เด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้วเป็นอีก 1 วิธีในการรักษาสำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะมีบูตรยาก ไม่ว่าจะมีบุตรยากด้วยกรรมพันธ์หรือด้วยโรคประจำตัวต่างๆ ให้สามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย
IVF เด็กหลอดแก้วคืออะไร?
IVF (In-Vitro Fertilization) คือการปฏิสนธินอกร่างกายหรือเรียกกันติดปากว่า เด็กหลอดแก้ว ที่เรียกกันว่าเด็กหลอดแก้วก็เพราะว่า วิธีนี้จะคัดเลือกเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายหญิงที่เรียกว่าไข่มาผสมกับเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายชายคืออสุจิในอุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์เพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตเมื่อได้ตัวอ่อนนระยะ 5 วัน ( Blastocyst) แพทย์จะใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกฝ่ายหญิง แต่คำว่าเด็กหลอดแก้วยังไม่ค่อยมีความแพร่หลายในไทยยังไม่หลายคนสงสัยว่า ivf คืออะไร หรือ เด็กหลอดแก้วคืออะไร เด็กหลอดแก้วโตในหลอดแก้ว แต่ความจริงแล้ว IVF และเด็กหลอดแก้วเป็นสิ่งเดียวกันต่างกันแค่การเรียกหรือชื่อที่สะดวกมากกว่า
ICSI อิ๊กซี่ คืออะไร? ต่างอย่างไรกับ IVF เด็กหลอดแก้ว
ICSI อิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm injection) เป็นขั้นตอน 1 ขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามาในการปฏิสนธิ โดยปกติแล้วการทำ IVF จะนำอสุจิมาเจอกับไข่ในจานทดลองและรอให้ผสมกันเองแต่การทำ ICSI นั้นเราจะเลือกอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดเจาะเข้าไปที่ไข่โดยตรงเป็นเทคนิคพิเศษที่เพิ่มอัตราการสำเร็จซึ่งวิธีนี้ก็สามารถเรียกว่าเด็กหลอดแก้วได้เช่นเดียวกัน
IVF/ICSI เด็กหลอดแก้วต่างอย่างไรกับการทำกิ๊ฟท์?
ในอดีตนั้นการรักษาผู้มีบุตรยากที่เรียกกันติดปากนั่นคือการทำกิ๊ฟท์ โดยการทำกิ๊ฟท์จะผ่าตัดหน้าท้องคนไข้ 3 รูเพื่อนำกล้อง และอสุจิเข้าไปให้ปฏิสนธิใกล้กับไข้มากที่สุด ซึ่งมีโอกาสสำเร็จแค่ 20% เท่านั้นแถมข้อเสียคือคนไข้ต้องผ่าหน้าท้องถึง 3 ช่อง! หากไม่สำเร็จต้องผ่าใหม่ไปเรื่อยๆ แต่การทำกิ๊ฟท์นั้นเกิดขึ้นมานานมากแล้วโดยปัจจุบันแทบจะไม่มีที่ไหนใช้วิธีนี้ในการรักษาคนไข้ปรับเปลี่ยนมาใช้การรักษาแบบ IVF/ICSI เด็กหลอดแก้วทั้งสิ้น เพราะอัตราการสำเร็จสูงกว่า คนไข้ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง เลี้ยงตัวอ่อนได้นอกร่างกายแต่การทำ IVF/ICSI มีต้นทุนที่มากกว่าเพราะจำเป็นต้องมีห้องแล็บปฏิบัติการที่ทันสมัย ปลอดภัยและตรวตามหลักความถูกต้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการสร้างสูง
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว IVF จะประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้
- ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญด้านมีบุตรยากแพทย์แนะนำขั้นตอนหรือข้อควรรู้สำหรับผู้ที่เตรียมตัวรักษามีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว ivf icsi เพราะในแต่ละการรักษามีขั้นตอนและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน หรือการเตรียมตัวเพื่อมารักษาและเมื่อแพทย์พูดคุยกับคนไข้แล้วจะวางแผนการรักษาให้ในแต่ละคน (ควรมาก่อนมีประจำเดือน)
- เริ่มฉีดยากระตุ้นไข่ เมื่อคนไข้พร้อมรักษามีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วแล้วแพทย์จะตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน และทำอัลตร้าซาวด์ พร้อมกับฉีดฮอร์โมนหรือที่เรียกว่ายากระตุ้นไข่ในวันที่ 2-3 ของประจำเดือน ขั้นตอนการฉีดยาคนไข้จะต้องฉีดด้วยตัวเองทุกวันเป็นประจำ เวลาเดิม หรือท่านใดที่กลัวเข็มและไม่สามารถฉีดยาเองได้ที่ Beyond IVF คนไข้สามรถเดินทางมาที่คลินิกเพื่อให้พยาบาลของเราฉีดให้ได้โดยไม่มีค่ราใช้จ่าย เมื่อฉีดยาแล้วแพทย์จะนัดอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของไข่จะมีการปรับยาที่ใช้เพื่อให้คนไข้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยจะใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาน 10 – 12 วัน
