Skip to content

อายุส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ก็เสื่อม ส่งผลให้มีลูกยากขึ้น

เครื่องมือที่มีประโยชน์
1

สำหรับผู้หญิง

โอกาสตั้งครรภ์จะลดลงเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงของการแท้งบุตรและความผิดปกติจะเพิ่มขึ้นด้วย แม้แต่กับผู้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยากก็ตาม หากคุณอายุมากขึ้นควรตั้งครรภ์ในการดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก

โอกาเกิดของทารกต่อเดือนโดยใช้วิธีการ IVF และวิธีธรรมชาติ (เปอร์เซ็นต์)
โอกาสเกิดของทารกต่อเดือนโดยใช้วิธีการ IVF และวิธีธรรมชาติ (เปอร์เซ็นต์)
2

การตรวจ Anti-Mullerian Hormone (AMH)

สำหรับผู้หญิงบางคน อายุเริ่มส่งผลตั้งแต่เนิ่น ๆ :

  • ผู้หญิงประมาณ 10% หมดประจำเดือนเร็วกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี หรืออายุประมาณ 45 ปี แทนที่จะเป็น 50 ปี

  • ผู้หญิงประมาณ 1% หมดประจำเดือนเร็วกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี หรืออายุประมา 35 ปี

การตรวจ AMH จึงมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่า ผู้หญิงคนนี้รังไข่จะเสื่อมก่อนวัยหรือไม่?

Ovarian Reserve เป็นคำที่ใช้กำหนดจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ของผู้หญิง

การตรวจฮอร์โมน Anti-Mullerian (AMH) เป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการประเมินคุณภาพของรังไข่และปริมาณของไข่ อาจบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงมีบุตรยากตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่การตรวจนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าใครมีภาวะมีบุตรยากสูงกว่าค่าเฉลี่ย และไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณรังไข่สำรองในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome - PCOS) ได้

การตรวจ Anti-Mullerian Hormone (AMH) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับการตรวจประเมินรังไข่และไข่

แนะนำให้เข้าตรวจ และการตรวจกับเราจะได้เข้าพบแพทย์เพื่ออ่านผลตรวจและประเมินการรักษา

  • การตรวจ AMH สามารถได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอประจำเดือน

  • ช่วยคาดการณ์จำนวนไข่ที่จะได้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

  • ดูแนวโน้มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติและมีบุตรยาก

  • ผลตรวจมักจะใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดเสร็จสิ้น แพทย์หรือพยาบาลจะแจ้งผลให้คุณทราบผ่านทางโทรศัพท์ หรือช่องทางที่คุณติดต่อ

  • การอ่านผล AMH ขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์ของคุณ ประวัติภาวะมีบุตรยากของครอบครัว ไลฟ์สไตล์ และการตรวจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก

การอ่านผล AMH

กราฟนี้ช่วยให้คุณเปรียบเทียบผลของคุณกับผู้หญิงในช่วงอายุเดียวกัน และช่วยคาดการณ์แนวโน้มของระดับ AMH ของคุณในอนาคต เราใช้ สีเขียว สีส้ม และสีแดง บนกราฟเพื่อแสดงค่าเฉลี่ยของระดับ AMH ต่อภาวะมีบุตรยากของคุณ

ตรวจไวรู้ตัวไว รักษาได้ไว!

          หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจ AMH หรือเคยตรวจแล้วต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถติดต่อเราเพื่อนัดหมายได้เลย          

โอกาเกิดของทารกต่อเดือนโดยใช้วิธีการ IVF และวิธีธรรมชาติ (เปอร์เซ็นต์)

3

สำหรับผู้ชาย

        แม้ว่าอายุผู้ชายจะไม่ได้ส่งผลต่ออสุจิมาก แต่ก็มีผล การตั้งครรภ์ที่เกิดจากผู้ชายสูงอายุ มักจะมีความผิดปกติบางประเภทในเด็ก เช่น พบโรคออทิสติกสูงกว่าปกติ ความเสี่ยงโดยรวมที่เด็กจะมีความพิการแต่กำเนิดอย่างร้ายแรง

แต่การตรวจไวอาจทำให้พบบางปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพหรือการมีบุตรยากได้ ดังนั้น หากลังเลว่า มีบุตรยากหรือไม่ ตรวจดีไหม ควรรีบเข้ารับการกตรวจ

เมื่อไหร่ควรเข้าพบแพทย์?

หลายคนอาจจะลังเล กลัวการพบหมอแต่อยากปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก

เรามีบริการนี้เพื่อคุณสามารถนัดพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาวะมีบุตรยากฟรี 15 นาที โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จองเลย

4

คำถามที่พบบ่อย

ฉันควรถามอะไรกับแพทย์บ้างในการนัดปรึกษาครั้งแรก?

นี่คือรายการคำถามที่คุณอาจต้องการถามในนัดพบครั้งแรก:

  • ฉันควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ (เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ ฯลฯ)? การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยได้อย่างไร?
  • ทีมแพทย์ที่ดูแลฉันมีใครบ้าง? หากฉันมีคำถาม ควรติดต่อใคร?

ฉันจะตรวจ AMH ได้อย่างไร?

สามารถตรวจฮอร์โมน AMH ได้ทุกสาขา ซึ่งผลตรวจมักจะใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดเสร็จสิ้น แพทย์หรือพยาบาลจะแจ้งผลให้คุณทราบผ่านทางโทรศัพท์ หรือช่องทางที่คุณติดต่อ

ฉันจะอ่านผลการตรวจ AMH ได้อย่างไร?

เหมือนกับการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์อื่น ๆ การตรวจ AMH ไม่ได้แค่ให้คำตอบที่ชัดเจนเพียงอย่างเดียว เราจะนำผลการตรวจ AMH มาวางบนกราฟ (ดูด้านบน) ที่แสดงค่าตัดเฉลี่ยที่ 10th, 25th, 50th และ 75th เปอร์เซ็นไทล์สำหรับ AMH ของผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาที่คลินิก ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบผลการตรวจของคุณกับผู้หญิงในวัยเดียวกันและช่วยคาดการณ์ว่าระดับ AMH ของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต เราได้ทำการระบายสีในกราฟเป็นสีเขียว ส้ม และแดง เพื่อแสดงผลกระทบเฉลี่ยจากระดับ AMH ของคุณ

ถ้าหากฉันไม่มีอสุจิจะเป็นอย่างไร?

ในกรณีเช่นนี้ เราจะทำการตรวจสอบและทดสอบเลือดและพันธุกรรม หากเป็นไปได้ เราสามารถพยายามเก็บอสุจิจากอัณฑะโดยตรง อสุจินี้จะถูกนำไปใช้ในการผสมกับไข่ที่เก็บจากรอบการทำ IVF

พร้อมที่จะเริ่มการเดินทางด้านการรักษามีบุตรยากของคุณแล้วหรือยัง?

จองคิวปรึกษาทางโทรศัพท์ฟรี 15 นาที กับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยากของเรา

จองตอนนี้

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