Skip to content

อยากมีลูก วิธีมีลูกต้องทำยังไง เตรียมตัวอย่างไร เพื่อมีลูกได้ง่ายขึ้น


01 เมษายน 2025
บทความ

การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่อยากมีลูกถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อร่างกายพร้อมเวลาที่ตั้งครรภ์ก็จะส่งผลดีต่อทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์และแข็งแรง คำถามต่อมาคือ แล้วถ้าอยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร วิธีการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์มีดังนี้

เทคนิค วิธีมีลูก แบบธรรมชาติมีอะไรบ้าง

1. การนับวันไข่ตก

การนับวันไข่ตกคือ การที่คุณผู้หญิงนับวันหลังจากที่มีประจำเดือนเพื่อจะคำนวณว่าวันไหนคือวันที่ไข่จะตก และมีเพศสัมพันธ์ในวันนั้นเพื่อที่จะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น ดั้งนั้นใคร อยากมีลูกเร็ว อยากมีลูกง่าย ไม่ควรพลาดเรื่องการนับกวันไข่ตกเด็ดขาด

โดยปกติร่างกายของผู้หญิงจะมีเซลล์ไข่ประมาณ 2-5 แสนฟองแต่เซลล์ไข่ที่สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้จะมีแค่ 4-5 ร้อยฟองเท่านั้น ซึ้งในแต่ละเดือนจะมีฮอร์โมนที่คอยควบคุมการตกไข่อยู่ก็คือ เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, แอลเอช (LH – Luteinizing Hormone), เอฟเอสเอช (FSH – Follicle Stimulating Hormone)

ฮอร์โมนพวกนี้นอกจากจะทำหน้าที่ผลิตไข่แล้วนั่นยังทำหน้าที่คัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์ที่สุดเพียง 1 ใบ ซึ้งไข่ใบนี้จะมีอายุเพียง 24 ชม.เพื่อรอการปฏิสนธิ แต่ถ้าไข่ใบนี้ไม่ได้ถูกปฏิสนธิก็จะหลุดออกมารวมกับผนังมดลูกและออกมาเป็น ประจำเดือน การนับวันไข่ตกมีอยู่ 2 วิธีคือ

  • การนับวันไข่ตกด้วยตัวเอง สำหรับผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนปกติมักจะแม่นยำ เพราะปกติแล้วผู้หญิงจะมีประเดือนทุกๆ 28 วัน ซึ่งจะให้นับหลังจากประจำเดือนมาวันที่ 1 พอถึงวันที่ 14 จะเป็นวันที่ไข่ตก ถ้าต้องการจะมีบุตรให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนที่ไข่จะตกประมาณ 1-2 วัน (วิธีนี้จะเหมาะสำหรับคุณผู้หญิงที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนเท่านั้น)
  • การนับวันตกไข่ด้วยชุดตรวจการตกไข่ วิธีตรวจก็จะใช้วิธีเดียวกับการตรวจครรภ์คือการตรวจด้วยปัสสาวะ การใช้ชุดตรวจการตกไข่นี้จะเหมาะสุดในช่วง หลังมีประจำเดือน 10-12 วัน ผลตรวจจะขึ้นเป็นขีดถ้าขึ้น 1 ขีดแสดงว่ายังไม่ถึงวันตกไข่ แต่ถ้าขึ้น 2 ขีดแสดงว่าถึงวันที่ไข่ตกแล้ว ช่วงเวลาที่เหมาะกับตรวจการตกไข่มากที่สุดคือ ช่วงบ่ายสองจนถึง 2 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ LH มีความเข้มข้นที่สุด (วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณผู้หญิงที่ประเดือนมาไม่ค่อยตรงและไม่สม่ำเสมอ)

2. ควรวางแผนการมีลูกก่อนอายุ 35 ปี

ช่วงวัยที่เหมาะสมของโอกาสในการตั้งครรภ์สูงคือ ช่วงอายุ 20-30 ปี เนื่องจากช่วงวัยนี้ ร่างกายของฝ่ายหญิงจะมีความสมบูรณ์ที่สุด เพราะถ้าอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจะเสี่ยงต่อภาวะผู้มีบุตรยาก แล้วนอกจากนี้การมีลูกก่อนอายุ 35 ปี ยังช่วยลดความเสี่ยงของการผิดปกติในทารก

3. ปรับความถี่ในการมีเพศสัมพันธุ์

ควรมีเพศสัมพันธ์วันเว้นวัน หรือไม่ก็ 2 วันครั่ง แต่ไม่ควรเกินวันละ 2 ครั้ง เพราะประสิทธิภาพในการผลิตน้ำอสุจิและความแข็งแรงของตัวอสุจิจะลดลง

4. ลดความเครียด

ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ และยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้น

5. ทานอาหารที่มีประโยชน์

การบำรุงร่างกายรับประทานอาหารอาหารให้ครบ 5 หมู่และสารอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีสุขภาพร่างกายและระบบสืบพันธุ์ที่แข็งแรง พร้อมที่จะมีลูก

6. ควรระวังการใช้สารหล่อลื่น

เพราะในเจลหล่อลื่นจะมีสารเคมีที่ไปลดการเคลื่อนไหวและลดเซลล์ของอสุจิลง 60-100%

7. มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตก

การมีเพศสัมพันธ์ก่อนช่วงตกไข่ประมาณ 1-2 วัน จะทำให้อสุจิเข้าไปรอที่รังไข่เพื่อรอให้ไข่ตกลงมา และทำการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ในที่สุด

8. งดกาแฟ แอลกอฮอล์ บุหรี่

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะส่งผลให้มีลูกยากมากขึ้น สำหรับแอลกอฮอล์ และบุหรี่ จะทำให้ปริมาณของอสุจิลดลง ไม่มีคุณภาพ ไม่แข็งแรง ฮอร์โมนผิดปกติ และลดการตกไข่ของฝ่ายหญิง


วิธีการมีลูก สำหรับคนอยากมีลูกแต่มีลูกยาก

วิธีนี้ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติเพียงแต่แพทย์จะจ่ายยาเพื่อให้เซลล์ไข่มีขนาดที่ใหญ่และจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงมีการคัดเชื้ออสุจิเอาเฉพาะที่แข็งแรง ฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพิ่มโอกาสให้อสุจิว่ายเข้าใกล้เซลล์ไข่มากขึ้น

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 10-15%


2. IVF/ICSI เด็กหลอดแก้ว

เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการทำกิ๊ฟท์สมัยก่อน แต่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าแถมไม่ต้องผ่าหน้าท้อง โดยการฉีดยาเพื่อกระตุ้นเซลล์ไข่เป็นเวลา 10-12 วัน แล้วเจาะเอาเซลล์ไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิภายในห้องแล็บ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อนและย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญฺงเจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 70-80%


อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร

สำหรับคุณผู้ชายคุณผู้หญิงที่อยากมีลูก จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการเตรียมพร้อมในการมีลูก เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่สุขภาพดีแข็งแรงลูกน้อยก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไปด้วย ซึ่งการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการมีลูกมีดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพราะแพทย์ช่วยวางแผนการตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะมีการตรวจร่างกายและเช็คโรคประจำตัวเพื่อว่ามีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
  • สุขภาพในช่องปาก เรื่องฟันหลายคนอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวอะไรกับการตั้งครรภ์ แต่จริงๆแล้วเรื่องของสุขภาพฟันสำคัญมาก เพราะหากมีฟันผุอาจทำให้เกิดปัญหาในการตั้งครรภ์ได้
  • งดใช้ยาคุมกำเนิด แล้วสามารถลองปล่อยวิธีธรรมชาติหลังจากงดยาคุมได้เลย
  • การรับประทานอาหารและวิตามินเสริม ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดชา กาแฟ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และทานวิตามินเสริมที่ช่วยในเรื่องของการตั้งครรภ์ เช่น โฟลิก ให้ทานก่อนการตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อเนื่องจนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะช่วยให้ทารกแข็งแรงและลดความเสี่ยงการพิการได้
  • ลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ระบบในร่างกายทำงานไม่ปกติ รวมถึงการตกไข่และคุณภาพของเชื้ออสุจิ ดังนั้นควรผ่อนคลายไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อร่างกายและจิตใจที่สดชื่นแจ่มใส

