
ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ คือปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิงที่พบได้บ่อยๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะนี้มีหลายสาเหตุหลายปัจจัย วันนี้ทางเราจะมาพูดถึงสาเหตุของภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากอะไร มีอาการบ่งบอกไหม มีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ มีวิธีรักษาและวิธีป้องกันอย่างไร
สารบัญบทความ
สารบัญบทความ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
- ชนิดของต่อมลูกหมากอักเสบ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
- ต่อมลูกหมากอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ อันตรายไหม
- การวินิจฉัยภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากต่อมลูกหมากอักเสบ
- วิธีรักษาอาการต่อมลูกหมากอักเสบ
- แนวทางการป้องกันโรคต่อมลูกหมากอักเสบ
- คำถามที่พบบ่อย
- ข้อสรุป
ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) คือ การติดเชื้อหรือการอักเสบบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดความปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้ทั่วไปในผู้ชายทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 ของผู้ชายอายุเกิน 50 ปี
ชนิดของต่อมลูกหมากอักเสบ
1. ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน
ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเฉียบพลัน ที่มักมีอาการรุนแรงเกิดขึ้นฉับพลัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะโดยผ่านจากท่อปัสสาวะเข้าสู่ต่อมลูกหมาก ในบางครั้งอาจจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและอาจจะไม่รู้สึกตัวซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นไม่ได้ไปรักษา และอาจจะทำให้เชื้อนั้นยากแก่การรักษาได้
2. ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
เชื้อแบคทีเรียค่อยๆ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ มักพบได้ในผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีประวัติทางเดินปัสสาวะอักเสบ อาการไม่รุนแรงแต่มักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนหรือนานกว่านั้น เช่น มีเลือดปนกับปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ รู้สึกเจ็บเมื่อถึงจุดสุดยอด
3. ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยสาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง เช่น อั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด โดยอาการไม่ค่อยรุนแรงนักแต่จะปรากฏอยู่อย่างน้อย 3 เดือน และอาจจะสลับกับอาการแสบขัดปัสสาวะอย่างรุนแรงหรือเจ็บปวดมากกว่าปกติเมื่อถึงจุดสุดยอดในบางครั้ง รวมทั้งอาการปวดหลัง ปวดท้อง ร่วมด้วย
4. ต่อมลูกหมากอักเสบโดยไม่มีอาการ
มักพบจากการนำชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจ หรือการเจาะเลือดเพื่อหาค่า PSA (Prostate-Specific Antigen) ซึ่งเป็นการตรวจหาค่าโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในต่อมลูกหมากซึ่งปกติจะมีในน้ำอสุจิ หากปนเปื้อนอยู่ในเลือด แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการต่อมลูกหมากอักเสบ โดยผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมา และต่อมลูกหมากอักเสบชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องรักษา มักตรวจเจอจากการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากหรือการตรวจโรคอื่น ๆ
ต่อมลูกหมากอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
อาการต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน
- ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย และหลังส่วนล่าง ซึ่งอาการปวดอาจรุนแรง
- มีอาการปวดขณะถ่ายหนัก
- ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะออกมามีสีขุ่น หรือปัสสาวะเป็นเลือด
- มีหนองในท่อปัสสาวะ สามารถสังเกตได้เมื่อมีของเหลวข้นออกจากท่อปัสสาวะ
- ปวดเมื่อยตัว รู้สึกไม่สบาย และมีไข้
อาการต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง
- ตรวจพบต่อมลูกหมากโต และเจ็บเมื่อสัมผัส
- ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย หลังส่วนล่าง
- ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางดึก รู้สึกปวดปัสสาวะแบบฉับพลัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย
- มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว รู้สึกเจ็บหรือปวดเมื่อถึงจุดสุดยอด ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงของต่อมลูกหมากอักเสบ ประกอบด้วย
- อายุระหว่าง 50-59 ปีหรือมากกว่า
- ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
- ใส่สายสวนปัสสาวะ
- มีภาวะปวดท้องหรือไม่สบายท้องเรื้อรัง
- เคยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน
- เคยเป็นต่อมลูกหมากอักเสบมาก่อน
- ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- เคยได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจ
ต่อมลูกหมากอักเสบ อันตรายไหม
การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังทำให้ สมรรถภาพทางเพศลดลง เนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วย
การวินิจฉัยภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ
1. การตรวจเลือด
ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสาเหตุการติดเชื้อ และความผิดปกติอื่น ๆ ของต่อมลูกหมาก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก
2. การตรวจปัสสาวะ
ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาร่องรอยของการติดเชื้อจากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย การตรวจปัสสาวะและเพาะเชื้อจากปัสสาวะ จะทำเพื่อยืนยันการอักเสบติดเชื้อ
3. การตรวจอัลตราซาวน์
อัลตราซาวน์ ultrasound มีประโยชน์ในกรณีรักษา ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อแล้วไม่ดีขึ้น เพื่อตรวจหาว่าเกิดก้อนหนอง (abscess) ในต่อมลูกหมากที่ต้องได้รับการผ่าตัดรักษาหรือไม่
4. การตรวจ CT Scan
แสดงภาพภายในระบบทางเดินปัสสาวะและต่อมลูกหมากด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการอัลตราซาวด์ที่เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการแสดงภาพ เพื่อตรวจดูว่าท่อปัสสาวะถูกกีดขวางหรือไม่ ในกรณีที่คนไข้ปัสสาวะแสบขัด
5. การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (digital rectal examination หรือ DRE) โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าทางทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมาก หากมีอาการเจ็บ อาจช่วยวินิจฉัยว่ามีการอักเสบเกิดขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากต่อมลูกหมากอักเสบ
การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น
- หนองบริเวณต่อมลูกหมาก
- ท่อนำอสุจิอักเสบ (Epididymitis)
- ติดเชื้อในกระแสเลือด
ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ สมรรถภาพทางเพศที่ลดลงเนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วยสำหรับผู้ที่อยากมีลูก
วิธีรักษาอาการต่อมลูกหมากอักเสบ
1. การรับประทานยาตามอาการ
การรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น อาการปวดอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงอาจใช้ยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในการบรรเทาอาการ ให้ยาคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะแก้อาการปัสสาวะขัด เป็นต้น
2. การทานยาปฏิชีวนะ
การใช้ยาปฏิชีวนะ จะฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมลูกหมาก เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
แนวทางการป้องกันโรคต่อมลูกหมากอักเสบ
ต่อมลูกหมากอักเสบไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ โดยวิธีการดังนี้
- แช่น้ำอุ่น ให้ผู้ป่วยนั่งแช่ก้นลงไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของระบบทางเดินปัสสาวะหรือช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
- สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือโรคทางเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระเทือนต่อมลูกหมากและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การปั่นจักรยาน การนั่งเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจทำให้ต่อมลูกหมากระคายเคือง หรืออักเสบได้
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มบางประเภท เช่น อาหารรสเปรี้ยวหรือเผ็ด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เพราะทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองได้
- ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยขับแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดต่อมลูกหมากอักเสบออกจากกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
คำถามที่พบบ่อย
ต่อมลูกหมากอักเสบ รักษาหายไหม?
การรักษาส่วนใหญ่จะได้ผลดีโดยใช้ยาปฏิชีวนะ และยารักษาตามอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ มีส่วนช่วยได้ และในบางรายที่รักษาไม่หายขาด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก
ต่อมลูกหมากอักเสบ กินยาอะไร?
สำหรับอาการที่รุนแรงมากจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ส่วนต่อมลูกหมากอักเสบที่ไม่ได้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียอาจจะให้เป็นยาบรรเทาอาการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือยาลดอาการปวดทั่วไป
ต่อมลูกหมากอักเสบ กี่วันหาย?
สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน มักให้การรักษา 2-4 สัปดาห์ สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อชนิดเรื้อรัง มักให้การรักษา 4-6 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 12 สัปดาห์
ข้อสรุป
ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) คือ การติดเชื้อและการอักเสบบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดจากต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อ ต่อมลูกหมากอักเสบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรีย อาการที่ปรากฎ เช่น ปวดอวัยวะเพศ ปวดอัณฑะ ปวดขณะถ่ายหนัก ปัสสาวะลำบาก มีหนองในท่อปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการต่อมลูกหมากอักเสบ คือ หนองบริเวณต่อมลูกหมาก ท่อนำอสุจิอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางในการรักษาจะเป็นการรับประทานยาตามอาการ และการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้หากคุณผู้ชายท่านไหนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf