Skip to content

ขั้นตอนการทำ IVF มีอะไรบ้าง?


เครื่องมือที่มีประโยชน์
1

นัดปรึกษาแพทย์

เมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่าต้องการคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับการมีบุตร แนะนำให้ติดต่อเราเพื่อนัดหมายเข้ามาปรึกษาแพทย์ (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย) ในขั้นตอนนี้ หากคุณมีผลเกี่ยวกับการผ่าตัดหรือการตรวจร่างกายที่ผ่านมา ควรนำมาด้วยเพื่อให้แพทย์ประเมินการรักษาได้ที่ดีที่สุด

หากไม่เคยตรวจร่างกายมาก่อน คุณควรเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อเช็คว่าเข้าข่ายมีบุตรยากหรือไม่? คุณสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้และเข้าตรวจร่างกายก่อนเข้าพบแพทย์ เมื่อผลการตรวจร่างกายออก ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้อ่านผลการรักษาให้ฟัง

สิ่งที่คุณจะได้รับในขั้นตอนนี้

  • แผนการรักษาจากแพทย์ว่าควรรักษาด้วยวิธีใด
  • คำแนะนำเกี่ยวกับราคาค่ารักษา
  • คำแนะนำเกี่ยวกับการชำระ (ค่ารักษาพยาบาลที่เป็นแพ็กเกจจะเป็นการแบ่งจ่ายได้ตามขั้นตอน)
2

เริ่มกระบวนการวันแรกของประจำเดือน

ทุกการรักษามีบุตรจะเริ่มต้นจากการมีวันแรกของประจำเดือนคุณผู้หญิง 

สำหรับการรักษาด้วยวิธี IVF-ICSI เด็กหลอดแก้ว เมื่อประจำเดือนมาวันแรกให้รีบติดต่อคลินิกทันที

เมื่อได้รับแผนการรักษาแล้วเริ่มฉีดยากระตุ้นตามคำสั่งของแพทย์ โดยการฉีดยากระตุ้นนั้นจะฉีดประมาณ 10 ถึง 13 วัน

3

ตรวจติดตาม

ระหว่างฉีดยากระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดคุณเข้ามาเพื่อติดตามการตอบสนองของไข่ที่มีต่อยากระตุ้นไข่ ประมาณ 2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์

4

เก็บไข่ และเก็บเชื้ออสุจิ

เมื่อได้จำนวนไข่และขนาดที่แพทย์เห็นสมควร จะนัดเข้ามาเพื่อทำการเก็บไข่และเก็บเชื้ออสุจิ

ในขั้นตอนนี้ ฝ่ายหญิงจะต้องได้รับการให้ยาสลบเพื่อเก็บไข่ เจ้าหน้าที่จะแนะนำถึงวิธีการเตรียมตัว เช่น การงดน้ำงดอาหาร เป็นต้น

เมื่อคุณผู้หญิงเข้ามาเก็บของคุณผู้ชายก็ต้องมาเก็บเชื้ออสุจิเช่นกัน โดยงดหลั่งอสุจิ ตามคำสั่งแพทย์

5

ICSI และเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อทำการเก็บไข่และอสุจิจากคนไข้แล้ว ทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จะนำมาคัดแยกคุณภาพ และนำมาปฏิสนธิกันด้วยเครื่อง ICSI ติดตามผลโดยนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง จนถึงตัวอ่อนระยะ Blastocyst (ตัวอ่อน 5 วัน ระยะที่แข็งแรงที่สุด)

6

ส่งตรวจโครโมโซม

เมื่อได้ตัวอ่อนระยะ Blastocyst คนไข้ต้องตัดสินใจร่วมกับแพทย์ว่าต้องการส่งตรวจโครโมโซมหรือไม่? เพราะมีระยะเวลาที่จำกัด

ข้อดีของการส่งต่อโครโมโซม

  • ดูความผิดปกติของโครโมโซมแบบทั่วไป ทั้ง 23 คู่
  • ป้องกันโรคดาวน์ซินโดรม โรคเอ๋อ และโรคปากแหว่งเพดานโหว่

หากต้องการส่งตรวจ นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางจะทำการตัดเซลล์ เพื่อส่งตรวจ (รอผลตรวจประมาณ 7 ถึง 14 วัน)

7

แช่แข็งตัวอ่อน

เมื่อได้ตัวอ่อนระยะ Blastocyst ตัวอ่อนจะไม่สามารถอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้เกิน 5 วัน ทำให้ต้องแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อใส่ในรอบประจำเดือนถัดไป

สำหรับจำนวนการแช่แข็งตัวอ่อน ทั้งคนไข้และแพทย์ควรปรึกษาร่วมกัน

8

เตรียมพร้อมใส่ตัวอ่อน

ในเดือนที่คนไข้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เมื่อประจำเดือนมาวันแรกให้รีบแจ้งคลินิกทันที เพื่อเริ่มรับประทานยาสำหรับเตรียมโพรงมดลูกและรอใส่ตัวอ่อนตามแผนการรักษาของแพทย์

9

การใส่ตัวอ่อน

สำหรับตัวอ่อนที่ต้องนำใส่กลับเข้าโพรงมดลูก แพทย์จะให้คำแนะนำว่าควรเลือกตัวอ่อนตัวไหน เพื่อได้เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้มากที่สุด และสำหรับขั้นตอนการใส่ตัวอ่อนไม่จำเป็นต้องได้รับยาสลบ จากนั้นหลังจากใส่ตัวอ่อนแล้วให้คนไข้นอนพักที่คลินิกเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

10

คำแนะนำหลังใส่ตัวอ่อน

หลังจากใส่ตัวอ่อนแล้วแพทย์แนะนำว่าสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ควรงดการออกกำลังกายหนัก โดยแผนการรักษาของแพทย์บางท่านจะได้รับยาเพื่อบำรุงร่างกายหรือนัดเข้ามาเพื่อตรวจติดตามอย่างละเอียดอีกครั้ง

คำถามที่พบบ่อย

Q : ควรนัดเข้าปรึกษาแพทย์วันไหน?

- แนะนำนัดก่อนประจำเดือนจะมา เพื่อรับแผนการเตรียมตัวเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจร่างกายและการเริ่มรักษา

Q : ขั้นตอนการทำ IVF-ICSI เด็กหลอดแก้วใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน?

- ในรอบประจำเดือนแรก สำหรับการกระตุ้นไข่ ใช้เวลาประมาณ 15 วัน

(เข้าพบแพทย์ประมาณ 5 ครั้ง ขึ้นอยู่กับแผนการการรักษา)

- ในรอบเดือนที่สองสำหรับการใส่ตัวอ่อน

(เข้าพบแพทย์ประมาณ 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับแผนการรักษา)

Q : หากอยู่ ต่างจังหวัดหรือ ต่างประเทศควรวางแผนการเดินทางอย่างไร?

- คลินิกของเรามีการให้บริการปรึกษาทางออนไลน์ สามารถปรึกษาแพทย์ รับแผนการรักษาเบื้องต้น วัน และเวลา ตามคำแนะนำของแพทย์ได้

11

ข้อมูลสำหรับคนไข้

พร้อมที่จะเริ่มการเดินทางด้านการรักษามีบุตรยากของคุณแล้วหรือยัง?

จองคิวปรึกษาทางโทรศัพท์ฟรี 15 นาที กับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยากของเรา

จองตอนนี้

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