ปรับฮอร์โมนเพศหญิง

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ปัญหาการเสี่ยงมีลูกยาก หรืออาการที่สาวๆแก่ก่อนวัย อาจจะมาจากการมีฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล ซึ่งการจะปรับฮอร์โมนเพศหญิงหลักๆที่เราจะมาแนะนำกัน นั้นสามารถทำได้ถึง 7 วิธี มาดูกันว่าต้องทำอย่างไร

Table of Contents

รู้จักฮอร์โมนเพศหญิง

ฮอร์โมนเพศหญิงประกอบได้ด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับเพศหญิง ได้แก่ 

ซึ่งฮอร์โมนแต่ละตัวจะมีความสำคัญต่อมดลูก และการทำงานของรังไข่ ที่ส่งผลต่อประจำเดือน การตั้งครรภ์ รวมไปถึงการนอนหลับ สภาพอารมณ์ สิว ริ้วรอย และน้ำหนักตัวอีกด้วย

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล เกิดจากอะไร

ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง

สาเหตุที่อาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล มีดังนี้

  • โรคเบาหวาน ส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เกิดความผิดปกติ และกระทบไปถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ไทรอยด์ โปรเจสเตอโรน และคอร์ติซอลด้วย
  • ยาที่ใช้ ยาบางชนิดส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนบำบัด ยารักษาโรคมะเร็ง
  • ความเครียด โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสมเรื้อรัง ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติได้
  • การใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารโภชนาการไม่เหมาะสม หรือกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่เลือกใช้ส่วนผสมที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนเป็นประจำ เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
  • เคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย มักพบได้ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ ยาฆ่าเชื้อในเนื้อสัตว์ เป็นต้น
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โดยปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ทำให้คุณมีพลังงานเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น เป็นต้น
  • ความผิดปกติของต่อมหมวกไต (Congenital Adrenal Hyperplasia: CAH) ทำให้ขาดเอนไซม์จากต่อมหมวกไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ ความดันเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ความดันเลือด และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิว น้ำหนักขึ้น ผิวช้ำง่าย เป็นต้น
  • โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) ส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ จนรู้สึกอ่อนเพลีย ความดันเลือดต่ำ น้ำหนักลด
  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner’s syndrome) เกิดจากโครโมโซมผิดปกติและอาจตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยอาจทำให้โตช้า และมีรอบเดือนผิดปกติ
  • กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome) เป็นอีกหนึ่งอาการจากพันธุกรรมที่ส่งผลต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ผู้ที่มีกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ จึงอาจมีฮอร์โมนเพศต่ำ

ตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด เมื่อตับอ่อนอักเสบจึงมีส่วนทำให้ฮอร์โมนหลายชนิดผิดปกติ เช่น อินซูลิน กลูคากอน (Glucagon) และฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล

วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล มีดังนี้

1. ประจำเดือนมาไม่ปกติ

โดยปกติแล้วประจำเดือนของผู้หญิงจะมาทุกๆ 28 วัน หากประจำเดือนมามากจนเกินไปหรือขาดหายไป เป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มากหรือน้อยจนเกินไป

2. สิวขึ้น

หากคุณผู้หญิงมีสิวขึ้นก่อนเป็นประจำเดือนถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากสิวขึ้นบ่อยไม่หายขาด ขึ้นเป็นประจำ อาจมีปัญหามาจากฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งส่งผลต่อต่อมไร้ท่อ ต่อมไขมันที่เซลล์ของผิวหนัง และรูขุมขนทำงานผิดปกติทำให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นสิว

3. นอนไม่หลับและหลับยาก

โดยปกติแล้วฮอร์โมนที่ช่วยทำให้นอนหลับสบายขึ้นคือฮอร์โมนเมลาโทนิน แต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ก็มีส่วนช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้นด้วยเช่นกัน หากฮอร์โมนใดฮอร์โมนหนึ่งในสองตัวนี้มีปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ จะส่งผลให้นอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้

 4. มีอาการหลงลืม

ฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมสมอง สารด้านสื่อประสาท ที่มีผลต่อสมาธิและความจำ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยิ่งในช่วงใกล้หมดประจำเดือนจะมีอาการหลายอย่างที่เชื่อมโยงกับระดับฮอร์โมนและต่อมไทรอยด์ จึงทำให้การทำงานของสมองอาจไม่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลานั้น

5. ปวดท้อง

อาการปวดท้องบริเวณท้องน้อยที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือระหว่างมีประจำเดือนของแต่ละคนนั่นจะต่างกันและไม่ถือว่าผิกปกติอะไร 

แต่ถ้ามีอาการปวดท้องหนักจนทนไม่ไหว ปวดจนลุกขึ้นมาทำอะไรไม่ได้ ทานยาแก้ปวดท้องแล้วยังไม่หายหรือไม่ดีขึ้น อาจส่งผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ 

ทั้งนี้ไม่ใช่อาการปวดท้องทุกชนิดจะเกี่ยวกับฮอร์โมน เพราะอาการปวดท้องมีหลายสาเหตุหากปวดมากควรรีบปรึกษาแพทย์

6. อ่อนเพลียตลอดเวลา 

เมื่อร่างกายมีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ส่งผลมาจากฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนน้อยลงนั่นเอง

7. อารมณ์แปรปรวน

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลให้มีอาการหงุดหงิดง่าย เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อสมองและอารมณ์อีกด้วย

8. น้ำหนักเพิ่ม

เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลงจะทำให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ ต่อมความหิวจะทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ผู้หญิงหลายๆคนอยากอาหารและทานเยอะขึ้นจนทำให้น้ำหนักเพิ่มนั่นเอง

9. ปวดหัว

เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้ หากในช่วงก่อนมีประจำเดือนพบว่ามีอาการปวดหัวอาจเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความผิดปกติ

10. ช่องคลอดแห้ง

สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้งบ่อยๆอาจเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปริมาณต่ำ จึงส่งผลต่อความสมดุลในการทำงานของช่องคลอด

11. ความต้องการทางเพศลดลง

ในเพศหญิงจะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเช่นเดียวกับเพศชาย หากระดับฮอร์โมนตัวนี้ลดลงหรือน้อยเกินไป ก็จะส่งผลต่อความต้องการทางเพศนั่นเอง

12. หน้าอกมีการเปลี่ยนแปลง

โดยปกติแล้วในช่วงก่อนมีประจำเดือนผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าขนาดของหน้าอกขยายใหญ่ขึ้น เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศหญิงตัวอื่นๆ 

หากท่านไหนรู้สึกว่าขนาดของหน้าอกเล็กลง อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลง

การปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง

เวลาฮอร์โมนไม่สมดุล คุณอาจรู้สึกอ่อนเพลีย ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน รอบเดือนมาไม่ปกติ ผมร่วง ใจสั่น รู้สึกไม่โฟกัสในการทำงาน จนอาจส่งผลให้เป็นผู้ที่ภาวะมีบุตรยากได้ในท้ายที่สุด 

ซึ่งวิธีที่จะช่วยปรับให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุล คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ หากิจกรรมทำเพื่อช่วยคลายความเครียดหรือออกกำลังกายนั่นเอง

อยากมีลูก ไม่ท้องสักที รีบปรึกษาแพทย์ ก่อนถึงวัยมีลูกยาก ปนึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ทำไมต้องปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุล

วิธีปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุล

ฮอร์โมนจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานหลักๆของระบบและอวัยวะภายในร่างกาย มันจะเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงานระหว่างเซลล์กับส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดหน้าที่ต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันอารมณ์ ระบบสืบพันธ์ เป็นต้น

เมื่อเราปรับฮอร์โมนให้สมดุลก็จะช่วยให้

  • การจัดการน้ำหนัก
  • การควบคุมอารมณ์
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรือรัง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
  • สุขภาพสตรี
  • อาการเมื่อยล้าและนอนไม่หลับ
  • ลดเความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกบาง
  • แก้ปัญหาผมบางผมร่วง
  • ไมเกรน

หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล ส่งผลเสียอย่างไร

เมื่อระดับฮอร์โมนไม่สมดุลอาจก่อให้เกิดภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกายได้ เช่น การเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นภายในร่างกายลดลง ไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน และส่งผลต่อปัญหาผิวพรรณ ผิวแห้งกร้าน เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นแลดูแก่กว่าวัย 

นอกจากนี้ยังทำให้นอนไม่หลับนอนหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ความจำเสื่อม ความต้องการทางเพศลดลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

แนะนำ 7 วิธีปรับฮอร์โมนเพศหญิง

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนไม่เพียงพอก่อให้เกิดความเครียดสะสม ส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดถูกหลั่งออกมามากเกินไป และไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ 

การนอนไม่เพียงพอยังส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติ ส่งผลต่อการตกไข่และรอบเดือนที่ไม่ปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ เช่น วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที

 3. ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์

ในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ทำให้รังไข่ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไข่ไม่ตกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ 

สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า

4. ปรับโภชนาการอาหาร

การกินอาหารส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมน อยากมีสุขภาพดีต้องทานอาหารดีๆ อาหารช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนได้ หากกินแต่อาหารไขมันสูง น้ำตาล ของหวาน แอลกอฮออล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน 

โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือน จำเป็นต้องหันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ได้แก่

1.เพิ่มโปรตีน 

การทานโปรตีนจากสัตว์อาจมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงตกค้างและมีไขมันสูงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมีบุตรยาก ดังนั้นควรเลือกทานโปรตีนสัตว์ที่มีแหล่งโปรตีนชั้นดีและไม่ติดมัน เช่น ไข่ เนื้อปลา อกไก่ หรือ นมแพะ เป็นต้น 

ส่วนโปรตีนจากพืช ช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยาก โดยโปรตีนจากพืช ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่ ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง

2.ลดคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต 

การทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb ลง ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้น ทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น 

ดังนั้น ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว และธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือย งาดำ เมล็ดฟักทอง

3.งดหวาน 

น้ำตาลทำลายเซลล์ไข่ของผู้หญิง เนื่องจากน้ำตาลจากอาหารแปรรูป เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะย่อยทันทีส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเฉียบพลัน และกระตุ้น “การหลั่งอินซูลิน” ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) จะส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็กด้อยคุณภาพ

5. ดูแลจัดการความเครียด

ทำจิตใจให้แจ่มใสเพื่อลดความเครียด เพราะความเครียดถูกจัดเป็นสิ่งที่ซับซ้อนพอๆกับการรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพที่ดี ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพทางจิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน

6. ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่

เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้นิโคตินเข้าไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาติของรังไข่ และทำให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์ไข่หรือปรับสมดุลให้กับโพรงมดลูก

7. ใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทน

การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย 

การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่ง คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวหนังเต่งตึงและชุ่มชื้น ลดอาการผิวหนังอักเสบ ผมจะหนาและดกดำขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของความจำ มีสมาธิมากขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง

การใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง

การใช้ยาปรับฮอร์โมนสิ่งที่ควรระวัง คือ ควรสังเกตความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นและหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อาการดังกล่าวคือ

  • มีเลือดไหลทางช่องคลอดผิดปกติ
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ และมีการรับประทานยาปรับฮอร์โมนด้วย
  • คลำแล้วพบก้อนในเต้านม
  • ปวดหัวขั้นรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด
  • อาเจียนเป็นเลือด

ข้อสรุป

การปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุล จะช่วยลดความเสี่ยงของการมีบุตรยาก ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง ช่วยปรับเรื่องอารมณ์แปรปรวน ปัญหาผิวพรรณ ซึ่งวิธีที่ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุล คือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ จัดการความเครียด เพื่อสงเสริมให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นการดูแลและปรับฮอร์โมนด้วยตัวเองข้างต้น หากคุณผู้หญิงท่านไหนรู้สึกว่าตนเองมีอาการที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนไม่สมดุลแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ แพทย์จะแนะนำและวางแผนการปรับฮอร์โมนให้ได้อย่างเหมาะสม หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf