นวัตกรรมการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก – Hysteroscopy คือ การตรวจความผิดปกติภายในมดลูก ซึ่งคุณผู้หญิงหลายๆท่านอาจไม่เคยส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกมาก่อน แต่ยังไม่ทราบว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกมีข้อดีข่อเสียอย่างไหร่ แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่ออยากเข้าไปตรวจโพรงมดลูก หากตรวจเจอความผิดปกติต้องรักษาอย่างไรต่อไป
- การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
- ประเภทของการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ข้อดี – ข้อจำกัดการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ใครที่ควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ผู้ที่ไม่เหมาะกับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- การส่องกล้องโพรงมดลูกช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง
- การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ข้อปฏิบัติหลังการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ข้อสรุป
การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก หรือ Hysteroscopy คือ การตรวจโดยใช้กล้องเล็กๆ สอดเข้าทางปากมดลูก ซึ่งสามารถเห็นความผิดปกติภายในโพรงมดลูก ผ่านหน้าจอแสดงผล ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายตามปกติ การอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกเล็กๆ ในโพรงมดลูก พังผืด ความผิดปกติของรูปร่างของมดลูก มีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดระดู และวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น
ประเภทของการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตรวจวินิจฉัย (Diagnostic Hysteroscopy)
การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตรวจวินิจฉัยจะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในโพรงมดลูก สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ทางช่องคลอด หรือผู้หญิงที่มีปัญหาการแท้งซ้ำซาก (Recurrent Miscarriage) และในกรณีที่ไม่สามารถอธิบายได้จากการตรวจพื้นฐาน ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasound) หรือการฉีดสีประเมินสภาพภายในโพรงมดลูก (Hysterosalpingogram)
การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อการรักษา (Operative hysteroscopy)
การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อรักษาจะใช้ในกรณีที่ทราบว่ามีความผิดปกติภายในโพรงมดลูก และต้องการรักษาสาเหตุนั้นๆ เช่น
- ตัดติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อในโพรงมดลูก
- ช่วยสุ่มตรวจชิ้นเนื้อ
- ตัดพังผืดภายในโพรงมดลูก ที่อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือแผลเป็นมาก่อน
- ใช้เพื่อทำหมันสตรี
- ใช้ช่วยในการเอาห่วงคุมกำเนิดออก กรณีเอาออกยาก
- ใช้ร่วมกับจี้ไฟฟ้าในการทำลายเนื้อเยื่อของโพรงมดลูก กรณีมีประจำเดือนมามาก
ข้อดี – ข้อจำกัดการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
ข้อดีการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- แผลผ่าตัดจะเป็นแผลขนาดเล็ก ไม่เป็นแผลเป็นที่หน้าท้อง
- เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดจะมีน้อย
- ลดการเกิดอาการการแทรกซ้อน และพังผืด
- พักฟื้นหลังผ่าตัดได้ไว ไม่เสียเวลา
- แพทย์สามารถเห็นภาพความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
- มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกแบบปกติ
ข้อจำกัดการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ผู้ที่มีพังผืดมากในอุ้งเชิงกราน
- เนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่มาก
- ผู้ที่เคยผ่าตัดทางหน้าท้อง
ใครที่ควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือนออกผิดปกติ
- ผู้หญิงที่ตรวจอัลตราซาวน์มดลูกแล้วพบว่ามีเนื้องอกหรือมีติ่งเนื้อภายในโพรงมดลูก
- ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแต่มีเลือดออกจากโพรงมดลูก
- ผู้หญิงที่มีมดลูกผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นในโพรงมดลูก (Septate uterus)
- ผู้หญิงที่มีภาวะแท้งบุตรซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีบุตรยาก
- ผู้หญิงที่มีประวัติมีประจำเดือนมาน้อยมากหรือประจำเดือนขาด
- ผู้หญิงที่ใส่ห่วงอนามัยมานานและไม่สามารถดึงสายห่วงออกได้ตามปกติ
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนออกมาก
- ผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์หลังจากแท้งบุตรและมีการขูดมดลูก
- ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนรุนแรงร่วมกับสงสัยว่ามีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้ว และย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีไปแล้วตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
ผู้ที่ไม่เหมาะกับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก ไม่เหมาะสมกับ
- ผู้ที่กำลังมีประจำเดือน
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานหรือท่อนำไข่
การส่องกล้องโพรงมดลูกช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง
- มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- มีภาวะที่สงสัยว่ามีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเนื้องอกโพรงมดลูกที่ตรวจจากวิธีอื่น เช่น การตรวจอัลตร้าซาวน์
