ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายเยอะจะมีความเสี่ยงต่อการมีลูกยาก จริงไหม?
คำตอบ เสี่ยงมีลูกยากจริง และมีโอกาสที่จะเป็น PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของการเจริญของไข่ในรังไข่ ที่ทำให้มีลูกยาก และมักจะมีประจำเดือนที่ผิดปกติ
อ่านเพิ่มเติม : ปัญหามีบุตรยาก
หากต้องการรู้ว่าระดับฮอร์โมนของเราว่าผิดปกติหรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ได้ โดยแพทย์จะทำการถามประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น จากนั้นจะตรวจระดับฮอร์โมนจากการตรวจเลือด ซึ่งผลที่ได้นั้นจะบ่งบอกถึงระดับฮอร์โมนได้อย่างถูกต้อง
มาทำความรู้จักกับฮอร์โมนกันดีกว่าว่าฮอร์โมนเพศชายเพศหญิงมีอะไรบ้าง
ฮอร์โมนเพศ คือ สารเคมีที่เป็นฮอร์โมน โดยส่วนใหญ่จะสร้างจากอวัยวะที่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เช่น รังไข่ (ในผู้หญิง) หรือ อัณฑะ (ในผู้ชาย) แต่ส่วนน้อยจะสร้างได้ จากอวัยวะอื่นในระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมหมวกไต
ทั้งนี้ การสร้างฮอร์โมนเพศของ รังไข่ หรือ อัณฑะ จะอยู่ในการกำกับควบคุมของต่อมใต้สมอง และต่อมใต้สมองจะอยู่ในการกำกับควบคุมของสมองส่วน ไฮโปธาลามัสเป็นหลัก
มีหน้าที่สำคัญ ในการให้การเจริญเติบโตกับอวัยวะที่เป็นสัญลักษณ์บอกเพศ (เช่น อวัยวะเพศหญิง และเต้านม ในเพศหญิง หรือ อวัยวะเพศชาย หนวด เครา ในเพศชาย)
ฮอร์โมนเพศ (Sex Hormones) ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่
- ฮอร์โมนเพศชาย (Male Sex Hormones)
- ฮอร์โมนเพศหญิง (Female Sex Hormones)
ฮอร์โมนเพศชาย (Male Sex Hormones)
Testosterone (เทสโทสเทอโรน) สร้างขึ้นโดยอัณฑะและมีการสร้างในปริมาณน้อย ที่บริเวณต่อมหมวกไตทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการกระตุ้นการสร้างสเปิร์มและการแสดงออกลักษณะทางเพศเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ เช่น อัณฑะและอวัยวะเพศมีขนาดใหญ่ขึ้น ลูกกระเดือกมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อแทนที่ไขมัน และกระตุ้นการสร้างขนที่ ใบหน้า หน้าอก รักแร้ และอวัยวะเพศ
ฮอร์โมนเพศหญิง (Female Sex Hormones)
Estrogen (เอสโตรเจน) ร่างกายสามารถผลิตเอสโตรเจนได้จากต่อมหมวกไตชั้นนอกรก และถุงไข่ในรังไข่ระยะที่กำลังเจริญเติบโต โดยเริ่มต้นจากการนำโคเลสเตอรอลในเลือดมาเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นโปรเจสเตอโรน และสุดท้ายจึงได้เป็นเอสโตรเจน มีหน้าที่ คือ
- ทำให้มีลักษณะของเพศหญิง เช่น ช่วงไหล่แคบ สะโพกผาย มีหน้าอก และมีไขมันสะสมบริเวณสะโพก ผิวตึง มีเสียงแหลม ฯลฯ
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ ถุงไข่ และไข่อ่อน
- ทำให้ปีกมดลูกหรือท่อนำไข่และกล้ามเนื้อมดลูกหดตัว กล้ามเนื้อเรียบ (หลอดเลือดฝอย) มีการเคลื่อนไหวบีบรัดมากขึ้น
- กระตุ้นเซลล์บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดให้หลั่งน้ำเมือกหรือตกขาวที่ใส ไม่เหนียว และมีปริมาณมาก เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิไปยังมดลูกและปีกมดลูก
- ทำให้มีการปิดของกระดูกในทางยาวหรือกระดูกในทางยาวหยุดเจริญเติบโต เราจะสังเกตได้ว่าเด็กผู้หญิงจะหยุดสูงเมื่อมีประจำเดือน ซึ่งหมายความว่ารังไข่ได้สร้างเอสโตรเจนแล้วนั่นเอง
- ยับยั้งการสลายของเนื้อกระดูก เนื่องจากเอสโตรเจนควบคุมให้เกิด ความสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย โดยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าเกาะกับเนื้อกระดูกได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ลดการสลายตัวของแคลเซียมออกจากเนื้อกระดูก
Progesterone (โปรเจสเทอโรน) ทำหน้าที่กระตุ้นเยื่อบุมดลูกให้สะสมอาหารสำหรับ ตัวอ่อน สร้างเมือกที่ปากมดลูกให้เหนียวข้น และลดการบีบตัวของมดลูก โปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนเพศที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากอวัยวะหลายอวัยวะ เช่นเดียวกับเอสโตรเจน แต่ส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่และส่วนน้อยผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก
- ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ เช่น เปลี่ยนแปลงผนังเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน สร้างสารคัดหลั่งและกระตุ้นการหลั่งสารต่างๆ จากผนังเยื่อบุโพรงมดลูกให้เพิ่มขึ้นมีอาหารออกซิเจนมาเลี้ยงบริเวณนี้มากขึ้น
- ลดการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว เซลล์ผนังช่องคลอดเปลี่ยนแปลง และหลุดลอก
- กระตุ้นเซลล์ปากมดลูกให้ขับเมือกหรือตกขาวที่เหนียวข้นและมีปริมาณน้อย ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถเดินทางผ่านช่องคลอดและปากมดลูกได้หรือผ่านเข้าไปได้ยากขึ้น
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านม
- กระตุ้นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมอง ทำให้อุณหภูมิของ ร่างกายสูงขึ้น
ผลต่อต่อมใต้สมองส่วนหน้า พบว่าโปรเจสเตอโรนในปริมาณต่ำจะกระตุ้นการหลั่งแอลเอช (LH-hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นถุงไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วหรือถุงไข่ขั้นกราเฟียนให้มีการตกไข่ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีโปรเจสเตอโรนในปริมาณสูงก็จะยับยั้งไม่ให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งแอลเอช ผลคือ ทำให้ไม่มีไข่ตก
LH (Luteinizing Hormone) สร้างและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นการตกไข่ จากรังไข่ ควบคุมรอบประจำเดือนของผู้หญิงให้ปกติและทำงานร่วมกับ FSH ในการผลิตอสุจิของผู้ชาย ในเพศชายมีการผลิตฮอร์โมนนี้อย่างสม่าเสมอ ส่วนในเพศหญิงผลิตไม่สม่าเสมอในระยะของการมีประจำเดือน
FSH (Follicle Stimulating Hormone) สร้างและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์ รังไข่ ช่วยควบคุมการตกไข่ของรังไข่ในผู้หญิง และการผลิตอสุจิของอัณฑะในผู้ชาย ในเพศชายมีการผลิตฮอร์โมนนี้อย่างสม่าเสมอ ส่วนในเพศหญิงผลิตไม่สม่าเสมอในระยะของการมีประจำเดือน
ถ้าคุณผู้หญิงท่านใดมีความกังวลใจสามารถแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf