อายุ40ยังมีลูกได้ไหม beyond ivf หมอต้น พูนศักดิ์
ผู้หญิงอายุ 40 ปีมีลูกได้ไหม ตอบโดยคุณหมอต้น

อายุถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คนนิยมใช้ประเมินความสามารถในการมีบุตร ตามหลักการแพทย์แล้วหากผู้ใดอายุเข้าข่าย 35 ปีขึ้นไปถามว่ามีลูกได้หรือไม่ อาจถือได้ว่าเป็นผู้มีบุตรยาก และนอกเหนือจากการมีบุตรยากแล้วเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ยังมีสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักถึงเป็นอย่างมากคือโรคแทรกซ้อนที่ตามมาหากตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ดังนั้นการมีลูกหลังอายุ 40 ปี ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

หากเราพบว่า อายุเกินกว่า 35 ปีขึ้นไป ก็จะทำให้เริ่มมีลูกยากขึ้น เพราะคุณสมบัติของรังไข่ มันจะมีการเจริญพันธุ์ที่ดีอยู่ในช่วง 20-35 ปี เมื่ออายุ 35 ปีว่ายากแล้ว อายุ 40 ปีก็ยากไปอีก แต่ว่าถ้าถามว่ายังมีลูกได้หรือไม่ เรายังไม่ถือว่ามีไม่ได้เด็ดขาดนะครับ เพราะว่าเรามีการตรวจวัดได้ว่ารังไข่ของคุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปี ยังเหมาะสมกับการมีลูกหรือการรักษามีบุตรยากหรือไม่ โดยการเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมน ถ้ายังมีฮอร์โมนตั้งต้นที่ปกติ เราจะเริ่มเจาะในช่วงประจำเดือนมาวันที่ 2 ถึงวันที่ 3 ถ้าเจาะดูแล้วสภาพฮอร์โมนบอกว่าเรายังมีรังไข่ที่สามารถสร้างไข่ได้ กรณีนี้ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่เราก็สามารถทำการกระตุ้นไข่ แล้วเอาไข่นั้นมาทำเด็กหลอดแก้วได้ครับ

อยากมีลูก ปล่อยมานาน อายุเยอะ เด็กลอดแก้ว IVF ช่วยคุณได้ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ช่วงอายุที่เหมาะกับมีลูก โอกาสการตั้งครรภ์ของแต่ละช่วงอายุ

ช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมกับการมีลูกของผู้หญิงอยู่ที่ 20-27 ปี จะเป็นช่วงที่เซลล์ไข่สมบูรณ์ ร่างกายมีความแข็งแรงเหมาะสมกับการตั้งครรภ์ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับทารกที่เกิดมามีโอกาสน้อย

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยป้องกันภาวะมีบุตรยากได้ คือการฝากไข่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ฝากไข่ คืออะไร? มีขั้นตอน วิธีการทำอย่างไร บทความนี้คุณหมอมีคำแนะนำ

ค่าเฉลี่ยคุณภาพเซลล์ไข่ตามช่วงอายุ

คุณภาพของไข่ที่ได้แน่นอนว่าความสามารถของรังไข่จะเสื่อมลงตามอายุ อายุ 40 ปี อาจจะมีไข่ที่คุณภาพไม่ดีนัก หรือว่าพอผสมเป็นตัวอ่อนแล้วอาจจะได้ตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆ อันนี้เกิดขึ้นได้ แต่เรานำไข่นั้นมาผสมกับอสุจิและเลี้ยงจนเป็นตัวอ่อนมาตรวจดูก่อนนะครับ ว่าตัวอ่อนเหล่านั้นมีความผิดปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติเราจะไม่เคลื่อนย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพราะฉะนั้นถ้าอายุ 40 ปี แต่ตราบใดฮอร์โมนยังดีอยู่ รังไข่ยังสามารถสร้างไข่ได้อยู่ ก็ยังมีโอกาสในการมีลูกหรือการรักษามีบุตรยาก แต่การมีลูกนั้นแน่นอนว่าจะยากกว่าคนที่อายุน้อยครับ

โอกาสการตั้งครรภ์ของผู้หญิงในแต่ละช่วงอายุ

จะดูได้อย่างไรว่ายังสามารถมีบุตรได้?

สามารถดูได้จาก 2 ข้อหลักๆคือ

1.ประจำเดือน

หากยังมีประจำเดือนยังถือว่าร่างกาย ยังมีความพร้อมต่อการมีบุตรอยู่สูง อาจจะไม่ครบ 100% เพราะร่างกายมีความซับซ้อนต่อการตั้งครรภ์หลายปัจจัย เช่น ความสมบูรณ์ของเซลล์ไข่ ฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย รวมถึงปัจจัยทางฝ่ายชายอีกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากประเมินง่ายๆ ใครที่ยังมีประจำเดือนอยู่ ยังมีโอกาสมีบุตรได้อยู่ค่ะ

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

2.การตรวจฮอร์โมน AMH

Anti-Mullerian Hormone (AMH) ฮอร์โมนชนิดนี้ถูกสร้างมาจากไข่ในรังไข่ของคุณผู้หญิง สามารถบอกได้ถึงจำนวนของเซลล์ไข่และความสามารถในการทำงานของรังไข่ จึงทำให้สามารถบอกได้ถึงโอกาสที่ยังสามารถตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

-หากค่า AMH สูง แสดงว่าเซลล์ไข่สะสมมีจำนวนมาก ยังมีอากาสที่มีบุตรได้สูงโดนค่า AMH แปรผันกับอายุ (ตามข้อมูลอ้างอิงด้านล่าง) หากผู้ใดอายุมากแต่ยังมีค่า AMH ที่สูงแสดงเซลล์ไข่ยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก

-หากค่า AMH ต่ำ แสดงว่าจำนวนไข่มีน้อย ผลนี้น่าเป็นห่วงควรรีบรักษาภาวะมีบุตรยากจากการแนะนำของแพทย์

ค่ามาตรฐานของผลฮอร์โมนAMH เทียบกับอายุ

Age Specific Vidas AMH Reference Values:

Healthy Women (Age): 18-24 Years ng/mL 2.15 – 8.40

25-29 Years ng/mL 1.20 – 8.76

30-34 Years ng/mL 0.80 – 7.00

35-39 Years ng/mL 0.11 – 5.15

40-44 Years ng/mL 0.10 – 3.84

ข้อดีของการตรวจ AMH ทำให้รู้อะไรบ้าง?

-ช่วยให้คุณหมอประเมินจำนวนไข่ที่อยู่ในรังไข่ ซึ่งสามารถบอกโอกาสในการประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

-ช่วยให้คุณหมอประเมินความสามารถในการทำงานของรังไข่ได้ว่าควรให้ยาในการกระตุ้นไข่แก่คุณผู้หญิงมากน้อยเพียงใด

-ช่วยให้คุณหมอหาแนวทางในการแนะนำวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิงได้มากขึ้น

-ช่วยประเมินระยะเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนการตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิงโดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่อายุเข้าสู่วัยเลข 3

-เป็นตัวช่วยในการประเมินหาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Ploycystic Ovary Syndrome: POCS) ซึ่งทำให้มีบุตรยากได้

-เป็นตัวช่วยในการประเมินหาภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Insufficiency: POI) ซึ่งเป็นหนหนึ่งในสาเหตุของการมีบุตรยากก่อยวัยอันควร

อ่านเพิ่มเติม : ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Ploycystic Ovary Syndrome: POCS)

อ่านเพิ่มเติม : ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Insufficiency: POI)

ข้อเสียของการตรวจ AMH

-การตรวจ AMH ราคาค่อนข้างสูง

-ยังไม่สามารถตรวจได้ทุกโรงพยาบาล

การอันตรายหากมีลูกในวัย 40

ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ในวัย 40+ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ สุขภาพของคุณแม่และความแข็งแรงของทารกในครรภ์ เนื่องจากพออายุมากขึ้น โอกาสและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในคนวัย 40+ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมา เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ และเมื่อคุณแม่อายุมากขึ้นการฝังตัวของรกเสื่อมสภาพลง อาจทำให้เด็กตัวเล็กกว่าปกติ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีโอกาสที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมมากกว่าเด็กที่คลอดจากแม่อายุน้อย ๆ

การแพทย์ที่จะช่วยให้มีบุตรในวัย 40 อย่างปลอดภัย

การแพทย์ที่นิยมในปัจจุบันเพราะมีโอกาสสำเร็จและความปลอดภัยสูงคือ “เด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจโครโมโซม” เพราะการทำเด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนค่อนข้างมาก แพทย์สามารถช่วยเหลือได้ตั้งแต่การใช้ช่วยกระตุ้นไข่จากปกติที่ตกเดือนละ 1 ฟองหรือในผู้ที่มีอายุมากไข่อาจจะไม่ตกแล้ว รวมถึงในปัจจุบันสามารถเลี้ยงตัวนอกร่างกายได้ถึงระยะ Blastocyst ระยะนี้จะทำให้มีโอกาสฝังตัวที่มากเพิ่มโอกาสสำเร็จมากขึ้น และอีกเทคโนโลยีที่ใช้รวมกันคือ การตรวจโครโมโซม อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อตั้งครรภ์ตอนอายุมาก บุตรเสี่ยงมีความผิดปกติทางโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโครม โรคเอ๋อ หรือโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ในขั้นตอนนี้ก่อนใส่ตัวอ่อนลับเข้าไปในโพรงมดลูกเราจะสามารถเห็นความผิดปกติของตัวอ่อนได้ แล้วแพทย์จะพิจารณาร่วมกันกับคนไข้เลือกตัวอ่อนที่ปกติและแข็งแรงที่สุดใส่กลับเข้าไปเพื่อตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม >> การทำอิ๊กซี่ icsi คืออะไร ทำไมเพิ่มโอกาสการมีลูกมากกว่าการทำเด็กหลอดแก้วปกติ

ผู้ชายอายุ 40 ปีมีลูกได้ไหม

ผู้ชายอายุ 40 ปีมีลูกได้ไหม

ยังสามารถมีได้ ตราบใดที่ยังมีการหลั่งอสุจิได้ในปริมาณตรงตามมาตรฐานและยังมีจำนวนตัวอสุจิที่แข็งแรงอยู่ แต่การเคลื่อนไหวของอสุจิและคุณภาพอสุจิอาจจะเสื่องคุณภาพลงแต่อาจจะไม่เสื่อมเท่ารังไข่ของผู้หญิง ช่วงอายุที่อสุจิแข็งแรงที่สุดจะเป็นช่วง 30-35 ปี ปริมาณอสุจิจะต่ำลงตั้งแต่อายุ 55 ปีเป็นต้นไป ดังนั้นถ้าอายุ 40 ปี แล้วอยากมีลูกแนะนำให้ตรวจอสุจิเพื่อเช็คความผิดปกติ การเคลื่อนไหว และการทำงานของอสุจิก่อนเพื่อความปลอดภัยก่อนจะมีลูกในอนาคต

ถ้าอายุมากขึ้นไปอีก อายุ 45 46 47 48 49 หรือ 50 ปี มีลูกได้อยู่หรือไม่

 อายุ 45 46 47 48 49 หรือ 50 ปี มีลูกได้อยู่หรือไม่

เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสในการมีลูกจะน้อยลง ยิ่งอายุ 45 ปี ขึ้นไปถือว่ามีโอกาสน้อยมากและถือว่าเป็นผู้มีบุตรยากแล้ว เพราะรังไข่จะเสื่อมลงทุกปี จำนวนไข่ที่มีก็น้อย คุณภาพของไข่ก็จะต่ำกว่าคนที่อายุน้อยๆ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในอายุที่มากยังมีความเสี่ยงต่างๆตามมาอีกหลายอย่าง เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน การฝังตัวของรกเสื่อมสภาพลง อาจทำให้เด็กตัวเล็กกว่าปกติ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรม ดังนั้นหากต้องการมีลูกแต่อายุ 45 ปีขึ้นไปควรปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อน แล้วแพทย์จะวางแผนในการรักษาให้เหมาะสมตามบุคคล

สรุป

สำหรับผู้หญิงที่อายุ 40 ปียังสามารถมีลูกได้หากรังไข่ยังมีคุณภาพหรือเสื่อมลงไม่มากและยังผลิตเซลล์ไข่ได้อยู่ ส่วนผู้ชายที่อายุ 40 ปีก็ยังสามารถมีลูกได้เพราะถ้าเทียบกันอสุจิจะไม่ได้เสื่อมลงทุกปีเหมือนรังไข่ของผู้หญิงดังนั้นหากมีการตรวจอสุจิแล้วไม่พบปัญหาใดใดก็สามารถมีลูกได้

แต่ทั้งหมดนี้ไม่แนะนำให้มีลูกโดยวิธีธรรมชาติเนื่องจากอายุที่มากขึ้นจะเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรมที่จะส่งต่อมาถึงลูกได้ แต่จะแนะนำเป็นการมีลูกด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วเพราะวิธีนี้จะมีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อเช็คความผิดปกติก่อนใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก

ถ้าคุณผู้หญิงท่านใดมีความกังวลใจสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Beyond IVF หรือจะแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf

ขอบคุณแหล่งที่มา : Huggies,amarinbabyandkids