Skip to content
Our blog /
25 April 2025

articles/what-is-aricept


25 April 2025
1

การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ICSI

การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วคือการนำเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า การผสมเทียม

ซึ่งเมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่าการทำกิ๊ฟ ต่อมาจึงเริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเราจะเรียกว่า IVF การทำ IVF ก็คือการนำไข่กับอสุจิไว้ในถาดทดลองและรอให้อสุจิว่ายเข้าไปผสมที่ไข่เอง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทางด้านเครื่องมือ ที่เรียกกันว่าเครื่องอิ๊กซี่ (ICSI) ซึ่งการทำอิ๊กซี่ (ICSI) จะมีขั้นตอนที่เหมือนกับการทำ IVF แทบจะ 100% ต่างกันเพียงแค่ขั้นตอนของการปฏิสนธิ

เพราะการทำ ICSI นักวิทย์ฯจะนำอสุจิที่แข็งแรงที่สุดมาเจาะเข้าไปในไข่โดยตรง โดยที่ไม่ต้องรอให้อสุจิว่ายไปเจอกับไข่เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร

การทำอิ๊กซี่ ICSI คือขั้นตอนพิเศษที่เพิ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI ถือว่าเป็นขั้นตอนที่เพิ่มโอกาสสำเร็จสูงที่สุด เพราะจะใช้เครื่องพิเศษที่เรียกว่าเครื่องทำ ICSI ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ช่วยให้ไข่กับอสุจิผสมกันโดยที่ไม่ต้องรอให้อสุจิว่ายไปเอง แต่จะเป็นการนำอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัวเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง พอไข่กับอสุจิผสมกันแล้ว นักวิทย์ฯจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน จะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ เมื่อตัวอ่อนเติบโตจนถึงระยะ Blastocyst ก็จะย้ายกลับสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตในครรภ์ต่อไป 

ซึ่งเครื่องอิ๊กซี่ (ICSI) ถือเป็นเทคโนโลยี Latest Assisted Reproductive Technologies ที่เพิ่มอัตราการปฏิสนธิเพิ่มขึ้นถึง 15% มีไม่กี่เครื่องในประเทศไทย และเป็นเครื่องที่มีราคาแพงมาก

การทำ ICSI (อิ๊กซี่) กับ IVF ต่างกันอย่างไร

IVF จะเป็นการคัดเลือกเซลล์ไข่กับอสุจิ ให้มาผสมกันเองในอุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์ เพื่อให้ตัวอ่อน พอได้ตัวอ่อนแล้วจึงใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก แต่ ICSI คือหนึ่งในขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาจากการทำ IVF จะเป็นการคัดเซลล์ไข่กับตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัวเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรงด้วยเครื่องพิเศษเครื่องทำ ICSI ที่มีแค่ไม่กี่เครื่องในประเทศไทย เป็นเทคนิคพิเศษที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 70%

ดังนั้น การทำ ICSI กับ IVF ต่างกันตรงที่..

IVF (In-Vitro Fertilization)

การทำ IVF (In-Vitro Fertilization) จะเป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วแบบเก่า โดยจะทำการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกัน โดยจะปล่อยให้อสุจิเลือกเข้าไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ (จะคล้ายกับการมีเพศสัมพันธุ์กันตามธรรมชาติ) เมื่อไข่และอสุจิเกิดการปฎิสนธิที่ภายนอกจนเป็นตัวอ่อนแล้วจะนำกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

อ่านรายเพิ่มเติม >>> เด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คืออะไร

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)

การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm injection) จะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ฝ่ายชายมีปริมาณตัวอสุจิน้อย หรือมีความผิดปกติในการหลั่งน้ำอสุจิได้อย่างมาก

ดังนั้น ICSI เป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง และ IVF เป็น การปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งในกลุ่มที่อสุจิไม่แข็งแรง การทำ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เนื่องจากเราสามารถคัดอสุจิที่แข็งแรงมาปฏิสนธิได้เลย

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เพื่อวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม

ICSI และ การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม

ประโยชน์จากการทำ ICSI นอกจากจะรักษาผู้ป่วยมีบุตรยากแล้ว ยังสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ โดยการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่13,18,21 ความผิดปกติกลุ่มดาวน์ ปากแหว่ง เพดานโหว โรคเอ๋อ และในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรม หลังจากการทำอิ๊กซี่ แพทย์จะใช้วิธีการทำ PGD โดยแพทย์จะนำตัวอ่อนที่เจริญเติบโตแล้ว ไปวินิฉัยในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อน หากมีผลการวินิจฉัยที่ปกติแพทย์จะนำใส่กลับไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการเจริญโตต่อไป

