การผ่าคลอดบุตร (Cesarean section) หมายถึง การผ่าตัดคลอดทารก โดยผ่านหน้าท้อง และผนังมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้ว จะผ่าตัดคลอดเมื่อมีเหตุผลทางการแพทย์ ในกรณีที่ไม่สามารถเองได้ หรือ อาจจะมีอันตรายต่อมารดาหรือทารก ถ้ามารดาจะคลอดบุตรเอง
การผ่าตัดคลอด แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- การผ่าคลอด แบบวางแผนมาก่อน
การผ่าตัดคลอดทารก เป็นทางเลือกที่แพทย์แนะนำ เมื่อคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดเองไม่ได้ เช่น ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคุณแม่หรือเด็ก หรือลักษณะอาการผิดปกติของเด็ก ที่แพทย์ผู้ดูแลพบจากการอัลตร้าซาวด์ และการตรวจอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เห็นเหตุจำเป็นที่ต้องกำหนดวันผ่า โดยปกติการผ่าตัดคลอดจะมีสาเหตุจากหลายข้อ มีดังนี้
• ทารกอยู่ในภาวะวิกฤต ต้องผ่าตัดคลอดออกมาโดยเร็ว
• คุณแม่มีความเสี่ยงสูง เช่น มดลูกบีบตัวรุนแรง หรือมดลูกลอกตัวเร็ว หรือป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอด เช่น เชื้อไวรัส HIV โรคตับอักเสบ หรือโรคเริมที่อวัยวะเพศ
• คุณแม่สุขภาพไม่ดี ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติ
• ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น เอาส่วนเท้าออกมา หรือนอนขวางหันด้านข้างออกจนเด็กไม่สามารถหมุนตัวกลับเองได้ ทำให้คลอดแบบธรรมชาติไม่ได้
• เป็นท้องแฝด 3 คนขึ้นไป หรือคุณแม่เคยท้องและคลอดแฝดสองมาก่อนก็จำเป็นจะต้องใช่วิธีผ่าเช่นกัน
• หากคุณแม่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเคยผ่าตัดมดลูก การคลอดแบบธรรมชาติอาจเกิดอันตรายได้ - การผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน
คุณแม่บางคนต้องผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนกะทันหัน จำเป็นต้องรีบผ่าออกมา เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับอันตราย ข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน มีดังนี้
• ทารกมีอาการไม่ดี เกิดความผิดปกติระหว่างคลอดธรรมชาติ แพทย์จำเป็นต้องผ่าเร่งด่วน
• คุณแม่มีภาวะวิกฤตระหว่างคลอด เช่น ความดันโลหิตสูงมาก อ่อนเพลียมาก มีอาการเกร็งชักหรือความผิดปกติอื่น ๆ ทำให้คลอดเองตามธรรมชาติไม่สำเร็จ
• มีภาวะแทรกซ้อน เช่น สายสะดือย้อย รกพันคอของทารก หรือมดลูกแตก พบได้น้อยแต่อันตรายมากนะคะ กรณีนี้จะต้องผ่าเร่งด่วน
• ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ทำให้คลอดแบบธรรมชาติได้ยาก เสี่ยงอันตรายทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยเลย
• การคลอดใช้ระยะเวลานานเกินไป มีแนวโน้มจะคลอดเองตามธรรมชาติไม่สำเร็จ
• การใช้ยาเร่งคลอดผิดพลาด
ข้อดี
- เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- กำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนได้
- สะดวก มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้า
- ไม่ต้องเผชิญกับอาการเจ็บครรภ์คลอด
- สามารถทำหมันได้ทันที
ข้อเสีย
- ร่างกายฟื้นตัวช้า ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที
- เสียเลือดมาก เจ็บแผลนาน
- การผ่าตัดคลอดจะทําได้คุณแม่ต้องได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาสลบ อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ เช่น มีความดันโลหิตลดต่ำลงทันทีจากการบล็อคหลัง การสำลักน้ำหรืออาหารเข้าไปในหลอดลมจากการดมยาสลบ 5
- อาจมีภาวะแทรกซ้อนเมื่อเจ็บครรภ์ครั้งต่อไป เช่น แผลมดลูกปริแตก รกเกาะลึกผิดปกติ เป็นต้น
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
- ลูกน้อยมีโอกาสเกิดปัญหาการหายใจ เช่น ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว
- ลูกน้อยไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานตั้งต้นผ่านช่องคลอด อาจเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ หรือป่วยง่าย 4
- ค่าใช้จ่ายสูง
การคลอดธรรมชาติ (Childbirth) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ที่มดลูกบีบตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ทารกที่ อยู่ในครรภ์ออกมาจากโพรงมดลูกมาเจริญเติบโตภายนอกร่างกาย โดยการคลอดปกติ เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 37 – 40 สัปดาห์
ข้อดี
- ฟื้นตัวเร็วกว่า เจ็บแผลน้อยกว่า
- ไม่ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่
- กระบวนการคลอดแบบธรรมชาติจะมีการขับของเหลวออกจากปอดของทารก จึงเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการหายใจเมื่อแรกคลอด
- ทารกจะได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ดีที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ ทำให้ภูมิคุ้มกัน ไม่เจ็บป่วยบ่อย
ข้อเสีย
- เสี่ยงต่อการยืดและการฉีกขาดของเนื้อเยื่อในช่องคลอด
- เสี่ยงของการหย่อนของกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกราน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปัสสาวะและการเคลื่อนไหวของลำไส้
- อาจจะมีอาการเจ็บท้องมากช่วงใกล้คลอด และยาวนานในท้องแรก
- ทารกอาจได้รับบาดเจ็บหากต้องใช้เครื่องมือ เช่น คีม หรือเครื่องดูดสูญญากาศช่วยคลอดออกมา
สรุปคลอดแบบไหน ปลอดภัยมากกว่ากัน?
ในปัจจุบันทางการแพทย์มีการพัฒนาไปมาก จึงทำให้การคลอดทั้งแบบธรรมชาติและการผ่ามีความปลอดภัยทั้ง 2 แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคุณพ่อคุณแม่ และที่สำคัญต้องอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม : ตรวจและฝากครรภ์
ถ้าคุณผู้หญิงท่านใดมีความกังวลใจสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Beyond IVF หรือจะแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @beyondivf
Beyond IVF ขอบคุณข้อมูลจาก