Skip to content

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ควรซาวด์ตอนกี่เดือน บอกอะไรได้บ้าง?


01 เมษายน 2025
บทความ

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ เป็นวิธีที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเลือกตรวจเพื่อได้เห็นหน้าลูกน้อยและการตรวจด้วยวิธีนี้ยังมีความปลอดภัยสูง การตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ ไม่ได้ใช้เพื่อดูเพศหรือดูการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้น ยังสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งคุณแม่หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ นั่น นอกจากจะดูใบหน้าของลูกแล้วยังสามารถบ่งบอกอะไรได้อีก และเข้าตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์กี่เดือน

การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ (4D Ultrasound)

อัลตราซาวด์ 4 มิติ คือ นวัตกรรมใหม่ของการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งเครื่องจะทำการส่งคลื่นเสียงอัลตราซาวด์ไปที่หัวตรวจ แล้วสะท้อนภาพกลับออกมาบนหน้าจอเป็นภาพ 3 มิติ ที่มีความลึกของภาพทำให้เห็นภาพทารกเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น

โดยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ 4 มิติ สามารถทำให้เราเห็นพฤติกรรมของทารกในครรภ์ และเห็นความเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การยิ้ม อ้าปาก ดูดนิ้ว ขยับแขนขยับขา ได้อย่างชัดเจน


อัลตร้าซาวด์ คืออะไร?

อัลตร้าซาวด์ คือ การตรวจดูครรภ์ที่ใช้คลื่นความถี่สูง โดยคลื่นความถี่จะทำหน้าที่สะท้อนไปยังอวัยวะของเด็กในครรภ์แล้วส่งเสัญญาณออกมาเป็นภาพทารกน้อย การอัลตร้าซาวด์สามารถช่วยคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ ซึ่งในสมัยนี้การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะได้รับความนิยมสุดที่สุด เพราะผลของภาพทารกที่ได้ออกมาจะสมจริงกว่าการอัลตร้าซาด์แบบอื่น ๆ

หลักการทำงานของอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

เครื่องอัลตราซาวด์ 4 มิติ จะทำงานโดยการส่งคลื่นเสียงอัลตราซาวด์ไปยังหัวตรวจ ผ่านผิวหนังลงไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกาย แล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นภาพให้เห็นผ่านทางหน้าจอ โดยร่างกายของแต่ละคนจะรับคลื่นอัลตราซาวด์ไม่เท่ากัน จะทำให้การสะท้อนภาพออกมาและความชัดเจนแตกต่างกัน

เปรียบเทียบอัลตร้าซาวด์ 4 มิติกับอัลตร้าซาวด์แบบอื่น

การอัลตร้าซาวด์แบบ 2 มิติ

การอัลตราซาวด์ 2 มิติ เป็นการส่งคลื่นเสียงที่ทำให้ภาพแสดงออกมาในแนวราบ ตามคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพขาวดำ โดยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ 2 มิติ จะใช้ตรวจการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ดูการเต้นของหัวใจ และดูตำแหน่งของรก

การอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติ

การอัลตราซาวด์ 3 มิติ จะมีความชัดและความละเอียดของภาพมากกว่าการอัลตราซาวด์ 2 มิติ โดยจะส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจในแนวราบ ซึ่งความชัดของภาพจะคล้ายกับภาพจริง จะเห็นผิวของทารก เห็นรูปร่างของทารกเหมืองจริงมากยิ่งขึ้น

การอัลตร้าซาวด์แบบ 4 มิติ

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ เป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังหัวตรวจ และสะท้อนภาพกลับมาแสดงผลที่หน้าจอ การแสดงผลที่หน้าจอจะแสดงภาพออกมาแบบ 3 มิติ มีความลึกของภาพ ทำให้ภาพของทารกดูเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น เครื่องตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ ยังสามารถเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพไว้แล้วนำมาแสดงผลต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง


ข้อดีของการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

  • ได้เห็นพฤติกรรมและพัฒนาการต่างๆของทารกได้อย่างชัดเจน เช่น การยิ้ม ดูดนิ้ว ขยับแขน ขยับขา
  • ได้เห็นอวัยวะภายนอกของทารกได้อย่างชัดเจนกว่าการตรวจอัลตราซาวด์แบบ 2 มิติ
  • ใช้ดูความสมบูรณ์ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ควรทำตอนกี่เดือน

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ แพทย์จะแนะนำให้อัลตราซาวด์ได้ตั้งแต่ อายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์ เพราะในช่วงเสลาอายุครรภ์ดังกล่าวจะช่วยให้เห็นหน้าทารกได้อย่างชัดเจนเพราะหากการอัลตราซาวด์ 4 มิติก่อนหน้าอายุครรภ์ที่สมควรจะเห็นไม่ชัดเจน หรือหากอายุครรภ์มากเกินไปก็เห็นไม่ชัดเจนเช่นกันเพราะเด็กเริ่มกลับหัวเตรียมคลอด แต่หากต้องการอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศลูก สามารถอัลตราซาวด์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 19-24 สัปดาห์

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ บอกอะไรได้บ้าง

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ ไม่ได้ใช้อัลตราซาวด์เพื่อให้เห็นหน้าลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เกิดขึ้นของทารกในครรภ์ รวมถึง

  • ดูมือ แขน ขา เท้า นิ้ว
  • โครงสร้างของกระโหลกศีรษะและสมอง
  • ตำแหน่งรก สายสะดือ ปริมาณน้ำคร่ำ
  • ดูหัวใจ การไหลเวียนเลือดของทารก
  • ดูกระดูกสันหลัง กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ไตของทารก
  • อวัยวะต่างๆบนใบหน้าของทารก
  • เพศของทารก
  • การเจริญเติบโตของทารก
  • ตำแหน่งของทารก

ข้อควรรู้ก่อนอัลตราซาวน์ 4 มิติ

ในปัจจุบันนี้เครื่องอัลตร้าซาวด์มีการพัฒนาไปอย่างมาก จากเครื่องอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ สู่เครื่องอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ทำให้การตรวจวินิจฉัยของแพทย์มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ข้อควรรู้ก่อน อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ มีดังนี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 สามารถอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ทำให้สามารถประเมินวันคลอดได้ ช่วยในการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม ตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ตำแหน่งของทารกในครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำ และความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจทำเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ในการการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 3 หรือในช่วงอายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์
  • การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติสามารถตรวจการเจริญเติบโตทางร่างกายทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน ตรวจความแข็งแรงและความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น มือ เท้า แขน เป็นต้น ซึ่งนั่นก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้


การเตรียมตัวก่อนอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

การตรวจอัลตราซาวด์ในอุ้งเชิงกราน ผู้ตรวจจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะในตอนตรวจ แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ ก่อนทำการตรวจ เพราะน้ำในกระเพาะปัสสาวะจะเป็นตัวกลางส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกรานที่อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

  • เริ่มต้นจากการให้คุณแม่นอนบนเตียง ทำความสะอาดบริเวณหน้าท้องให้สะอาด
  • ทาเจลสำหรับอัลตราซาวน์บนหน้าท้องในบริเวณที่ต้องการตรวจ เพื่อช่วยให้คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถผ่านได้ดียิ่งขึ้น
  • เริ่มแตะหัวตรวจของเครื่องอัลตราซาวน์บนหน้าท้อง แล้วค่อยๆเลื่อนหัวตรวจไปตามตำแหน่งที่ต้องการ
  • คลื่นเสียงที่ส่งผ่านหัวตรวจจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับและแปลผลเป็นภาพบนหน้าจอให้เห็นทันที
  • แพทย์ผู้ตรวจจะคอยอธิบายภาพที่เห็น บอกผล และให้คำแนะนำกับคุณแม่
  • โดยปกติแล้ววิธีนี้จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

ในปัจจุบันยังไม่พบว่าการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ นั้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่และทารกในครรภ์แต่อย่างใด เพียงแต่คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการระคายเคืองจากการใช้เจลที่ทาลงบนผิวหนังบริเวณที่ต้องทำการอัลตร้าซาวด์ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ บรรเทาและสามารถหายได้เอง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความชัดของรูปภาพอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความชัดของการอัลตราซาวด์ 4 มิติ มีดังนี้

  • อายุครรภ์ อายุครรภ์มีผลต่อการตรวจอัลตราซาวด์ในระดับหนึ่ง เนื่องจากหากอัลตราซาวด์ 4 มิติ ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆจะทำให้เห็นแค่โครงสร้างของกระดูกทารกเท่านั้น เพราะร่างกายของทารกจะยังไม่สร้างไขมันที่ทำให้เห็นรูปร่างได้เพียงพอ หากต้องการอัลตราซาวด์ 4 มิติ แล้วเห็นใบหน้าหรืออวัยวะต่างๆอย่างชัดเจนแนะนำให้ตรวจช่วงอายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์
  • ตำแหน่งการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งตำแหน่งการฝังตัวของตัวอ่อนก็มีผลในการอัลตราซาวด์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น น้ำในร่างกายก็มีผล
  • ช่องทางที่ใช้อัลตราซาวด์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการตรวจอัลตราซาวด์ผ่านทางหน้าท้อง แต่หากต้องการดูความผิดปกติแพทย์จะใช้เป็นการอัลตราซาวด์ผ่านช่องคลอดเพื่อให้มองเห็นความผิดปกติได้ชัดมากขึ้น ทั้งนี้การตรวจอัลตราซาวด์ถ้าไม่มีความจำเป็นแพทย์จะไม่ทำกานตรวจผ่านทางช่องคลอดเนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้
  • เครื่องมือและเทคโนโลยี เครื่องอัลตราซาวด์ในสมัยก่อน เริ่มที่สามารถมองเห็นภาพทารกได้เป็นแบบ 2 มิติ คือภาพตัดขวางตามแนวของคลื่นเสียงที่ถูกส่งออกไป แต่ในเครื่องอัลตราซาวด์ในปัจจุบันจะเก็บภาพ 2 มิติหลายๆ ภาพตามแนวที่หัวตรวจผ่านไป และนำมาประกอบกันเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งความลึกของภาพจะทำให้ดูเหมือนจริงมากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นเครื่องตรวจอัลตราซาวด์บางรุ่นยังสามารถเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพไว้ แล้วนำมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ จึงมีชื่อเรียกว่าอัลตราซาวด์ 4 มิติ โดยมิติที่ 4 คือ “เวลา”

สิ่งที่จะได้รับจากการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ช่วยให้คุณแม่ได้ตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งการอัลตร้าซาวด์แบบนี้จะสามารถดูท่าทางต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนอีกด้วย โดยสิ่งที่จะได้รับจากการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ได้แก่ ฟิล์มอัลตร้าซาวด์ และใบชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เป็นต้น


คำถามที่พบบ่อย

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ อันตรายไหม

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ ยังไม่มีผลรายงานว่าทำให้เกิดอันตรายต่อทารกและคุณแม่ตั้งครรภ์ ถึงแม้จะมีการตรวจอัลตราซาวด์ซ้ำหลายๆครั้ง แต่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยความผิดปกติของทารก และช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

อัลตร้าซาวด์ 4 ระหว่างการตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่

การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ นับเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับการพัฒนามาเพื่อคุณแม่และลูกน้อยโดยเฉพาะ ซึ่งการอัลตร้าซาวด์ 4 มิตินั้นนอกจากจะช่วยตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์แล้ว ยังช่วยให้เห็นพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์ได้เลย แต่ถ้าหากโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์ไม่มีบริการอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติ แนะนำให้คุณแม่ดูคลินิกเฉพาะทางเพราะการอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติ จะมีบริการนี้เกือบทุกคลินิกหรือสถานพยาบาล


เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