- ฝ่ายหญิงถึงเวลาเก็บไข่และฝ่ายชายมาเก็บอสุจิ หลังจากมีการกระตุ้นไข่จนไข่เจริญเติบโตจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกระยะสั้นหรือวางยาสลบ เพื่อป้องกันความรู้สึกเจ็บปวด ระหว่างทำใช้เวลาเก็บไข่ ไม่เกิน 20 – 30 นาที ส่วนผู้ชายจะต้องเก็บอสุจิ เพื่อนำมาคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์ที่สุดและนำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง และเฝ้าดูการปฏิสนธิต่อไป
- เลี้ยงตัวอ่อน ในขั้นตอนนี้จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายปฏิบัติการเฉพาะทางที่ต้องดูแลเซลล์ของคนไข้เป็นอย่างดี เมื่อเกิดการปฎิสนธิไข่กับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องทดลองจนตัวอ่อนเจริญเติบโตแบ่งเซลล์ 6-8 เซลล์ และเจริญเติบโตเข้าสู่เป็นระยะ ที่แข็งแรง ที่ Beyond IVF เราจะเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะ Blastocyst หรือตัวอ่อนระยะ 5 วัน เพราะเป็นระยะสูงสุดเท่าที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำได้เท่านั้น
- ย้ายตัวอ่อน ขั้นตอนสำคัญเพราะตัวอ่อนที่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี ในวันนี้จะได้กลับเข้าไปอยู่ในร่างกายคุณแม่แล้ว แพทย์จะทำการพูดคุยร่วมกับคนไข้ตัดสินใจเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงที่สุดเพื่อย้ายเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง การย้ายตัวอ่อนจะทำการโดยแพทย์แต่ขั้นตอนนี้คุณพ่อสามารถเข้าไปด้วยได้ ไม่มีการผ่าตัดลงมีดหรือใช้ยาสลบแต่อย่างใด
- ตรวจการตั้งครรภ์ ที่ Beyond IVF เราจะติดตามคนไข้หลังจากใส่ตัวอ่อน แพทย์นัดตรวจฮอร์โมนทุก 3 วัน หากมีฮอร์โมนตัวใดที่ลดลงจะฉีดยากหรือจ่ายยารับประทานเพื่อเพิ่มฮอร์โมนให้คนไข้ และจะทราบผลตั้งครรภ์หลังจากย้ายตัวอ่อน 14 วัน
ระยะที่เหมาะสมของการย้ายตัวอ่อน
การย้ายตัวอ่อนถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญมาก อีกทั้งยังเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำเด็กหลอดแก้วด้วย เพราะขั้นตอนนี้จะเป็นการนำตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วใส่กลับเข้าไปสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จตามที่วางแผนไว้ ซึ่งการย้ายตัวอ่อนนั้นสามารถย้ายได้ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดได้ ดังนี้
- ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst transfer) : การย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์นั้น เป็นการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตภายนอกด้วยเทคโนโลยสมัยใหม่ ซึ่งใช้ระยะเวลา 5 วันหลังการผสม จากนั้นถึงจะนำตัวอ่อนหรือเด็กหลอดแก้วใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ตัวอ่อนก็มีโอกาสฝังตัวได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
- ใช้ระยะเวลา 3 วันหลังการผสม (day 3 transfer) : การย้ายตัวอ่อนในระยะเวลา 3 วันหลังการผสม เป็นการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตนอกร่างกายเช่นกัน แต่ว่าใช้เวลาเพียงแค่ 3 วัน เพื่อให้ตัวอ่อนมีการแบ่งเซลล์เป็น 6-8 เซลล์ แล้วจึงนำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก
การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะสำหรับใคร
- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบตัน
- ผู้หญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
- ผู้หญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ผู้หญิงที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ผู้ชายมีเชื้ออสุจิมีจำนวนน้อยหรือคุณภาพไม่ดี
- ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
การเตรียมตัวของคุณพ่อคุณแม่ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว
การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายหญฺิง
- ควรตรวจร่างกายเพื่อใช้ประเมินในการรักษาควรตรวจวันที่ 2-3 ระหว่างมีประจำเดือน
- ตรวจรังไข่ แพทย์อาจตรวจปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ร่วมกับอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในช่วงวันแรกๆ ของการเป็นประจำเดือน เพื่อประเมินว่ารังไข่จะตอบสนองต่อยากระตุ้นได้ดีหรือไม่
- ตรวจมดลูก การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูโพรงมดลูก หรือการส่องกล้อง Hysteroscopy เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการผสมเทียม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ
- ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
- หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ก่อนรักษาทุดครั้งรวมถึงนำตัวยาที่รักษามาให้แพทย์พิจารณา
การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชาย
- คุณผู้ชายงดหลั่งอสุจิ 5-7 วัน ก่อนมาพบแพทย์
- ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
- ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป
- ไม่สวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการลงแช่อ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า
- ไม่เครียดจนเกินไป ทำจิตใจให้สบาย
การดูแลตัวเองหลังทำเด็กหลอดแก้ว
- หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วจะต้องนอนพักที่คลินิก 2 ชั่วโมง
- สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ
- งดการออกกำลังกายหนัก
- งดการยกของหนัก
- งกการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดการท้องเสียได้
- หากมีไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด
- ควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่เครียดเพราะมีผลต่อฮอร์โมน
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที
แนะนำอีกหนึ่งวิธีสำหรับการป้องกันภาวะมีบุตรยากในอนาคต ซึ่งก็คือการฝากไข่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ
- ฝากไข่ คืออะไร? มีขั้นตอน วิธีการทำอย่างไร บทความนี้คุณหมอมีคำแนะนำ
- ฝากไข่ ราคาถูก มีแล็บของตัวเองพร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ ผ่อน 0% นาน 10 เดือน
ข้อดี ข้อเสีย ของการทำเด็กหลอดแก้ว
ข้อดีของการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI
การสร้างทารกในหลอดแก้ว ข้อดีมีดังนี้
- เป็นวิธีที่โอกาสสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน
- สามารถรักษาได้ในหลากหบายปัญหามากกว่า
- ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง ไม่มีการผ่าตัด
- ผู้หญิงทำหมันแล้วก็ทำได้
- ผู้ชายที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก็สามารถทำได้
- สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (NGS) ได้
ข้อเสียของการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI
- มีราคาสูงกว่าการทำ IUI
- มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยากมากกว่า
- ใช้เวลารักษาค่อนข้างหลายวัน
- ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการเก็บไข่ได้เช่น ท้องอืด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ IVF นั้นเป็นการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการคัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์ของฝ่ายหญิง และอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกันภายนอก จากนั้นถึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกอีกครั้ง ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วนั้นอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- การตอบสนองฮอร์โมนผิดปกติ เพราะรังไข่ได้รับการกระตุ้นไข่
- การตั้งครรภ์แฝด
- ภาวะแท้ง
- การติดเชื้อ
ระยะเวลาในการทำ ivf
การทำ ivf มีระยะเวลาที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การกระตุ้นไข่ การเก็บไข่ การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และการใส่ตัวอ่อน โดยรวมแล้วมักจะใช้เวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ หรือ 30 วันขึ้นไป ซึ่งระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้วนี้จะแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ราคาค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้ว
ราคาการทำเด็กหลอดแก้วค่อนข้างสูง แต่จะเป็นราคาที่คุ้มสำหรับคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการจะมีบุตรเป็นของตนเอง ซึ่งราคามีเริ่มตั้งแต่หลัก 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ ที่ท่านไป จนบางคนอาจสงสัยว่า ทำไมทำ ICSI ราคาแพง ราคาสูงกว่าการทำ IUI
เนื่องจากการทำ IVF นั้นมีขั้นตอนและตัวยาที่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นไข่ การป้องกันไข่ตก การเร่งให้ไข่สุก ค่าอัลตราซาวน์ ค่าเก็บเชื้อ เก็บไข่ หรือแม้แต่การทำ ICSI เองก็มีราคาค่าใช้จ่ายในนั้น
