Skip to content

LGBTQIA+

การรักษาเซลล์สืบพันธุ์ของ LGBTQIA+ ก่อนแปลงเพศ หรือการเตรียมมีบุตรในอนาคต

เครื่องมือที่มีประโยชน์
1

การวางแผนอนาคตสำหรับกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ต้องการมีบุตร

ในปัจจุบัน การสร้างครอบครัวไม่ได้จำกัดอยู่เพียงคู่รักชาย-หญิงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ต้องการมีบุตร อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่วางแผนจะ แปลงเพศ (Gender Affirming Surgery) หรือมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ในอนาคต การรักษาเซลล์สืบพันธุ์ไว้ล่วงหน้ากลายเป็นทางเลือกสำคัญ

ข้อควรรู้ความจำเป็นในการรักษาเซลล์สืบพันธุ์ก่อนการแปลงเพศ

การแปลงเพศเป็นกระบวนการที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์อย่างถาวร

  • หญิงเป็นชาย (FTM - Female to Male): เมื่อเข้าสู่กระบวณการแปลงเพศจะมีการใช้ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ซึ่งส่งผลให้ไข่หยุดเจริญเติบโต และหากมีการตัดมดลูกและรังไข่ออก ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก

  • ชายเป็นหญิง (MTF - Male to Female): เมื่อเข้าสู่กระบวณการแปลงเพศจะมีการใช้ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) ส่งผลให้การสร้างอสุจิลดลงหรือหยุดลง และหากมีการผ่าตัดแปลงอวัยวะเพศถาวร ก็จะไม่สามารถผลิตอสุจิได้อีก ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้

ดังนั้น การ ฝากไข่ (Egg Freezing) หรือ ฝากอสุจิ (Sperm Freezing) จึงเป็นแนวทางที่ช่วยรักษาเซลล์สืบพันธุ์ไว้ได้ ก่อนเริ่มกระบวนการแปลงเพศจึงควรเข้าปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อวางปผนการมีบุตรในอนาคต

2

ทำไมคู่รัก LGBTQIA+ ยังไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยวิธีรักษามีบุตรยาก (IUI, IVF, ICSI)

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดกว้างสำหรับ LGBTQIA+ แต่ในทางกฎหมาย การเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology - ART) ยังคงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในกรณีของการทำ IVF (In Vitro Fertilization - เด็กหลอดแก้ว)

  • กฎหมายปัจจุบัน (พ.ศ. 2558): อนุญาตให้คู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (ชาย-หญิง) เท่านั้น ที่สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้

  • LGBTQIA+ และคู่รักเพศเดียวกัน: แม้ว่าจะมีทะเบียนสมรสแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำ IVF ได้ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน

  • การฝากไข่และอสุจิ: ปัจจุบัน สามารถทำได้ แม้ว่าจะยังไม่สามารถใช้เพื่อทำเด็กหลอดแก้วได้ แต่สามารถเก็บรักษาไว้เพื่อรอการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายในอนาคต

3

ทางเลือกในการรักษาเซลล์สืบพันธุ์สำหรับ LGBTQIA+

การฝากไข่ (Egg Freezing)

การฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation) การฝากไข่คือ การกระตุ้นนำเซลล์ไข่ออกมาแช่แข็งไว้เพื่อหยุดอายุเซลล์สืบพันธุ์ ในกรณีที่ กลุ่ม หญิงเป็นชาย (FTM - Female to Male) ต้องการวางแผนมีบุตรในอนาคต ก่อนแปลงเพศและทำการใช้ฮอร์โมน ควรเข้ามาดเก็บไข่ แช่แข็งไว้ก่อน เพื่อในวันข้างหน้าจะสามารุมีบุตรที่เป็นเลือดเนื้อของตัวเองได้ โดยไม่ต้องใช้ไข่บริจาค

การฝากไข่ (Egg Freezing)

กระบวนการฝากไข่สำหรับบุคคลที่ต้องการแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย (FTM - Female to Male)

  1. เข้าปรึกษาแพทย์ที่คลินิกรักษามีบุตรยากเฉพาะทาง แจ้งความประสงค์เกี่ยวกับความต้องการวางแผนมีบุตรในอนาคต โดยหากมีการใช้ฮอร์โมน หรือรับประทานวิตามินใดอยู่ควรแจ้งแพทย์

  2. ตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อม โดยมากจะเป็นการตรวจภายในผ่านทางช่องคลอกเพื่อดูความผิดปกติภายในมดลูกและประเมินเกี่ยวกับ รังไข่ รวมถึงจะมีการตรวจฮอร์โมนเพื่อเช็คดูการทำงานของรังไข่

  3. เมื่อประเดือนมา จะเริ่มกระบวณการฝากไข่ โดยฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่เป็นประจำทุกวัน ประมาณ 13 วัน ตามแผนการรักษาของแพทย์

  4. ระหว่างฉีดยากระตุ้นแพทย์จะนัดหมายเพื่อเข้ามาตรวจดูการตอบสนองของไข่จากการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่

  5. เมื่อแพทย์เห็นสมควรว่าคนไข้ได้ไข่ขนาดที่เหมาะสม จะทำการนัดเก็บไข่โดยมีการเตรียมตัว งดน้ำงดอาหาร 6-8ชั่วโมง และให้ยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์

  6. เมื่อเก็บไข่ออกมา นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางจะทำการคัดแยกและนำไปแช่แข็งต่อไป

  7. หลังจากเก็บไข่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ งดออกกำลังกายหนักในช่วงแรกเท่านั้น

ข้อควรรู้ของการฝากไข่ (Egg Freezing)

  • หากวันนึงที่ต้องการมีบุตร สามารถทำได้โดยวิธี IVF-ICSIเด็กหลอดแก้ว เท่านั้น

  • เซลล์ไข่จะไม่สามารถขาย ซื้อ หรือทำการค้าขายได้

  • เซลล์ไข่ไม่สามารถย้ายข้ามประเทศได้

การฝากอสุจิ (Sperm Freezing)

กระบวนการฝากอสุจิสำหรับบุคคลที่ต้องการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง

  1. เข้าปรึกษาแพทย์ที่คลินิกรักษามีบุตรยากเฉพาะทาง แจ้งความประสงค์เกี่ยวกับความต้องการวางแผนมีบุตรในอนาคต โดยหากมีการใช้ฮอร์โมน หรือรับประทานวิตามินใดอยู่ควรแจ้งแพทย์

  2. เตรียมตัวงดหลั่งอสุจิ 5-7 วัน หรือตามแพททย์กำหนด

  3. เมื่อถึงกำหนดเข้ามาเก็บอสุจิ ที่คลินิก

  4. นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางจะทำการคัดแยกและนำอสุจิไปแช่แข็งต่อไป

ข้อควรรู้ของการฝากอสุจิ (Egg Freezing)

  • หากวันนึงที่ต้องการมีบุตร สามารถทำได้โดยวิธี IVF-ICSIเด็กหลอดแก้ว เท่านั้น

  • อสุจิทจะไม่สามารถขาย ซื้อ หรือทำการค้าขายได้

  • อสุจิไม่สามารถย้ายข้ามประเทศได้

4

อนาคตของ LGBTQIA+ กับการมีบุตรในไทย

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และบางประเทศในยุโรป อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้ ในขณะที่ประเทศไทยได้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการสมรสเท่าเทียมและนำออกมาใช้ได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายการมีบุตรในอนาคต

พร้อมที่จะเริ่มการเดินทางด้านการรักษามีบุตรยากของคุณแล้วหรือยัง?

จองคิวปรึกษาทางโทรศัพท์ฟรี 15 นาที กับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยากของเรา

จองตอนนี้

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