ขั้นตอนการทำ ICSI

ขั้นตอนการทำ ICSI ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนแรกที่ทุกคนควรทำก่อนเริ่มการรักษาคือ การพูดคุย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า แพทย์และสถานพยาบาลนั้นๆมีการรักษาเป็นแบบใด วางแผนการรักษาในกรณีของเราแบบไหน ตรงกับสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ ในบางครั้งอาจจะเริ่มตรวจร่างกายไปพร้อมๆกันเพื่อให้คำปรึกษาได้อย่างดีมากขึ้น ขั้นตอนนี้สำหรับคนที่เคยรักษามาแล้ว เคยตรวจร่างกาย หรือมีโรคประตำตัวควรนำเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องไปด้วย เมื่อคุยกับแพทย์เสร็จแล้วเราก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่า เราจะเลือกรักษาที่นี่หรือไม่

ขั้นตอนที่ 2 เริ่มฉีดยากระตุ้นไข่

การทำอิ๊กซี่ เหมาะสำหรับใคร

  1. ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

  2. ผู้หญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบตัน

  3. ผู้หญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ

  4. ผู้หญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  5. ผู้หญิงที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก

  6. ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

  7. ผู้ชายมีเชื้ออสุจิมีจำนวนน้อยหรือคุณภาพไม่ดี

  8. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ

  9. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิ

การทำ ICSI เหมาะกับปัญหากรณีใด

การทำอิ๊กซี่ เหมาะสมกับผู้ป่วยที่พบปัญหา ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่พบปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิ

  • ผู้ป่วยที่พบภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ผู้ชายที่มีจำนวนเชื่ออสุจิน้อย

  • ผู้ชายที่อสุจิคุณภาพไม่ดี

  • ผู้ที่พบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรม

  • ผู้หญิงพบว่ามีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  • ผู้หญิงที่มีภาวะไข่ตกผิดปกติ

  • ผู้หญิงพบว่ามีภาวะท่อนำไข่ตีบตัน

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป


การเตรียมตัวของพ่อแม่ก่อนทำ ICSI

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายหญิง

  1. ควรตรวจร่างกายเพื่อใช้ประเมินในการรักษาควรตรวจวันที่ 2-3 ระหว่างมีประจำเดือน

  2. ตรวจปริมาณฮอร์โมนร่วมกับอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในช่วงวันแรกๆ ของการเป็นประจำเดือน เพื่อประเมินว่ารังไข่ยังมีประสิทธิภาพในการทำงานหรือไม่

  3. ตรวจมดลูก การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูโพรงมดลูก หรือการส่องกล้อง Hysteroscopy เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการผสมเทียม

  4. พักผ่อนให้เพียงพอ

  5. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ

  6. ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา

  7. หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ก่อนรักษาทุดครั้งรวมถึงนำตัวยาที่รักษามาให้แพทย์พิจารณา

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชาย

  1. คุณผู้ชายงดหลั่งอสุจิ 5-7 วัน ก่อนมาพบแพทย์

  2. ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา

  3. ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป

  4. ไม่สวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป

  5. หลีกเลี่ยงการลงแช่อ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า

  6. ไม่เครียดจนเกินไป ทำจิตใจให้สบาย

การดูแลตัวเองหลังทำ icsi

  1. หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วจะต้องนอนพักที่คลินิก 2 ชั่วโมง

  2. สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ

  3. งดการออกกำลังกายหนัก

  4. งดการยกของหนัก

  5. งกการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดการท้องเสียได้

  6. หากมีไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

  7. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด

  8. ควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่เครียดเพราะมีผลต่อฮอร์โมน

  9. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที

การทำ ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่

การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm injection) ทางเลือกใหม่สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีลูกยาก ช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จสูงที่สุดถึง 60-70% และการทำเด็กหลอดแก้วสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม (ตรวจโครโมโซม) ของตัวอ่อนก่อนย้ายตัวอ่อนได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน ลดโอกาสในการแท้งบุตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมและผู้ที่กังวลเรื่องโรคทางพันธุกรรม

โดยอัตราความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่ (ICSI ) จะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุของฝ่ายหญิงหากอายุยิ่งมากขึ้น คุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดน้อยลง

