ภาวะปากมดลูกตีบอาจฟังดูน่ากลัว ทำให้หลายคนจินตนาการเกิดความสงสัยและวิตกกังวลว่าหากมีภาวะปากมดลูกตีบเกิดขึ้นกับตนเอง นั้นยังจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่และระดับความรุนแรงของอาการมีมากน้อยแค่ไหน จำเป็นถึงขั้นต้องตัดมดลูกทิ้งเลยหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขปัญหาถึงสาเหตุและอาการของภาวะปากมดลูกตีบรวมถึงแนวทางในการรักษาและป้องกันให้ทราบค่ะ
ปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis)
ปากมดลูกตีบเกิดจากความผิดปกติบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิง โดยปากมดลูกจะมีลักษณะตีบหรือแคบลงปิดกั้นของเหลวหรือสารคัดหลั่งที่จะใหลออกมาในบริเวณนี้ จึงทำให้สารคัดหลั่งเหล่านี้ยังคงตกค้างอยู่ในบริเวณโพรงมดลูกได้ คนไข้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้อาจไม่พบอาการผิดปกติ หรือในคนไข้บางรายอาจพบอาการปวดที่มีความรุนแรงได้ เช่นกัน
อาการปากมดลูกตีบ
ความรุนแรงของอาการนั้นมักจะขึ้นอยู่กับว่าปากมดลูกนั้นมีลักษาณะที่ตีบมากน้อยแค่ไหน อาการที่สามาถพบได้มีดังนี้
- ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ
- ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- มีอาการอักเสบบริเวณโพรงมดลูก มีไข้
- คลำพบบางสิ่งคล้ายก้อนเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน
- ปวดท้องประจำเดือน
- มีบุตรยาก เกิดจากการที่อสุจิไม่สามารถเดินทางเข้าไปเจอไข่เพื่อปฏิสนธิได้
ปากมดลูกตีบเกิดจากสาเหตุใด
สาเหตุการเกิดภาวะปากมดลูกตีบ สามารถแบ่งออกได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
ปากมดลูกตีบแต่กำเนิด
ปากมดลูกตีบแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุของฝ่ายหญิง ที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยจะพัฒนาเฉพาะบริเวณมดลูกแต่บริเวณปากมดลูกไม่มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปด้วย
ปากมดลูกตีบจากสาเหตุอื่นๆ
หากไม่ใช่การตีบตันแต่ำเนิด ปากมดลูกสามารถเกิดการตีบตันได้จากหลายสาเหตุอีกหลายปัจจัยดังต่อไปนี้
- เกิดการอักเสบบริเวณโพรงมดลูกหรือปากมดลูก ทำให้เกิดผังผืดยึดเกาะที่บริเวณปากมดลูกจนเกิดการตีบตัน
- เกิดจากการเจริญเติบโตของเนื้อเยื้อที่ผิดปกติจนอุดตันบริเวณคอมดลูก กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก
- การฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุที่ทำให้บริเวณปากมดลูกเกิดการตีบตันได้
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลทำให้รูปากมดลูกมีความยืดหยุ่นน้อยและมักจะตีบแคบลง
- การฉีกขาดของเนื้อเยื้อบริเวณปากมดลูกจากการทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น การส่องกล้องโพรงมดลูก การขูดมดลูก
ปากมดลูกตีบกับภาวะมีบุตรยาก
คนไข้ที่ตรวจพบว่าบริเวณปากมดลูกนั้นมีการตีบตัน ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะประสบปัญหากับการมีบุตรยากตามมาด้วย เนื่องจากอสุจิไม่สามารถเดินทางเคลื่อนที่ไปเจอกับไข่ได้ที่บริเวณปลายท่อนำไข่ได้ แต่ในปัจจุบันคนไข้ที่มีภาวะปากมดลูกตีบตันสามารถรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการพึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ได้ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว โดยแบ่งเป็นการทำ IVF หรือ ICSI ในการรักษา
- IVF คือ การคัดเซลล์สืบพันธ์ุจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงออกมาผสมกันบนจานทดลองในห้องแล็บให้เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน ก่อนจะนำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปยังโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงให้เกิดการตั้งครรภ์ตามปกติ