แต่ที่ BeyondIVF ตอนนี้ ราคาโปรโมชั่นเริ่มต้นจะอยู่ที่เพียง 229,000 บาททเท่านั้น ซึ่งราคานี้แทบจะครอบคลุมทุกบริการ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> เด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ราคา ลดพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ ผ่อน 0%
ทำเด็กหลอดแก้ว IVF ที่ไหนดี เลือกอย่างไร
ในปัจจุบันการทำเด็กหลอดแก้วค่อนข้างจะเป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้น หรือผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก ดังนั่นสถานที่ที่ทำการรักษาผู้มีบุตรยากในตอนนี้จึงมีเยอะไม่ว่าจะเป็นคลินิก หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็มีการรับรักษาภาวะมีบุตรยากทั้งนั้น
แต่การเลือกสถานที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่ควรมองแค่ราคาถูกแค่อย่างเดียว เราควรมองทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย คุณหมอมีฝีมือทางด้านนี้เฉพาะจริงๆ ทำไมควรเลือก Beyond IVF เพราะที่ Beyond IVF เรามีคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้เป็นอย่างมาก ยังมีวุฒิบัตรการันตีถึงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีวชวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกด้วย
และที่สำคัญคลินิกของเรามีมาตรฐานที่สูง สะอาด ปลอดภัย ยังมีทีมงานที่มีคุณภาพพร้อมให้คำแนะนำร่วมกับเทคโนโลยีระดับ world class มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาลเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ราคา ลดพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ ผ่อน 0%
Q&A รวมคำถามที่คนสงสัยเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว IVF
โอกาสสำเร็จและความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้ว
โอกาสสำเร็จจะขึ้นอยู่กับ
- การตอบสนองการกระตุ้นการตกไข่
- ความแข็งแรงของตัวอ่อน
- อายุของฝ่ายหญิง เช่น ถ้าอายุเกิน 40 ปี โอกาสที่ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตหรือรอดชีวิต จะน้อยกว่าคนงอายุที่น้อยกว่า 40 ปี
- ความพร้อมทางด้านร่างกายของฝ่ายหญิง เช่น การทำงานของรังไข่
- อัตราความสำเร็จของเด็กหลอดแก้วอยู่ที่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์
ความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้ว
- อาจจะมีภาวะแท้ง
- ความเครียด
- การตั้งครรภ์แฝด
- การคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากกระบวนการการเก็บไข่
IVF เด็กหลอดแก้ว ต่างอย่างไรกับการทำกิ๊ฟท์?
ในอดีตนั้นการรักษาผู้มีบุตรยากที่เรียกกันติดปากนั่นคือการทำกิ๊ฟท์ โดยการทำกิ๊ฟท์จะผ่าตัดหน้าท้องคนไข้ 3 รูเพื่อนำกล้อง และอสุจิเข้าไปให้ปฏิสนธิใกล้กับไข้มากที่สุด ซึ่งมีโอกาสสำเร็จแค่ 20% เท่านั้นแถมข้อเสียคือคนไข้ต้องผ่าหน้าท้องถึง 3 ช่อง! หากไม่สำเร็จต้องผ่าใหม่ไปเรื่อยๆ แต่การทำกิ๊ฟท์นั้นเกิดขึ้นมานานมากแล้วโดยปัจจุบันแทบจะไม่มีที่ไหนใช้วิธีนี้ในการรักษาคนไข้ปรับเปลี่ยนมาใช้การรักษาแบบ IVF เด็กหลอดแก้วทั้งสิ้น เพราะอัตราการสำเร็จสูงกว่า คนไข้ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง เลี้ยงตัวอ่อนได้นอกร่างกายแต่การทำ IVF มีต้นทุนที่มากกว่าเพราะจำเป็นต้องมีห้องแล็บปฏิบัติการที่ทันสมัย ปลอดภัยและตรวตามหลักความถูกต้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการสร้างสูง
การตรวจโครโมโซมตรวจอ่อน ตรวจเพื่ออะไร?
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนแบบ NGS เป็นการตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซมมนุษย์ทั้ง 23 คู่ว่าปกติหรือไม่ โดยผู้ที่รักษาผู้มีบุตรยากส่วนมากจะมีอายุที่เยอะซึ่งเสี่ยงต่อการที่บุตรจะเป็นโรคต่างๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือโรคเอ๋อเป็นต้น การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถป้องกันความผิดปกติของเด็กที่จะเกิดมารวมถึงสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรถ์ที่สำเร็จให้กับคู่นั้นๆด้วย
ข้อจำกัดของการตรวจโครโมโวม
- ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
- เคยแท้งบุตรมากกว่า 2 ครั้ง
- ครอบครัวเคยมีประวัติมีผู้ผิดปกติทางโครโมโซม
การรักษาแบบ IVF กับ ICSI สามารถเลือกเพศลูกได้ไหม?
