเหล่านี้

1. มูกไข่ตก ที่ปากมดลูก (Cervical mucus)

การเปลี่ยนแปลงของมูกในช่องคลอด มูกจะมีสีขาวใสเหมือนไข่ขาวดิบ มีความเหนียวสามารถยืดได้ยาว เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มูกในช่องคลอดมีความลื่นและใส เพื่อนำพาสเปิร์มผ่านเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ง่ายขึ้น

2. อาการเจ็บคัดเต้านม

ในช่วงที่ไข่ตก อาการไข่ตก หลัก ๆ เลยจะรู้สึกเจ็บหรือคัดเต้านม เต้านมอาจบวม หรือแข็งเป็นก้อน อาการปวดเจ็บคัดเต้านมจะมีลักษณะปวดตื้อ ปวดร้าว และปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งนี้อาการเจ็บคัดเต้านมไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเป็นช่วงที่ไข่ตกเสมอไป

3. อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น

อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นขณะที่มีอาการไข่ตก เนื่องจากในช่วงที่ไข่ตกร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสเจอโรนจะส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส โดยคุณสามารถสังเกตความแตกต่างของอุณหภูมิของร่างกายได้ด้วยการวัดอุณหภูมิในช่วงเช้าหลังตื่นนอน

4. มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ไข่ตกร่างกายจะส่งผลให้มีเลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น ทำให้มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้นและยังส่งผลให้รูปร่างของผู้หญิงดูเซ็กซี่ขึ้นอีกด้วย อารมณ์ทางเพศที่สูงขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่ง ‘อาการไข่ตก’ ที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง

5. ปากมดลูกกว้างขึ้น

ในช่วงที่ไข่ตก ปากมดลูกจะมีการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ขยายกว้างขึ้น และมีความอ่อนนิ่ม ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเพศหญิง ในการเตรียมพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการตั้งครรภ์

6. อาการปวดท้อง

อาการปวดท้องจากช่วงเวลาไข่ตก หรืออาการ Mittelschmerz เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ที่สุกในถุงรังไข่จะเคลื่อนตัวออกจากรังไข่สู่ปลายท่อนำไข่ ในขั้นตอนนี้ถุงรังไข่จะมีการปริแตกออกเพื่อให้ไข่ที่สุกตกมายังปลายท่อนำไข่ ในบางรายอาจรู้สึกปวดเชิงกรานได้ด้วยสาเหตุนี้

7. ประสาทสัมผัสทำงานดีขึ้น

ในบางคนจะมีประสาทสัมผัสที่ไวขึ้นไม่ว่าจะเป็น รับรู้กลิ่น รับรู้รสชาติ ได้ไวขึ้น แต่ในบางคนอาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง

ไข่ตก หรือ วันไข่ตก ของคุณผู้หญิงคืออะไร

  • วันไข่ตกคืออะไร

ไข่ตก คือ ภาวะของเซลล์ไข่ที่พร้อมสำหรับการปฏิสนธิหลุดออกจากถุง หรือตกออกจากถุงที่อาศัยอยู่ในรังไข่ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงมีการเรียกลักษณะที่เกิดขึ้นนี้ว่า ไข่ตก

วันไข่ตก คือ กลไกธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยปกติแล้ววันไข่ตกจะอยู่ในช่วงวันที่ 11-21 ของรอบเดือน (นับวันที่มีประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1)

ซึ่งวันที่ไข่ตกคือวันที่ไข่ใบที่สุกที่สุดออกมาจากรังไข่ไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่ คนที่อยากมีลูกจึงมักเช็ก อาการไข่ตก เพื่อที่จะได้มีโอกาสมีลูกได้มากขึ้น ดังนั้นคนที่อยากมีลูกควรจะสังเกตอาการต่าง ๆ เพื่อให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จมากขึ้น

  • ไข่สุกคืออะไร

ไข่สุก คือ ไข่ที่พร้อมปฏิสนธิกับอสุจิ เป็นระยะที่สมบูรณ์ที่สุด และช่วงไข่สุกที่จะให้โอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด จะเป็นช่วงประมาณ 14 วันนับจากประจำเดือนวันแรก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการไข่ตก

อาการไข่ตก 2 ใบต่างจากไข่ตกปกติหรือไม่

ไข่ตก 2 ใบเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นบางครั้ง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นขณะที่ไข่ตก 2 ใบจะไม่แตกต่างจากไข่ตก 1 ใบแต่อย่างใด แต่การที่มีไข่ตก 2 ใบและสามารถปฏิสนธิได้พร้อมกันทั้ง 2 ใบจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดเทียมได้

อาการไข่ตกแต่ไม่มีมูกใส ผิดปกติหรือไม่

การสังเกตมูกไข่ตกเป็นเพียงแค่การประเมินร่างกายเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะการตกของไข่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะมูกไข่ตกอาจจะมาน้อยจนไม่ออกมาให้เราเห็นหรือไม่ทันสังเกต

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน

เมื่อไข่ตกออกจากถุงรังไข่และผ่านมาที่ท่อนำไข่ จนผ่านมดลูกไปนั้นจะมีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อคู่รักมีเพศสัมพันธ์ในเวลาดังกล่าวจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด ในหลายคู่รักที่อยากมีลูก อาจใช้แผ่นตรวจ LH ช่วยในการดูว่า วันไหนคือวันที่ไข่ตกอย่างแท้จริง ซึ่งมีความแม่นยำกว่าการนับวันไข่ตกหรือสังเกตอาการไข่ตก

อาการไข่ตกมีกี่วัน

อาการไข่ตกอาจดำเนินไปประมาณ 1 อาทิตย์ เพราะฮอร์โมนจะมีความเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง ซึ่งการเกิดอาการไข่ตกไม่สามารถระบุเจาะจงได้ว่าวันที่ไข่ตกเป็นวันไหนอย่างแน่ชัด เพราะฉะนั้นวันไข่ตกไม่สามารถประเมินได้จากอาการใดอาการหนึ่งแต่อาจจะสามารถดูได้แค่คร่าว ๆ เพื่อเตรียมตัวในการวางแผนมีบุตร


สรุป

สำหรับคนที่อยากมีลูกนอกจากการนับวันไข่ตกแล้ว คุณผู้หญิงยังสามารถสังเกตุอาการไข่ตกที่เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้ถึงวันแล้วในช่วงไข่ตกโดยหากต้องการความแม่นยำเพิ่มเติม ควรใช้แผ่นตรวจไข่ตกตามร้านขายยาในช่วงไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสสูงที่สุด เมื่อมีการทำกิจกรรมมีเพศสัมพันธุ์ได้ถูกช่วงถูกวันก็จะเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ หรือถ้าต้องการมีลูกโดยที่ไม่ต้องรอลุ้นว่าจะติดไหมหรืออยากจะมีลูกในช่วงนั้นแบบชัวร์ๆ เมื่อคิดว่าตัวเองถึงช่วงไข่ตกสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่อาการเบื้องต้นจากการคาดเดาเท่านั้น ไม่ได้รับประกันว่าคือวันไข่ตก 100% หรือในผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติก็ไม่แนะนำให้สังเกตุเป็นเวลานาน ให้ลองเปลี่ยนไปใช้แผ่นเทสไข่ตกแทน

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