Skip to content

ทำความเข้าใจภาวะมีบุตรยาก

อายุ น้ำหนัก สุขภาพ และประวัติการรักษาของคุณ อาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากได้ การรู้วิธีรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยให้คุณตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น

Go to content

เครื่องมือที่มีประโยชน์
1

เรียนรู้ข้อมูล

เข้าใจภาวะมีบุตรยาก รู้ไว้ท้องไว

การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายและฮอร์โมน ช่วยให้เข้าใจสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น ผู้หญิงอายุ 35 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์ราว 15% ต่อเดือน และจะลดเหลือเพียง 5% เมื่ออายุ 40 ปี

สุขภาพโดยรวมก็มีผลเช่นกัน ทั้งน้ำหนักตัว อาหารที่รับประทาน รวมถึงประวัติสุขภาพที่ผ่านมา เพราะสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ แม้บางคนจะไม่มีสาเหตุชัดเจน แต่ก็ยังสามารถรักษาได้

หากคุณกำลังพยายามมีบุตรแต่ยังไม่สำเร็จ อย่ารู้สึกโดดเดี่ยว  ครอบครัวมากถึง 25% เผชิญกับภาวะนี้เช่นกัน

ข่าวดีคือ…คุณมาถูกทางแล้ว
ทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของเราพร้อมดูแลคุณด้วยแนวทางการรักษาระดับสากล และแผนเฉพาะบุคคล เพื่อเพิ่มโอกาสในการเริ่มต้นครอบครัวของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ในตอนนี้ คือการปรึกษาเรา
หากคุณต้องการความชัดเจนหรือรู้สึกกังวล เราพร้อมช่วยคุณทุกขั้นตอน

2

อายุกับภาวะมีบุตรยาก

อายุถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการมีลูก

  1. หากอายุน้อยและไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติประมาณ 25%
  2. อายุ 37 ปี มีโอกาส 12%
  3. อายุ 42 ปี มีโอกาส 5%

         ในปัจจุบัน ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีต้องการมีลูกคนแรกมากขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าจะเป็นไปได้ แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสต้องการได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์มากขึ้นเท่านั้น หากต้องการคำนวณโอกาสของคุณ สามารถตรวจสอบได้ที่ ‘นาฬิกาสุขภาพ’

แค่ไหนถึงควรพบแพทย์?

หลายคนกำลังตัดสินใจว่านานแค่ไหนถึงจะพบแพทย์ดี?

นาฬิกาสุขภาพออนไลน์สามารถบอกได้ว่า ควรต้องลองมีลูกด้วยวิธีการธรรมชาตินานแค่ไหนก่อนที่จะเข้าพบแพทย์ เพียงแค่กรอกอายุและระยะเวลาที่ปล่อยให้มีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมา จากนั้นนาฬิกาชีวิตจะบอกว่าเมื่อใดที่คุณควรเข้าพบแพทย์

หากตอนนี้คุณอายุ 30 ปีปลาย ๆ พยายามมาเป็นเวลา 6 เดือน แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และให้แพทย์ช่วยแนะแนวทางในการตั้งครรภ์ให้

อยากเพิ่มโอกาสมีลูกทำยังไง?

เริ่มจากการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่นอนหลับพักผ่อนเพราะพื้นฐานที่ดีจะส่งผลให้สุขภาพดี

รู้ทันก่อนรังไข่เสื่อม : ในปัจจุบันมีการตรวจหาภาวะมีบุตรยาก โดยประเมินจากประสิทธิภาพจากการทำงานของรังไข่ เรียกว่าการตรวจ Anti-Mullerian (AMH) ซึ่งการตรวจนี้สามารถช่วยประเมินความสามารถในการทำงานของรังไข่ หรือจำนวนไข่ที่เราน่าจะสามารถเก็บได้ในระหว่างรอบการทำ IVF และยังช่วยระบุผู้ที่อาจประสบปัญหาหมดประจำเดือนก่อนวัย เมื่อตรวจแล้วจำเป็นต้องได้รับการแปรผลโดยแพทย์ เพื่อแนะนำวิธีการรักษาต่อไป

Beyond IVF ช่วยคุณได้

เรามีการวางแผนใหม่ในทุกเคสการรักษาเพื่อการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ดูแลโดยแพทย์ทุกขั้นตอน

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก ยยังมีความกังวล สามารถคลายความกังวลได้ด้วยการปรึกษาแบบส่วนตัวกับผู้เชี่ยวชาญ ฟรี! 15 นาที ไม่ว่าจะเป็น ปัญหามีบุตรยากที่มี ควรเริ่มอย่างไร หรือค่าใช้จ่ายควรเตรียมตัวอย่างไร  หรือหากต้องการเข้าพบแพทย์สามารถนัดพบแพทย์และดูคลินิกของเรา

ติดต่อเราวันนี้ 02-114-7278

3

ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

พร้อมที่จะเริ่มการเดินทางด้านการรักษามีบุตรยากของคุณแล้วหรือยัง?

จองคิวปรึกษาทางโทรศัพท์ฟรี 15 นาที กับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยากของเรา

จองตอนนี้

นาฬิกาสุขภาพ

เครื่องมือนี้ระบุ :

  • โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในแต่ละเดือน หากไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในช่วงอายุเดียวกัน
  • ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพยายามตั้งครรภ์ไม่สำเร็จเป็นระยะเวลากี่เดือน

หากคุณกังวลไม่ว่าขั้นตอนใดก็ตาม เราขอแนะนำให้ลงนัดแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากพยาบาลฟรี ยิ่งคุณวางแผนได้เร็วเท่าไรโอกาสของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำ

  • หากคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเราทันที เพื่อที่เราจะได้อธิบายทางเลือกทั้งหมดและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้มากที่สุด
  • หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีสถานะโสดและกำลังพิจารณาว่าอยากมีลูกในอนาคต ควรเข้ามาปรึกษาเราแต่เนิ่น ๆ และพิจารณาการฝากไข่ (Egg Freezing) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงที่คุณยังมีไข่จำนวนมาก และสุขภาพของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
กำหนดอายุของคุณและระยะเวลาที่คุณพยายามตั้งครรภ์ (เป็นเดือน)
26
2
โอกาสในการมีบุตรต่อเดือนสำหรับคู่รักที่มีภาวะเจริญพันธุ์ปกติ
โอกาสในการมีบุตรต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หากมีภาวะมีบุตรยาก

เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)

การมีน้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์อาจจะลดความสามารถในการมีบุตรได้ ดังนั้น การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวบ่งชี้น้ำหนักตัวของคุณและสามารถคำนวณได้โดยการหารน้ำหนักด้วยส่วนสูง คุณควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20 ถึง 25 เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงต่ำกว่า 19

แม้ในยุคปัจจุบัน ธรรมชาติของร่างกายก็ยังรู้ดีที่สุด หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

น้ำหนักน้อยเกินไป

หากดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้หญิงต่ำกว่า 19 ร่างกายจะรับรู้ถึงภาวะขาดแคลนอาหารและจะหยุดการตกไข่เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ที่อาจทำให้ทารกขาดสารอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไปสามารถลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแท้งที่สูงขึ้นในผู้หญิงที่มี BMI ต่ำอีกด้วย

ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30

สิ่งนี้สามารถลดความสามารถในการมีบุตรได้ถึง 50% การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มี BMI สูงกว่า 30 มักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ทารกตัวใหญ่ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการผ่าคลอด

เพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อคำนวณดัชนีมวลกายของคุณ