- ICSI คือ การคัดเซลล์สืบพันธ์ุของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงออกมาผสมเทียม นั้นจะคล้ายกับการทำ IVF แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยโดยการนำเทคโนโลยีเครื่องICSI มาใช้ ด้วยการใช้เข็มเก็บเซลล์อสุจิแล้วเจาะเข้าเซลล์ไข่โดยตรง ให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง ก่อนจะเลี้ยงตัวอ่อนให้ได้ในระยะบลาสโตซิสต์ (ระยะที่ตัวอ่อนสมบูรณ์ที่สุด) ก่อนนำย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
การวินิจฉัยภาวะปากมดลูกตีบ
การวินิจฉัยว่าคนไข้มีอาการปากมดลูกตีบตันหรือไม่นั้น คุณหมอจะทำการตรวจในบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน เพื่อทดสอบและเเยกเซลล์มะเร็ง โดยวินิจฉัยตามอาการดังต่อไปนี้
- แพทย์ทำการซักประวัติคนไข้ เช่น
- คนไข้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือไม่
- ปวดท้องประจำเดือนหรือพบอาการขาดประจำเดือนหรือไม่
- เคยมีประวัติหัตถการที่บริเวณปากมดลูกมาก่อนหรือไม่ เช่น การขูดมดลูก การฉายแสงหรือรังสี
- คลำพบก้อนเนื้อบริเวณมดลูกหรือไม่
- แพทย์นำคนไข้ตรวจร่างกาย ตรวจภายในว่าปากมดลูกมีรูปร่างผิดปกติหรือไม่ หรือคลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย
- ส่งตรวจชิ้นเนื้อบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อแยกแยะเซลล์มะเร็ง โดยการตรวจ Pap หรือ HPV
การรักษาภาวะปากมดลูกตีบ
รูปแบบการรักษาจะแตกต่างกันออกไป โดยแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุ ระดับความรุนแรงของอาการ รวมถึงลักษณะการตีบของปากมดลูก
การถ่างขยายรูเพื่อเปิดปากมดลูก
ใช้ในกรณีที่คนไข้มีภาวะมดลูกตีบตั้งแต่กำเนิดหรือที่ไม่ได้มาจากสาเหตุเฉพาะอื่นๆ โดยการสอดแท่งโลหะเข้าไปบริเวณโพรงมดลูก จากนั้นใส่ตัวขยายเข้าไปเพื่อทำให้ปากมดลูกค่อยๆขยายและเปิดออก
การเลเซอร์
กรณีที่มีผังผืดปิดกั้นบริเวณปากมดลูกอยู่ แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้เครื่องเลเซอร์หรือไฟฟ้าในการจี้และตัดบริเวณผังผืดส่วนที่ปิดกั้นหรืออุดตันอยู่นั้นออกไป
ตัดมดลูก
หากแพทย์ประเมินว่าการตีบตันบริเวณปากมดลูกนั้นมีระดับที่รุนแรง สร้างความเจ็บปวด และไม่สามารถที่จะใช้เครื่องในการถ่างขยายบริเวณปากมดลูกได้ แพทย์จะพิจารณาร่วมกับคนไข้ว่าอาจจะต้องมีการตัดมดลูกทิ้ง
แนวทางดูแลตัวเองเมื่อพบอาการปากมดลูกตีบ
หากพบว่าตนเองมีอาการปากมดลูกตีบ สามารถดูแลตนเองเบื่องต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่รักษา
- ดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้
- หากพบว่าตนเองมีอาการที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์โดยด่วน
ป้องกันปากมดลูกตีบได้อย่างไร
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปากมดลูกตีบ คือ หลีกเลี่ยงหัตถกรรมทางการแพทย์ที่ต้องทำบริเวณปากมดลูกบ่อยๆโดยไม่จำเป็น เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก การขูดมดลูก หรือ หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เป็นต้น
ข้อสรุป
ภาวะปากมดลูกตีบ มักมีสาเหตุสำคัญมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือปากมดลูกตีบแต่กำเนิดและปากมดลูกตีบจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การทำหัตถการแพทย์บริเวณปากมดลูก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยอาการที่สามารถพบได้คือ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดท้องประจำเดือนเลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวกหรือขาดประจำเดือน คลำพบก้อนบริเวณมดลูก มีภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น คนไข้บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติเลยหรือพบว่ามีอาการอยู่ในระดับรุนแรงแล้ว หากสังเกตว่าตนเองพบอาการเหล่านี้นั้นไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายวินิจฉัยหาสาเหตุและรีบรักษาอาการได้อย่างทันท่วงที