ตามข้อกฏหมายในประเทศไทยยังไม่สามารถเลือกเพศบุตรได้ แต่หากคนไข้ตรวจโครโมโซตัวอ่อนก่อนยา้ยกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ในผลการตรวจโครโมโซมแล้วนอกจากการผิดปกติ หรือความแข็งแรงของตัวอ่อนนั้นๆ ยังสามารถเห็นผลรายงานได้ว่าตัวอ่อนนั้นเป็น โครโมโซม XX (เพศหญิง) หรือ XY (เพศชาย) ได้อีกด้วย แต่แพทย์จะแนะนำการเลือกตัวอ่อนที่ไม่ผิดปกติ และตัวอ่อนที่แข็งแรงมากกว่าการที่จะให้คนไข้เลือกจากเพศเพราะไม่ถูกกฏหมาย
การรักษาแบบ IVF กับ ICSI สามารถทำลูกแฝดได้ไหม?
การมีครรภ์นั้นตามหลักการแพทย์แล้วถือว่าเป็นครรภ์เสี่ยง ไม่นิยมหรือสนับสนุนให้คนตั้งครรภ์มากกว่า 1 คน แต่การรักษาแบบนี้ ในบางรายแพทย์พิจารณาย้าย 2 ตัวอ่อนพร้อมกัน อาจจะมาจากหลายปัจจันเช่น ตัวอ่อนมีคุณภาพไม่ค่อยดี จึงเผื่อว่าอาจจะมีตัวใดตัวหนึ่งไม่สำเร็จ ยังมีอีกตั้งที่อาจจะพอให้ตั้งครรภ์ได้บ้าง แต่หากบังเอิญติดทั้ง 2 ตัวอ่อนที่ใส่เข้าไปก็จะกลายเป็นครรภ์แฝด ซึ่งแพทย์ก็จะติดตามดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
ทำหมันแล้วทำได้ไหม ต้องแก้หมันก่อนรึเปล่า?
หากฝ่ายหญิงท่านใดเคยทำหมันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหมันผูก หมันตัดหรือใดๆ สามารถทำการรักษาแบบ IVF/ICSI ได้เลยโดยไม่ต้องแก้หมันก่อน เพราะการรักษาแบบนี้ ไม่ต้องอาศัยท่อนำไข่หรือบริเวณที่ทำหมันไว้ และไม่ลดโอกาสในการสำเร็จลง
หากท่านไหนมีข้อสงสัยหรือต้องการนัดคุณหมอเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาปัญหามีบุตรยาก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf
อัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วอยู่ที่เท่าไหร่
การทำเด็กหลอดแก้วมีอันตราความสำเร็จสูงมากกว่าการรักษาแบบอื่น ๆ เพราะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษา แต่อัตราความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เหมาะสมด้วย ทั้งอายุ สาเหตุที่บุตรยาก พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอื่น ๆ ประกอบกัน โดยอัตราความสำเร็จของการทำ ivf อยู่ที่ประมาณ 40-60%
ข้อสรุป
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ ivf (In-vitro Fertilization) คือ การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำไข่ที่สมบูรณ์ และอสุจิที่แข็งแรงมากทำการผสมกันภายนอกให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นก็นำตัวอ่อนที่ได้กลับเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยยขั้นตอนเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนสูง หากมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะช่วยลดความเสี่ยงในภาวะแทรซ้อนต่าง ๆ ลงได้ อีกทั้งก็ช่วยกำหนดตารางเวลาให้คนไข้ได้อีกด้วย
ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงหรือคุณผู้ชายท่านไหนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf
เอกสารอ้างอิง
- In vitro fertilization (IVF). (2016, June 16).
- https://medlineplus.gov/ency/article/007279.htm
- Coates, A. et al. (2016). Differences in pregnancy outcomes in donor egg frozen embryo transfer (FET) cycles following preimplantation genetic screening (PGS): a single center retrospective study.
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5330984/
- Diergaarde, B. & Kurta, M. L. (2014). Use of fertility drugs and risk of ovarian cancer.
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4217689/
- In Vitro Fertilization (IVF): What Are the Risks.
- https://www.reproductivefacts.org/news-and-publications/patient-fact-sheets-and-booklets/documents/fact-sheets-and-info-booklets/in-vitro-fertilization-ivf-what-are-the-risks/
- Mayo Clinic Staff. (2013, June 27). In vitro fertilization (IVF). (2011, April 22)
- mayoclinic.org/tests-procedures/in-vitro-fertilization/basics/definition/prc-20018905
- Medically Reviewed by Nivin Todd, MD on August 01, 2021. Infertility and In Vitro Fertilization.
- https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/in-vitro-fertilization