  • จำนวนไข่ที่ได้จากการกระตุ้นมีจำนวนเยอะเท่าไร

  • คุณภาพของไข่ที่ได้จากการกระตุ้นในครั้งนั้น มีคุณภาพมากน้อยเท่าไร

  • รูปร่างและความแข็งแรงของอสุจิ

  • ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในวันที่ทำการย้ายตัวอ่อนนั้น มีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่

การทำ ICSI มีความเสี่ยงหรือไม่ มีอะไรบ้าง

การทำ ICSI สามารถเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสที่น้อยที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะในทางการแพทย์ก็สามารถเกิดความเสี่ยงได้ การทำ ICSI มีโอกาสเสี่ยง ดังนี้

  • ไข่ภายในรังไข่อาจเกิดความเสียหาย เนื่องจากไข่มีความเปราะบางระหว่างการทำหัตถการอาจะทำให้ไข่เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกคลินิกในการทำอิ๊กซี่ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญ ทำให้ช่วยลดความเสียหายของไข่ได้

  • โครโมโซมมีความผิดปกติ การทำอิ๊กซี่ สามารถทำให้เกิดความผิดปกติ หรือทำเกิดภาวะความผิดปกติทางสมอง ออทิสติก ทารกเกิดความผิดปกติที่หัวใจอาจต้องได้รับการผ่าตัด เมื่อโตขึ้นอาจเกิดภาวะมีบุตรได้

  • รังไข่ตอบสนองกับการกระตุ้นมากเกิน ร่างกายของผู้ป่วยตอบสนองกับการกระตุ้นยามากเกินไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด หากมีอาการรุนแรงควรรีบแจ้งคลินิกทันที

ข้อดี ข้อเสีย ของการทำ ICSI

ข้อดีของการทำ ICSI

  • เป็นวิธีที่โอกาสสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน

  • สามารถรักษาได้ในหลากหบายปัญหามากกว่า

  • ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง ไม่มีการผ่าตัด

  • ผู้หญิงทำหมันแล้วก็ทำได้

  • ผู้ชายที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก็สามารถทำได้

  • สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (NGS) ได้

ข้อเสียของการทำ ICSI

  • มีราคาสูงกว่าการทำ IUI

  • มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยากมากกว่า

  • ใช้เวลารักษาค่อนข้างหลายวัน

  • ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการเก็บไข่ได้เช่น ท้องอืด

ทํา ICSI ราคาเท่าไหร่

ราคาการทำ ICSI ค่อนข้างสูงกว่าการทำ IUI แต่จะเป็นราคาที่คุ้มสำหรับคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการจะมีบุตรเป็นของตนเอง ซึ่งราคามีเริ่มตั้งแต่หลัก 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ ที่ท่านไป

เนื่องจากการทำ ICSI นั้นมีขั้นตอนและตัวยาที่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นไข่ การป้องกันไข่ตก การเร่งให้ไข่สุก ค่าอัลตราซาวน์ ค่าเก็บเชื้อ เก็บไข่ หรือแม้แต่การทำ ICSI เองก็มีราคาค่าใช้จ่ายในนั้น

อย่างที่ได้เกริ่นไปเบื้องต้นราคาในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ราคาค่อนข้างสูง ราคาจะเริ่มตั้งแต่ 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ แต่ที่ BeyondIVF ตอนนี้ราคาโปรโมชั่นเริ่มต้นจะอยู่ที่เพียง 229,000 บาทเท่านั้น ซึ่งราคานี้แทบจะครอบคลุมทุกบริการ

ทำ ICSI ที่ไหนดี ทำไมควรเลือก Beyond IVF

ในปัจจุบันการทำเด็กหลอดแก้วค่อนข้างจะเป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้น หรือผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก สถานที่ที่ทำการรักษาผู้มีบุตรยากในตอนนี้จึงมีเยอะไม่ว่าจะเป็นคลินิก หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็มีการรับรักษาภาวะมีบุตรยากทั้งนั้น

แต่การเลือกสถานที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่ควรมองแค่ราคาถูกแค่อย่างเดียว เราควรมองทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย คุณหมอมีฝีมือทางด้านนี้เฉพาะจริงๆ

เพราะที่ Beyond IVF เรามีคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้เป็นอย่างมาก ยังมีวุฒิบัตรการันตีถึงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกด้วย

และที่สำคัญคลินิกของเรามีมาตรฐานที่สูง สะอาด ปลอดภัย มีการให้บริการเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการฝากไข่เพื่อป้องกันภาวะผู้มีบุตรยากในอนาคต อีกทั้งยังมีทีมงานที่มีคุณภาพพร้อมให้คำแนะนำร่วมกับเทคโนโลยีระดับ world class มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล

ในห้องแล็บ Meko IVF มีอะไรบ้าง?

Q&A รวมคำถามที่คนสงสัยเกี่ยวกับการทำ ICSI

ทํา ICSI ไม่สําเร็จ ทํา ICSI ไม่ติด เกิดจากอะไร

การทำ ICSI แล้วยังไม่ติด อาจเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆดังนี้

  1. ผนังมดลูก ผนังมดลูกถือว่ามีความสำคัญมากเพราะต่อให้คัดตัวอ่อนคุณภาพดีแค่ไหนแต่ถ้าผนังมดลูกหรือโพรงมดลูดไม่แข็งแรงพอตัวอ่อนก็ไม่สามารถไปฝั่งตัวได้

  2. คุณภาพตัวอ่อน ถึงแม้ว่าตัวอ่อนทุกตัวจะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและได้รับการดูแลจากนักวิทย์ฯ โดยตรง แต่ในการเพราะเลี้ยงก็อาจจะได้ทั้งตัวอ่อนที่มีคุณภาพและตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์

    การที่ได้ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์สาเหตุอาจเกิดจากการเลี้ยงในอุณหภูมิที่ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาการช้า หรือพัฒนาการไม่สมบูรณ์ซึ่งเมื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกจึงทำตัวอ่อนไม่ฝังตัว

  3. ฮอร์โมนที่มาเลี้ยง โดยปกติแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจน จะมีจำนวนเพิ่มมากในขณะที่ตั้งครรภ์จะช่วยให้เสริมสร้างเส้นเลือดบริเวณรกและมดลูก ช่วยในการขนส่งสารอาหารต่างๆไปยังทารกส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้นทำให้โครงสร้างภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับทารกในครรภ์ แต่ถ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มีการผลิตที่ไม่มากพอต่อการไปเลี้ยงตัวอ่อนก็จะส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝั่งตัวหรือฝั่งตัวแล้วไม่มีการเจริญเติบโตต่อนั่นเอง

ทำ ICSI ทำลูกแฝดได้ไหม

การทำ ICSI สามารถทำได้โดยการย้ายตัวอ่อน 2 ตัวแล้วอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด รักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทั้งเด็กหลอดแก้วและการทำ ICSI คือการนำเซลล์ไข่และอสุจิออกมาปฏิสนธิกันจนเป็นตัวอ่อนก่อนที่จะทำการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก

โดยการรักษาของแต่ละเคสจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นคนประเมินในการรักษา คนไข้บางเคสเหลือตัวอ่อนถึงระยะ Blastocyst (ระยะ 5วัน) เพียงแค่ 2 ตัวอ่อนเท่านั้น แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องย้ายตัวอ่อนทั้ง 2 ตัวพร้อมกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนให้สำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากตัวอ่อนใดตัวอ่อนหนึ่งฝังเข้าผนังมดลูก

แต่ถ้าหากฮอร์โมนของผู้หญิงปกติและโครโมโซมตัวอ่อนแข็งแรง ก็สามารถทำให้เกิดการฝังตัวอ่อนทั้ง 2 ตัว ฝังเข้าผนังมดลูกพร้อมกันได้จนทำให้เกิดครรภ์แฝดเทียมได้ แม้ว่าจะไม่ใช่ครรภ์แฝดแท้ แต่การทำลูกแฝดเทียมด้วยวิธี IVF/ICSI ตัวอ่อนจะแข็งแรงมากกว่าครรภ์แฝดแท้ เพราะตัวอ่อนผ่านการตรวจคัดกรองโครโมโซมมาแล้ว จึงทำให้มั่นใจได้ 100% ว่าตัวอ่อนตัวที่ย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกจะสมบูรณ์และแข็งแรงแน่นอน และอยู่ในถุงการตั้งครรภ์คนละถุง จะไม่เกิดการแย่งสารอาหารกัน และสายรกจะไม่พันคอกัน

แต่ครรภ์แฝดแท้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายมากที่สุด เช่น แขน ขา ติดกัน หรือตัวติดกัน ขาดสารอาหารไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เพราะเกิดจากอยู่ในถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน

ทำ ICSI เลือกเพศลูกได้ไหม

ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทยเนื่องจากยังผิดกฎหมาย แต่สามารถดูโครโมโซมความผิดปกติของตัวอ่อนได้จากการตรวจ NGS ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เห็นโครโมโซมเพศตัวอ่อน XX (เพศหญิง) หรือ XY (เพศชาย) ซึ่งตรงนี้อยากจะแนะนำให้ตระหนักถึงการคัดกรองโรคทั้ง 23 คู่ มากกว่าที่จะมองดูเรื่องเพศเป็นหลัก

แต่การเลือกเพศลูกก็มีข้อดี ในกรณีที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษมีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งได้ เช่น โรคสังข์ทอง (Anhidrotic Ectodermal Dysplasia), โรคเลือด G6PD, โรคดาวน์ซินโดรมบางประเภท, โรคผิวหนังบางประเภท (Sex-linked Ichthyosis) ฯลฯ ถ้าพ่อแม่หรือคนในครอบครัว (ปู่ย่า ตายาย พี่ป้า น้าอา) เคยมีประวัติว่าเป็นโรคเหล่านี้ลูกชายก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นได้สูง ในขณะที่ลูกสาวจะไม่เป็น

จึงเป็นเหตุสำคัญให้บางครอบครัวจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการมีลูกชาย ซึ่งแนวทางในการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ จะใช้วิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ เด็กหลอดแก้ว และ ICSI ในการรักษาพร้อมตรวจคัดกรองตัวอ่อน ด้วยวิธีตรวจ NGS โครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก

ทำหมันแล้วทำ ICSI ได้ไหม

ทำหมันแล้วไม่ว่าจะเป็นการทำหมันแบบผูกหรือแบบตัดก็สามารถทำ ICSI หรือเด็กหลอดแก้วได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องแก้หมัน เพราะการรักษาแบบนี้ไม่ต้องอาศัยท่อนำไข่หรือบริเวณที่ทำหมันไว้ และยังไม่ลดโอกาสในการสำเร็จลงอีกด้วย

สรุป

การทำ ICSI เป็นขั้นตอนพิเศษที่ต่อเนื่องมาจากการทำ IVF ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จได้ถึง 70% ทั้งนี้หากท่านไหนมีปัญหาหรือคิดว่าตนเองเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ก่อน แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยให้อย่างละเอียด แล้วจะวางแผนในการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคลเป็นเคสๆไป โดยสามารถนัดปรึกษากับคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ Line : @beyondivf

Other success stories

Updates

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่

Read the story
Updates

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
Updates

What is IUI - Procedures, Success Rates, and Costs

Read the story
Updates

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story

The Biological Clock

This tool indicates:

  • Natural conception per month if you have no fertility issues
  • IVF success rate at the same age
  • When to seek help after months of unsuccessful attempts

If you are concerned at any stage – we recommend booking a doctor appointment or a free nurse consultation. The sooner you make a plan the better your chances in the long term.

When to seek advice early

  • If you have polycystic ovaries, endometriosis, or have been through a cancer diagnosis; we recommend you get in touch quickly so we can talk you through all your options and give you the greatest possible chance of success.
  • If you’re a single woman considering motherhood in the future; it’s best to approach us early and consider egg freezing as this can be an option for you while you have a higher ovarian reserve and healthier eggs.
Set your age and the months you’ve been trying to conceive
26
2
Your chance of having a baby per month for fertile couples
Your chance of having a baby per IVF cycle (if experiencing infertility)

Body Mass Index calculator

Being overweight or underweight can reduce fertility, so it is important to keep your body weight within the normal healthy range.

Body Mass Index (BMI) is an indication of your body weight and can be calculated by dividing weight by height. You should aim for a BMI of between 20 and 25, as this will optimise your chances of conception.

Woman’s BMI below 19

Even in these modern times, nature knows best. If a woman's BMI falls below 19, the body senses famine and ovulation is switched off to prevent the risk of having a baby with malnutrition. Excessive exercise can reduce body fat and increase muscle mass to a point where periods cease for the same reason. Risk of miscarriage is also increased in women with a low BMI.

Being underweight

If a woman's BMI falls below 19, the body senses famine and ovulation is switched off to prevent the risk of having a baby with malnutrition. Excessive exercise can reduce body fat and increase muscle mass to a point where periods cease for the same reason. Risk of miscarriage is also increased in women with a low BMI.

BMI’s greater than 30

This can reduce fertility by 50%. Pregnancy for women with a 30+ BMI is often associated with problems such as maternal diabetes, high blood pressure, big babies and increased risk of caesarean section.

Add your height and weight to calculate your BMI