- คนที่สงสัยว่าอาจจะมีความเสี่ยงมะเร็งโพรงมดลูก เช่น มีภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัว หรือว่ามีเลือดออกผิดปกติในช่วงวัยทอง
- ในผู้ป่วยที่มีบุตรยาก สงสัยว่าเกิดจากภาวะผิดปกติในโพรงมดลูก
การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
เพื่อให้การผ่าตัดมดลูกแบบผ่านกล้อง ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ควรมีการเตรียมตัวดังนี้
- แพทย์จะสอบถามประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด นอกจากนั้นจะมีการเอ็กซเรย์ที่ปอด บางรายอาจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพพื้นฐาน ว่ามีความเสี่ยงในการผ่าตัดมากน้อยเพียงใด ถ้าผลการตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความผิดปกติอาจต้องให้แพทย์เชี่ยวชาญทางด้านอายุรกรรมช่วยดูและประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัด
- ส่งปรึกษาวิสัญญีแพทย์ เพื่อประเมินความพร้อมในการให้ยาระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัด
- ต้องงดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- อาจต้องมีการสวนอุจจาระ และโกนขนบริเวณหัวหน่าวก่อนผ่าตัด 2 ชั่วโมง
- งดดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ต้องงดยาก่อนอย่างน้อย 7 วัน
ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัย
การตรวจจะคล้ายคลึงกับการตรวจภายใน โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยขึ้นนอนที่ขาหยั่งเหมือนตรวจภายใน ใส่อุปกรณ์เพื่อให้เห็นปากมดลูก หลังจากนั้นแพทย์จะค่อยๆ ส่องกล้องขนาดเล็กผ่านปากมดลูกเข้าไปยังโพรงมดลูก เพื่อให้เห็นความผิดปกติภายในโพรงมดลูก โดยการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ในบางรายที่พบความผิดปกติ แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา และวางแผนการรักษาต่อไป อาจใช้ระยะเวลาตรวจที่นานขึ้นได้
ซึ่งวิธีการตรวจวินิจฉัยนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น สงสัยว่ามีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้องอก มีเลือดออกผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ วินิจฉัยและค้นหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์อาจตรวจโพรงมดลูกก่อนที่จะนำตัวอ่อนเข้าไปฝัง เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพโพรงมดลูกไม่มีความผิดปกติที่ขัดขวางโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน
โดยปกติทั่วไป ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการตรวจส่องกล้องโพรงมดลูกนั้น พบได้น้อยมาก แต่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การอักเสบติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือท่อนำไข่อยู่แล้ว รวมถึงอาการปวดท้องน้อย ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หลังจากการตรวจส่องกล้องโพรงมดลูก ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติหลังการตรวจ แต่แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3-5 วัน
ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อรักษา
- การเตรียมปากมดลูกให้พร้อมสำหรับการถ่างขยายเพื่อสอดกล้อง เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก เนื่องจากปากมดลูกของสตรีโดยทั่วไปจะมีลักษณะแข็งและเหนียว การพยายามถ่างขยายปากมดลูก โดยที่ ไม่ได้เตรียมปากมดลูกให้ดีพอ มีโอกาสที่จะทำให้เกิดมดลูกทะลุได้
- ก่อนเริ่มการผ่าตัดแพทย์จะให้ยาระงับปวดเฉพาะที่ หรือยาสลบ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการผ่าตัด
- การขยายปากมดลูกเพื่อทำการสอดกล้องเข้าไปสำรวจหารอยโรคภายในโพรงมดลูก
- หลังจากยืนยันรอยโรคแล้ว แพทย์จะใส่เครื่องมือเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ หรือสลายพังผืดในโพรง มดลูก และเอาชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
ข้อปฏิบัติหลังการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
ข้อห้ามหลังการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- งดมีเพศสัมพันธ์
- งดว่ายน้ำ แช่น้ำ
- งดสวนล้างช่องคลอด
- งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะยังอยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อ
การดูแลตนเองหลังจากส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
- การมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดหลังผ่าตัด/ส่องกล้องฯ ถือเป็นเรื่องปกติ บางครั้งอาจเห็นเศษเนื้อจากที่ทำการผ่าตัดที่ค้างในโพรงมดลูกหลุดออกมาด้วย ซึ่งอาจมีเลือดออกมาได้นาน ประมาณ 5-7 วันหลังการตรวจ
- อาจมีอาการปวดหน่วงบริเวณมดลูก ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ได้
ข้อสรุป
ก็คงจะได้ทราบกันไปแล้วว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก Hysteroscopy คือ การตรวจภายในที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน ซึ่งไม่ควรแค่ศึกษาข้อมูลและตัดสินใจทำได้เลย แต่ควรมาพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยเบื่องต้นก่อนว่าเหมาะสมที่จะทำหรือไม่ แพทย์จะแนะนำและให้ข้อมูลได้แม่นยำกว่าการอ่านในอินเตอร์เน็ต เพราะแต่ละบุคคลจะมีวิธีการรักษาและการดูแลตนเองที่ต่างกันออกไป ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf