เก็บไข่ ท้องอด เก็บไข่แล้วท้องอด หมอต้น อาจารย์ พูนศักดิ์ สุชนวณิช

เคยเก็บไข่ไปแล้วเกิดภาวะท้องอืดถ้ามาเก็บอีกครั้งจะมีโอกาสเป็นอีกไหม

หลายๆคนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมเราเก็บไข่ไปแล้วถึงต้องเกิดภาวะท้องอืดตามมาด้วย อาจารย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช ได้กล่าวว่าภาวะท้องอืดที่จะเกิดขึ้นหลังจากเก็บไข่นั่น จะมากหรือน้องก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่ที่เราได้ในรอบนั้นด้วย ถ้ามีไข่จำนวนมากถุงที่สร้างไข่ก็จะสร้างของเหลวมากยิ่งขึ้นเช่นกัน พอเราเก็บไข่ออกไปแล้วแต่ของเหลวนั้นจะยังอยู่อีกระยะหนึ่งจึงทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืด

ภาวะท้องอืดที่เกิดหลังจากการกระตุ้นไข่ กระบวนการของการกระตุ้นไข่จะมีการให้ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนชนิดฉีดเข้าที่บริเวณผิวหนังหน้าท้อง ซึ่งเป็นฮอร์โมนแบบเดียวกับที่ต่อมใต้สมองเราสร้างคือฮอร์โมนที่ชื่อว่า FSH พอเราฉีดเข้าไปเพื่อเพิ่มปริมาณฮอร์โมนมากขึ้น ก็เท่ากับเหมือนเพิ่มการทำงานทำให้เหมือนกับที่สมองไปกระตุ้นรังไข่เราให้สร้างไข่ ก็จะมีฮอร์โมนไปกระตุ้นมากขึ้นและจะทำให้รังไข่สามารถสร้างไข่จำนวนมากขึ้น คราวนี้พอมีไข่จำนวนมากๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีไข่เกิน 15-20 ใบขึ้นไป ปัญหาที่ตามมาหลังจากที่เราเจาะเก็บไข่ไปแล้วก็คือ ในถุงที่สร้างไข่ที่เป็นที่อยู่เดิมของไข่ก่อนที่เราจะเจาะเอาออกไป ถุงนั้นจะมีการสร้างของเหลวออกมา ซึ่งถึงเราจะเก็บไข่ไปแล้วแต่ถุงนี้จะยังคงสร้างของเหลวไปอีกระยะหนี่ง อาจจะประมาณสัก 5-7 วัน ถ้าเรามีไข่จำนวนมากก็จะมีของเหลวจำนวนมากไหลอยู่ในช่องท้องของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อช่องท้องมีน้ำสะสมอยู่เยอะๆท้องก็จะอืดจะแน่นขึ้น

เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์ อยากมีลูก อยากตั้งครรภ์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ถ้ามีการกระตุ้นไข่อีกครั้งจะเกิดภาวะท้องอืดอีกไหม

เมื่อเราเคยเก็บไข่ไปแล้วมีอาการท้องอืด อันนี้ต้องเช็คข้อมูลด้วยว่าการท้องอืดนั้นเป็นภาวะท้องอืดที่อื่นมากผิดปกติหรือไม่ อันนั้นเราเรียกว่า Ovarian hyperstimulation ก็คือรังไข่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแต่เขามีความไว ไวต่อฮอร์โมนมากเกินไปทำให้มีการสร้างน้ำแล้วก็มีการท้องอืดเยอะ ถ้าเป็นกรณีที่เกิดจากสาเหตุนี้ การกระตุ้นไข่ครั้งใหม่เพื่อเก็บไข่มีโอกาสจะเกิดภาวะอย่างนี้แน่นอนเลยครับ เพราะแสดงให้เห็นว่ารังไข่เรามีการตอบสนองต่อฮอร์โมนที่มากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นจากสาเหตุนี้มีโอกาสเกิดซ้ำได้แน่นอนครับ

วิธีแก้ปัญหาไม่ให้เกิดภาวะท้องอืดหรือให้เกิดน้อยที่สุด

คุณหมอผู้ดูแลการรักษาในรอบต่อมา อาจจะเป็นคุณหมอท่านเดิมหรือว่าเป็นท่านใหม่เราก็ต้องเอาข้อมูลการเก็บไข่ในครั้งแรกมาให้ท่านด้วยนะครับ คุณหมอก็จะระมัดระวังมากขึ้นในแง่ของการให้ยากระตุ้นไข่ อาจจะต้องปรับชนิดยากระตุ้นไข่หรือว่าลดขนาดยาลง แน่นอนพอลดขนาดยาลง ฉีดโดสต่ำลง เราอาจจะได้ไข่ที่น้อยลง แต่ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดน้ำในช่องท้องน้อยลง

ขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ พูนศักดิ์ สุชนวณิช

สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook ท้องง่าย by หมอต้น