Q&A รวมคำถามที่คนอยากมีลูกต้องการรู้

อยากมีลูกแต่ไม่มีสามี ทำได้ไหม

ตามกฏหมายประเทศไทยในปัจจุบัน การผสมเทียมนั่นผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นเจ้าของไข่และสเปิร์มจำเป็นต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันก่อนถึงจะสามารถทำการผสมเทียมได้ ดังนั้นการมีลูกโดยไม่มีสามีในตอนนี้ยังถือว่าไม่สามารถทำได้

อยากมีลูกแต่สามีเป็นไทรอยด์ ส่งผลกระทบอะไรไหม

ถ้าสามีเป็นไทรอยด์ ถือว่าไม่มีผลต่อการมีลูก ภรรยาสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ จะไม่มีผลต่อการแท้งบุตรหรือทารกผิดปกติใดๆ และการที่สามีเป็นไทรอยด์ก็ไม่ได้ส่งผลให้สามีเป็นหมันอีกด้วย

อยากมีลูกคนที่ 2 แต่มีลูกคนที่สองยาก ทำอย่างไรได้บ้าง

สำหรับผู้ที่เคยมีลูกมาแล้วและต้องการมีลูกคนที่สองอีก ต้องดูว่าตอนนี้คุณแม่อายุเท่าไหร่เกิน 35 ปีแล้วหรือยังหรือเว้นระยะห่างจากลูกคนแรกมากี่ปี ถ้าปล่อยตามธรรมชาติแล้วยังไม่ตั้งครรภ์แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุที่ทำให้มีลูกคนที่สองยาก อาจจะต้องตรวจดูมดลูก รังไข่ ว่ามีปัญหาในจุดไหน

อยากมีลูกหญิง มีวิธีเลือกเพศลูกไหม

การเลือกเพศลูกยังไม่สามารถทำได้ในประเทศไทยเนื่องจากยังผิดกฎหมาย แต่สามารถดูโครโมโซมความผิดปกติของตัวอ่อนได้จากการตรวจ NGS ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เห็นโครโมโซมเพศตัวอ่อน XX (เพศหญิง) หรือ XY (เพศชาย) ซึ่งตรงนี้อยากจะแนะนำให้ตระหนักถึงการคัดกรองโรคทั้ง 23 คู่ มากกว่าที่จะมองดูเรื่องเพศเป็นหลัก


สรุป

คำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยให้คนที่อยากมีลูกได้เพิ่มโอกาสในการมีลูกมากขึ้น แต่หากพยายามมาเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ปีแล้วยังไม่สำเร็จควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ช่วยตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยากหรือคุณผู้หญิงคุณผู้ชายมีความผิดปกติตรงไหนที่ส่งผลต่อการมีบุตร แพทย์จะได้ช่วยหาแนวทางการรักษาได้ตรงจุด หากปล่อยไว้ปัญหาที่มีอาจจะลุกลามมากยิ่งขึ้น และเสียเวลาเปล่าจดกลายเป้นคนที่มีลูกยากมากเป็นต้น

เรื่องราวความสำเร็จอื่น ๆ

บทความ

ตรวจฮอร์โมน AMH เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

Read the story
บทความ

แท้งมา 3 ครั้งยังมีโอกาสท้องได้อีกไหม ? ตอบถามโดย คุณหมอกิตติ ฉัตรตระกูลชัย

Read the story
บทความ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีลูกได้ไหม? อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Read the story
บทความ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรกับคุณแม่ตั้งครรภ์?

Read the story

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