Skip to content

เป็นไทรอยด์ มีลูกยากจริงไหม?


01 เมษายน 2025
บทความ
1

เป็นไทรอยด์ มีลูกยากจริงไหม?

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแต่ไม่มีอาการ (Subclinical Hypothyroidism)

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแต่ไม่มีอาการ เป็นภาวะที่ตรวจพบการทำงานของต่อมไทรอยด์เริ่มทำงานน้อยลงผิดปกติ คือ ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ยังคงเป็นปกติ (T3 และ T4) แต่ระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่มากระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) จะสูงกว่าปกติ โดยที่คนไข้ไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น ภาวะนี้จะตรวจพบจากการตรวจเลือดเท่านั้น โดยค่าเลือดฮอร์โมนไทรอยด์เองจะปกติ (Free T3 and Free T4) แต่ฮอร์โมน TSH จะสูงกว่าปกติ โดยเกณฑ์อยู่ที่น้อยกว่า 2.5 mIU/L แต่ในสตรีตั้งครรภ์ ค่าปกติจะแตกต่างกันตามอายุครรภ์ คือที่ไตรมาสแรก ควรจะน้อยกว่า 2.5 mIU/L ไตรมาสสอง น้อยกว่า 3mIU/L และ ไตรมาสสาม น้อยกว่า 3.5mIU/L


ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแต่ไม่มีอาการ กับภาวะมีบุตรยาก

ยังไม่มีข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันชัดเจน แต่ในคนไข้กลุ่มนี้ เมื่อตั้งครรภ์ก็ควรมีการตรวจติดตามเป็นระยะ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโรคอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป


สรุป

การตั้งครรภ์โดยที่คุณแม่มีปัญหาเรื่องไทรอยด์ ถ้าไทรอยด์ต่ำ ส่วนใหญ่ตัวโรคมักจะต้องรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ซึ่งผู้ที่มีปัญหาที่ไทรอยด์ต่ำตั้งเเต่แรก อาจมีผลกระทบต่อการตกไข่ และให้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเป็น ไทรอยด์ต่ำหรือสูงอาจส่งผลให้มีบุตรยากได้ โดยต้องพิจารณาก่อนว่าหากไทรอยด์สูง ตอนนี้รักษาอยู่ในขั้นตอนไหน อาการของโรคอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วหรือยัง ทั้งนี้ถ้าทำการรักษาอย่างต่อเนื้อง และกินยาสม่ำเสมอ จนสามารถควบคุมระดับไทรอยด์ให้เป็นปกติดีแล้ว ส่วนมากไข่จะสามารถตกได้ตามปกติ จะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อสามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว ควรได้รับการดูเเล และการฝากครรภ์โดยสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับอายุรเเพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคไทรอยด์ เพื่อพยายามรักษาค่าฮอร์โมนไทรอยด์ให้ปกติ จะช่วยป้องกันภาวะเเทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ เช่น แท้งง่าย ภาวะทารกตัวเล็ก ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ทารกอาจมีภาวะไทรอยด์ต่ำหรือสูงได้

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