Skip to content
Our blog / Updates
25 April 2025

มีลูกยาก คืออะไร? รักษาได้อย่างไร? หาคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่


25 April 2025
Updates
1

ภาวะมีลูกยาก ปัญหาใหญ่ของคู่รักที่อยากมีลูก

ภาวะการมีลูกยากหรือภาวะมีบุตรยาก (infertility) ปัญหาที่คู่รักหลายคู่กำลังเจออยู่พยายามมีบุตรมานานหลายปีไร้วี่แววการตั้งครรภ์ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้ไม่รู้ต้องเริ่มการ รักษายังไงสามารถหาคำตอบได้เลยที่นี่

ปัญหาการมีลูกยาก (infertility)

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องมีบุตรยากไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป สถานการณ์การมีบุตรยากของคนไทยในปัจจุบันพบมากถึง 12 ล้านคน แต่หลายคนยังไม่แน่ใจว่าปัญหาที่ตัวเองพบหรือภาวะที่ตัวเองกำลังประเชิญอยู่ถือว่ามีบุตรยากหรือไม่ มาดูรายละเอียดกันว่า การมีลูกยากนั้นคืออะไร

EP1: จะรู้ได้ยังไงว่ามีลูกยาก? Q&A “ถามตอบกับคุณหมอต้น”

https://youtube.com/watch?v=hfPq4YSY14c

มีลูกยาก หรือ ภาวะการมีบุตรยาก คืออะไร

การมีบุตรยาก (infertility) คือ ภาวะที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในเวลาที่สมควร โดยหลักทางการแพทย์จะถือว่าผู้ที่อายุเกิน 35 ปี หรือผู้ที่ปล่อยตามธรรมชาติมากเกินกว่า 1 ปี (โดยไม่สนใจอายุ) แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ถือว่าเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก มีปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จุดใดจุดนึง ควรรีบปรึกษาแพทย์

สาเหตุ ของการมีบุตรยาก มีลูกยาก เกิดจากอะไร เพราะอะไรถึงเป็น?

ปกติสาเหตุของภาวะมีบุตรยากจะเกิดจาก

  • ฝ่ายหญิง 40%

  • ฝ่ายชาย 25%

  • เกิดจากทั้งสองฝ่าย 20%

  • ไม่พบสาเหตุอีก 15%

ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและแก้ไขได้ตรงจุดเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้หญิง

ปัญหาการมีบุตรยากที่สาเหตุมาจากฝ่ายหญิงมีหลากหลายปัจจัยเพราะการตั้งครรภ์ใช้เวลาส่วนใหญ่ของกระบวนการในร่างกายฝ่ายหญิงมากกว่า

สามารถแบ่งหลักๆได้ 2 ปัจจัย

  • เซลล์ไข่ฝ่ายหญิงปัญหาที่เกิดจากเซลล์ไข่ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการปฏิสนธิกับอสุจิถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาวะการตั้งครรภ์โดยเซลล์ไข่จะมีภาวะที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดในช่วงการเจริญพันธุ์หากอายุผ่านไปมากกว่า 30 ปีแล้ว ก็จะทำให้คุณภาพใครเสื่อมลงและมีจำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว


อาการที่มักพบคือ

– ไข่ตั้งต้นเหลือน้อย
– ไข่ไม่สมบูรณ์
– เปลือกไข่หนา
– ไข่ฝ่อ

  • มดลูกฝ่ายหญิงปัญหาจากฝ่ายหญิงสิ่งที่สองคือ มดลูก ที่ซึ่งเป็นที่เดินทางของอสุจิและเป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเอง หากท่อนำไข่เกิดการอุดตันอสุจิไม่สามารถเดินทางมาหาเซลล์ไข่ได้ก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ (สามารถตรวจได้โดยการฉีดสีดูท่อนำไข่) หรือในตัวของมดลูกเองหากภายในเกิดเนื้องอกหรือซีสต์ มีสิ่งแปลกปลอม นี่ก็จะเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ไม่ตั้งครรรภ์ได้ (สามารถตรวจได้โดย การ Ultrasound ตรวจภายใน)

ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้ชาย

ปัญหาการมีบุตรยากไม่ใช่สาเหตุที่เกิดมาจากเพียงแค่ฝ่ายหญิงเท่านั้นมีส่วนหนึ่งที่เกิดมาจากฝ่ายชาย โดยฝ่ายชายอาการที่มักพบได้บ่อยคือ อสุจิไม่แข็งแรง ไม่พบตัวอสุจิ หรือ รูปร่างไม่สมบูรณ์เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ และการตรวจว่าฝ่ายชายมีความผิดปกติหรือไม่ สามารถตรวจได้จาก “การตรวจคุณภาพอสุจิ” แพทย์จะพิจารณาจากผลตรวจโดยรวมเกี่ยวกับจำนวนตัวหรือความแข็งแรงมากพอที่จะเจาะทะลุไข่ได้หรือไม่

ภาวะมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุสามารถพบได้ประมาณ 10% ในคู่สมรสที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ หากได้มีการเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ เช่น ตรวจคุณภาพของอสุจิ ตรวจความผิดปกติบริเวณมดลูกหรือตรวจหาภาวะโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นต้น กรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการฉีดเชื้อ (IUI) ก่อนหากยังไม่ประสบความสำเร็จจะพิจารณาทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF/ICSI ) เป็นลำดับต่อไป

วิธีการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

เข้ามาปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจประเมิน ดังนี้

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากฝ่ายหญิง

  • การตรวจ Ultrasound ภายในเพื่อเช็ค ผนังมดลูก หรือความผิดปกติของมดลูกและรังไข่

  • ตรวจฮอร์โมน ยกตัวอย่างเช่น ตรวจฮอร์โมน AMH หรือ Anti-Müllerian hormone คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากใข่ใบเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ของผู้หญิงในขณะนั้น (การตรวจ AMH คือการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ซึ่งระดับเลือดของฮอร์โมนนี้สามารถบ่งบอกว่ามีจำนวนไข่เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด การตรวจ AMH ถือเป็นวิธีการชี้วัดปริมาณไข่ที่มีอยู่ในรังไข่ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากฝ่ายชาย

  • ตรวจคุณภาพอสุจิ เพื่อเช็คว่าจำนวนอสุจิมีตรงตามมาตรฐานหรือไม่ แล้วตัวอสุจิที่มีอยู่นั้นแข็งแรงขนาดไหน

โดยทั้งหมดนี้จะเป็นการประเมินภาวะมีบุตรยากได้ หลังจากตรวจประเมินแล้วแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามบุคคลไป

ภาวะการมีบุตรยากวิธีแก้ไข แนวทางการรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง

1. IUI

วิธีนี้ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติเพียงแต่แพทย์จะจ่ายยาเพื่อให้เซลล์ไข่มีขนาดที่ใหญ่และจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงมีการคัดเชื้ออสุจิเอาเฉพาะที่แข็งแรง ฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพิ่มโอกาสให้อสุจิว่ายเข้าใกล้เซลล์ไข่มากขึ้น

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 10-15%

อ่านเพิ่มเติม : IUI คืออะไร?


2. IVF/ICSI เด็กหลอดแก้ว

เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการทำกิ๊ฟท์สมัยก่อน แต่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าแถมไม่ต้องผ่าหน้าท้อง โดยการฉีดยาเพื่อกระตุ้นเซลล์ไข่เป็นเวลา 10-12 วัน แล้วเจาะเอาเซลล์ไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิภายในห้องแล็บ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อนและย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญฺงเจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 70-80%

อ่านเพิ่มเติม

3. ฝากไข่ ก่อนอายุจะมากขึ้น

ฝากไข่ คือ การนำเซลล์ไข่ที่ผู้หญิงที่มีในร่างกายออกมาแช่แข็งไว้เพื่อหยุดอายุเซลล์สืบพันธ์ ป้องกันการเสื่อมสภาพตามอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ยิ่งเสื่อมลงเป็นปัญหาทำให้มีลูกยากและเด็กที่เกิดมาไม่แข็งแรง

ในปัจจุบันคู่สามีภรรยาในประเทศกำลังพัฒนา ประสบกับปัญหาด้านการมีบุตร ทั้งนี้ เป็นผลพวงมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแต่งงาน และมีลูกในช่วงอายุที่มากขึ้นการฝากไข่ไว้ก่อนในช่วงที่อายุยังไม่มากถือว่าเป็นอีกเทรนด์ที่สาวๆนิยมทำกันในช่วงนี้

รีวิวรักษามีบุตรยากแบบ IVF คุณปีโป้และคุณแคทตี้ที่ BeyondIVF

https://youtube.com/watch?v=mv5CnfhS3uc

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับปัญหาการมีลูกยาก

ผนังมดลูกหนา มีลูกยาก จริงไหม

จริง ขนาดที่เหมาะสมของผนังมดลูกต่อการมีบุตรคือ 8-10 มิลลิเมตร หากมากหรือน้อยกว่านั้นก็จะส่งผลต่อปัญหาการมีลูกยากได้ ในแต่ละกรณีควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

ช่องคลอดเป็นกรดเป็น ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม

จริง ในกรณี่พูดถึงความผิดปกติของช่องคลอดจะส่งผลให้เกิดปัญหาการมีลูกยากได้ ผู้หญิงจึงควรมีการตรวจ thin prep หรือเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเพื่อดูความปกติก่อนตั้งครรภ์

กินยาคุมนานทำให้เกิด ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

ไม่จริงการรับประทานยาคุมเป็นเวลานานไม่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาการมีลูกยาก

ไทรอยด์ เป็นปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

จริง ภาวะที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ส่งผลทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์แต่ไทรอยด์นั้นมีหลายประเภท จึงควรปรึกษาแพทย์ทั้งแพทย์ที่รักษาไทรอยด์และแพทย์รักษามีบุตรยากควบคู่กันไป ไม่ควรหยุดยาหรือการรักษาด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม : เป็นไทรอยด์ มีลูกยากจริงไหม?

ฮอร์โมนเพศชายเยอะเป็น ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

จริง เพราะการมีบุตรประกอบด้วยฮอร์โมนถึง 6 ตัวหากมีตัวใดผิดปกติส่งผลให้เกิดปัญหามีลูกยากได้


สรุป

หากท่านใดต้องเจอภาวะมีบุตรยากแนะนำให้รีบเข้าพบพทย์เพื่อเข้าตรวจเช็คร่างายเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดรวมไปถึงวางแผนการรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ในทางการแพทย์นั้นค่อนข้างก้าวไปไกลมากถึงวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากหลากหลายวิธีที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้โดยจะต้องขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ปัญหา โดยแพท์จะพิจารณาให้เข้ากับคนไข้แต่ละคนมากที่สุด

หากท่านไหนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf

Other success stories

Updates

ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) คืออะไร? เรื่องน่ารู้เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก

Read the story
Updates

What is IUI - Procedures, Success Rates, and Costs

Read the story
Updates

Infertility: Causes, Symptoms, Tests, and Treatments

Read the story
Updates

เด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร? ต่างกับ อิ๊กซี่ ICSI ไหม ต้องรู้อะไรอีกบ้างก่อนทำ

Read the story

The Biological Clock

This tool indicates:

  • Natural conception per month if you have no fertility issues
  • IVF success rate at the same age
  • When to seek help after months of unsuccessful attempts

If you are concerned at any stage – we recommend booking a doctor appointment or a free nurse consultation. The sooner you make a plan the better your chances in the long term.

When to seek advice early

  • If you have polycystic ovaries, endometriosis, or have been through a cancer diagnosis; we recommend you get in touch quickly so we can talk you through all your options and give you the greatest possible chance of success.
  • If you’re a single woman considering motherhood in the future; it’s best to approach us early and consider egg freezing as this can be an option for you while you have a higher ovarian reserve and healthier eggs.
Set your age and the months you’ve been trying to conceive
26
2
Your chance of having a baby per month for fertile couples
Your chance of having a baby per IVF cycle (if experiencing infertility)

Body Mass Index calculator

Being overweight or underweight can reduce fertility, so it is important to keep your body weight within the normal healthy range.

Body Mass Index (BMI) is an indication of your body weight and can be calculated by dividing weight by height. You should aim for a BMI of between 20 and 25, as this will optimise your chances of conception.

Woman’s BMI below 19

Even in these modern times, nature knows best. If a woman's BMI falls below 19, the body senses famine and ovulation is switched off to prevent the risk of having a baby with malnutrition. Excessive exercise can reduce body fat and increase muscle mass to a point where periods cease for the same reason. Risk of miscarriage is also increased in women with a low BMI.

Being underweight

If a woman's BMI falls below 19, the body senses famine and ovulation is switched off to prevent the risk of having a baby with malnutrition. Excessive exercise can reduce body fat and increase muscle mass to a point where periods cease for the same reason. Risk of miscarriage is also increased in women with a low BMI.

BMI’s greater than 30

This can reduce fertility by 50%. Pregnancy for women with a 30+ BMI is often associated with problems such as maternal diabetes, high blood pressure, big babies and increased risk of caesarean section.

Add your height and weight to calculate your BMI