มีบุตรยาก

ภาวะการมีลูกยากหรือภาวะมีบุตรยาก (infertility) ปัญหาที่คู่รักหลายคู่กำลังเจออยู่พยายามมีบุตรมานานหลายปีไร้วี่แววการตั้งครรภ์ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้ไม่รู้ต้องเริ่มการ รักษายังไงสามารถหาคำตอบได้เลยที่นี่

ปัญหาการมีลูกยาก (infertility)

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องมีบุตรยากไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป สถานการณ์การมีบุตรยากของคนไทยในปัจจุบันพบมากถึง 12 ล้านคน แต่หลายคนยังไม่แน่ใจว่าปัญหาที่ตัวเองพบหรือภาวะที่ตัวเองกำลังประเชิญอยู่ถือว่ามีบุตรยากหรือไม่ มาดูรายละเอียดกันว่า การมีลูกยากนั้นคืออะไร

มีลูกยาก หรือ ภาวะการมีบุตรยาก คืออะไร

การมีบุตรยาก (infertility) คือ ภาวะที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในเวลาที่สมควร โดยหลักทางการแพทย์จะถือว่าผู้ที่อายุเกิน 35 ปี หรือผู้ที่ปล่อยตามธรรมชาติมากเกินกว่า 1 ปี (โดยไม่สนใจอายุ) แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ถือว่าเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก มีปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จุดใดจุดนึง ควรรีบปรึกษาแพทย์

อยากมีลูก แต่ไม่ท้องสักที ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก ก่อนถึงวัยมีลูกยาก

สาเหตุ ของการมีบุตรยาก มีลูกยาก เกิดจากอะไร เพราะอะไรถึงเป็น?

ปกติสาเหตุของภาวะมีบุตรยากจะเกิดจาก

  • ฝ่ายหญิง 40% 
  • ฝ่ายชาย 25% 
  • เกิดจากทั้งสองฝ่าย 20% 
  • ไม่พบสาเหตุอีก 15% 

ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและแก้ไขได้ตรงจุดเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้หญิง

ปัญหาการมีบุตรยากที่สาเหตุมาจากฝ่ายหญิงมีหลากหลายปัจจัยเพราะการตั้งครรภ์ใช้เวลาส่วนใหญ่ของกระบวนการในร่างกายฝ่ายหญิงมากกว่า

สามารถแบ่งหลักๆได้ 2 ปัจจัย

  • เซลล์ไข่ฝ่ายหญิงปัญหาที่เกิดจากเซลล์ไข่ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการปฏิสนธิกับอสุจิถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาวะการตั้งครรภ์โดยเซลล์ไข่จะมีภาวะที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดในช่วงการเจริญพันธุ์หากอายุผ่านไปมากกว่า 30 ปีแล้ว ก็จะทำให้คุณภาพใครเสื่อมลงและมีจำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว


อาการที่มักพบคือ

– ไข่ตั้งต้นเหลือน้อย
– ไข่ไม่สมบูรณ์
– เปลือกไข่หนา
– ไข่ฝ่อ

อ่านเพิ่มเติม : เซลล์ไข่เสื่อมก่อนวัยทำให้มีลูกยากจริงหรือไม่?

  • มดลูกฝ่ายหญิงปัญหาจากฝ่ายหญิงสิ่งที่สองคือ มดลูก ที่ซึ่งเป็นที่เดินทางของอสุจิและเป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเอง หากท่อนำไข่เกิดการอุดตันอสุจิไม่สามารถเดินทางมาหาเซลล์ไข่ได้ก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ (สามารถตรวจได้โดยการฉีดสีดูท่อนำไข่) หรือในตัวของมดลูกเองหากภายในเกิดเนื้องอกหรือซีสต์ มีสิ่งแปลกปลอม นี่ก็จะเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ไม่ตั้งครรรภ์ได้ (สามารถตรวจได้โดย การ Ultrasound ตรวจภายใน)


อ่านเพิ่มเติม : มดลูกสำคัญแค่ไหนต่อการมีลูก

ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้ชาย

ปัญหาการมีบุตรยากไม่ใช่สาเหตุที่เกิดมาจากเพียงแค่ฝ่ายหญิงเท่านั้นมีส่วนหนึ่งที่เกิดมาจากฝ่ายชาย โดยฝ่ายชายอาการที่มักพบได้บ่อยคือ อสุจิไม่แข็งแรง ไม่พบตัวอสุจิ หรือ รูปร่างไม่สมบูรณ์เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ และการตรวจว่าฝ่ายชายมีความผิดปกติหรือไม่ สามารถตรวจได้จาก “การตรวจคุณภาพอสุจิ” แพทย์จะพิจารณาจากผลตรวจโดยรวมเกี่ยวกับจำนวนตัวหรือความแข็งแรงมากพอที่จะเจาะทะลุไข่ได้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม : รายละเอียดการตรวจคุณภาพอสุจิ

ภาวะมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุสามารถพบได้ประมาณ 10% ในคู่สมรสที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ หากได้มีการเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ เช่น ตรวจคุณภาพของอสุจิ ตรวจความผิดปกติบริเวณมดลูกหรือตรวจหาภาวะโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นต้น กรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการฉีดเชื้อ (IUI) ก่อนหากยังไม่ประสบความสำเร็จจะพิจารณาทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF/ICSI ) เป็นลำดับต่อไป

วิธีการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

เข้ามาปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจประเมิน ดังนี้

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากฝ่ายหญิง

  • การตรวจ Ultrasound ภายในเพื่อเช็ค ผนังมดลูก หรือความผิดปกติของมดลูกและรังไข่
  • ตรวจฮอร์โมน ยกตัวอย่างเช่น ตรวจฮอร์โมน AMH หรือ Anti-Müllerian hormone คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากใข่ใบเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ของผู้หญิงในขณะนั้น (การตรวจ AMH คือการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ซึ่งระดับเลือดของฮอร์โมนนี้สามารถบ่งบอกว่ามีจำนวนไข่เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด การตรวจ AMH ถือเป็นวิธีการชี้วัดปริมาณไข่ที่มีอยู่ในรังไข่ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากฝ่ายชาย

  • ตรวจคุณภาพอสุจิ เพื่อเช็คว่าจำนวนอสุจิมีตรงตามมาตรฐานหรือไม่ แล้วตัวอสุจิที่มีอยู่นั้นแข็งแรงขนาดไหน

โดยทั้งหมดนี้จะเป็นการประเมินภาวะมีบุตรยากได้ หลังจากตรวจประเมินแล้วแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามบุคคลไป

ภาวะการมีบุตรยากวิธีแก้ไข แนวทางการรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง

1. IUI

วิธีนี้ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติเพียงแต่แพทย์จะจ่ายยาเพื่อให้เซลล์ไข่มีขนาดที่ใหญ่และจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงมีการคัดเชื้ออสุจิเอาเฉพาะที่แข็งแรง ฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพิ่มโอกาสให้อสุจิว่ายเข้าใกล้เซลล์ไข่มากขึ้น

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 10-15%

อ่านเพิ่มเติม : IUI คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? คนมีลูกยากควรรู้ เพิ่มโอกาสมีลูก

2. IVF/ICSI เด็กหลอดแก้ว

icsi

เป็นวิธีที่พัฒนามาจากการทำกิ๊ฟท์สมัยก่อน แต่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าแถมไม่ต้องผ่าหน้าท้อง โดยการฉีดยาเพื่อกระตุ้นเซลล์ไข่เป็นเวลา 10-12 วัน แล้วเจาะเอาเซลล์ไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิภายในห้องแล็บ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อนและย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญฺงเจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป

โอกาสสำเร็จในวิธีนี้คือ 70-80%

อ่านเพิ่มเติม

3. ฝากไข่ ก่อนอายุจะมากขึ้น

ฝากไข่ คือ การนำเซลล์ไข่ที่ผู้หญิงที่มีในร่างกายออกมาแช่แข็งไว้เพื่อหยุดอายุเซลล์สืบพันธ์ ป้องกันการเสื่อมสภาพตามอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ยิ่งเสื่อมลงเป็นปัญหาทำให้มีลูกยากและเด็กที่เกิดมาไม่แข็งแรง

ในปัจจุบันคู่สามีภรรยาในประเทศกำลังพัฒนา ประสบกับปัญหาด้านการมีบุตร ทั้งนี้ เป็นผลพวงมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแต่งงาน และมีลูกในช่วงอายุที่มากขึ้นการฝากไข่ไว้ก่อนในช่วงที่อายุยังไม่มากถือว่าเป็นอีกเทรนด์ที่สาวๆนิยมทำกันในช่วงนี้

อ่านเพิ่มเติม : ฝากไข่ คืออะไร? มีขั้นตอน วิธีการทำอย่างไร แนะนำโดยคุณหมอ

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับปัญหาการมีลูกยาก

ผนังมดลูกหนา มีลูกยาก จริงไหม

จริง ขนาดที่เหมาะสมของผนังมดลูกต่อการมีบุตรคือ 8-10 มิลลิเมตร หากมากหรือน้อยกว่านั้นก็จะส่งผลต่อปัญหาการมีลูกยากได้ ในแต่ละกรณีควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

อ่านเพิ่มเติม : ผนังมดลูกหนา มีลูกยากจริงไหม?

ช่องคลอดเป็นกรดเป็น ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม

จริง ในกรณี่พูดถึงความผิดปกติของช่องคลอดจะส่งผลให้เกิดปัญหาการมีลูกยากได้ ผู้หญิงจึงควรมีการตรวจ thin prep หรือเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเพื่อดูความปกติก่อนตั้งครรภ์

กินยาคุมนานทำให้เกิด ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

ไม่จริงการรับประทานยาคุมเป็นเวลานานไม่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาการมีลูกยาก

อ่านเพิ่มเติม : กินยาคุมมานานทำให้เกิดปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

ไทรอยด์ เป็นปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

จริง ภาวะที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ส่งผลทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์แต่ไทรอยด์นั้นมีหลายประเภท จึงควรปรึกษาแพทย์ทั้งแพทย์ที่รักษาไทรอยด์และแพทย์รักษามีบุตรยากควบคู่กันไป ไม่ควรหยุดยาหรือการรักษาด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม : เป็นไทรอยด์ มีลูกยากจริงไหม?

ฮอร์โมนเพศชายเยอะเป็น ปัญหาการมีลูกยาก จริงไหม?

จริง เพราะการมีบุตรประกอบด้วยฮอร์โมนถึง 6 ตัวหากมีตัวใดผิดปกติส่งผลให้เกิดปัญหามีลูกยากได้

อ่านเพิ่มเติม : ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายเยอะ มีลูกยากจริงไหม?

สรุป

หากท่านใดต้องเจอภาวะมีบุตรยากแนะนำให้รีบเข้าพบพทย์เพื่อเข้าตรวจเช็คร่างายเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดรวมไปถึงวางแผนการรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ในทางการแพทย์นั้นค่อนข้างก้าวไปไกลมากถึงวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากหลากหลายวิธีที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้โดยจะต้องขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ปัญหา โดยแพท์จะพิจารณาให้เข้ากับคนไข้แต่ละคนมากที่สุด

หากท่านไหนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf