การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ICSI
การรักษาผู้มีบุตรยากด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วคือการนำเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า การผสมเทียม
ซึ่งเมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่าการทำกิ๊ฟ ต่อมาจึงเริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเราจะเรียกว่า IVF การทำ IVF ก็คือการนำไข่กับอสุจิไว้ในถาดทดลองและรอให้อสุจิว่ายเข้าไปผสมที่ไข่เอง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทางด้านเครื่องมือ ที่เรียกกันว่าเครื่องอิ๊กซี่ (ICSI) ซึ่งการทำอิ๊กซี่ (ICSI) จะมีขั้นตอนที่เหมือนกับการทำ IVF แทบจะ 100% ต่างกันเพียงแค่ขั้นตอนของการปฏิสนธิ
เพราะการทำ ICSI นักวิทย์ฯจะนำอสุจิที่แข็งแรงที่สุดมาเจาะเข้าไปในไข่โดยตรง โดยที่ไม่ต้องรอให้อสุจิว่ายไปเจอกับไข่เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร
การทำอิ๊กซี่ ICSI คือขั้นตอนพิเศษที่เพิ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI ถือว่าเป็นขั้นตอนที่เพิ่มโอกาสสำเร็จสูงที่สุด เพราะจะใช้เครื่องพิเศษที่เรียกว่าเครื่องทำ ICSI ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ช่วยให้ไข่กับอสุจิผสมกันโดยที่ไม่ต้องรอให้อสุจิว่ายไปเอง แต่จะเป็นการนำอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัวเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง พอไข่กับอสุจิผสมกันแล้ว นักวิทย์ฯจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน จะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ เมื่อตัวอ่อนเติบโตจนถึงระยะ Blastocyst ก็จะย้ายกลับสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตในครรภ์ต่อไป
ซึ่งเครื่องอิ๊กซี่ (ICSI) ถือเป็นเทคโนโลยี Latest Assisted Reproductive Technologies ที่เพิ่มอัตราการปฏิสนธิเพิ่มขึ้นถึง 15% มีไม่กี่เครื่องในประเทศไทย และเป็นเครื่องที่มีราคาแพงมาก
การทำ ICSI (อิ๊กซี่) กับ IVF ต่างกันอย่างไร
IVF จะเป็นการคัดเลือกเซลล์ไข่กับอสุจิ ให้มาผสมกันเองในอุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์ เพื่อให้ตัวอ่อน พอได้ตัวอ่อนแล้วจึงใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก แต่ ICSI คือหนึ่งในขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาจากการทำ IVF จะเป็นการคัดเซลล์ไข่กับตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัวเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรงด้วยเครื่องพิเศษเครื่องทำ ICSI ที่มีแค่ไม่กี่เครื่องในประเทศไทย เป็นเทคนิคพิเศษที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 70%
ดังนั้น การทำ ICSI กับ IVF ต่างกันตรงที่..
IVF (In-Vitro Fertilization)
การทำ IVF (In-Vitro Fertilization) จะเป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วแบบเก่า โดยจะทำการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกัน โดยจะปล่อยให้อสุจิเลือกเข้าไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ (จะคล้ายกับการมีเพศสัมพันธุ์กันตามธรรมชาติ) เมื่อไข่และอสุจิเกิดการปฎิสนธิที่ภายนอกจนเป็นตัวอ่อนแล้วจะนำกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
อ่านรายเพิ่มเติม >>> เด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คืออะไร
ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)
การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm injection) จะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ฝ่ายชายมีปริมาณตัวอสุจิน้อย หรือมีความผิดปกติในการหลั่งน้ำอสุจิได้อย่างมาก
ดังนั้น ICSI เป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง และ IVF เป็น การปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งในกลุ่มที่อสุจิไม่แข็งแรง การทำ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เนื่องจากเราสามารถคัดอสุจิที่แข็งแรงมาปฏิสนธิได้เลย
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เพื่อวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม
ICSI และ การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม
ประโยชน์จากการทำ ICSI นอกจากจะรักษาผู้ป่วยมีบุตรยากแล้ว ยังสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ โดยการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่13,18,21 ความผิดปกติกลุ่มดาวน์ ปากแหว่ง เพดานโหว โรคเอ๋อ และในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรม หลังจากการทำอิ๊กซี่ แพทย์จะใช้วิธีการทำ PGD โดยแพทย์จะนำตัวอ่อนที่เจริญเติบโตแล้ว ไปวินิฉัยในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อน หากมีผลการวินิจฉัยที่ปกติแพทย์จะนำใส่กลับไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการเจริญโตต่อไป
ขั้นตอนการทำ ICSI
ขั้นตอนการทำ ICSI ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปรึกษาแพทย์
ขั้นตอนแรกที่ทุกคนควรทำก่อนเริ่มการรักษาคือ การพูดคุย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า แพทย์และสถานพยาบาลนั้นๆมีการรักษาเป็นแบบใด วางแผนการรักษาในกรณีของเราแบบไหน ตรงกับสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ ในบางครั้งอาจจะเริ่มตรวจร่างกายไปพร้อมๆกันเพื่อให้คำปรึกษาได้อย่างดีมากขึ้น ขั้นตอนนี้สำหรับคนที่เคยรักษามาแล้ว เคยตรวจร่างกาย หรือมีโรคประตำตัวควรนำเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องไปด้วย เมื่อคุยกับแพทย์เสร็จแล้วเราก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่า เราจะเลือกรักษาที่นี่หรือไม่
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มฉีดยากระตุ้นไข่
เมื่อเข้าสู่กระบวณการรักษา อันดับแรกคือการฉีดยาเพื่อกระตุ้นไข่ โดยตัวยานี้คือฮอร์โมนที่ใกล้เคียงกับฮอร์โมนธรรมชาติของเพศหญิง เริ่มฉีดยาในวันที่ 2 ของประจำเดือนโดยโดสยากระตุ้นไข่แพทย์จะเป็นคนประเมินให้เหมาะสมกับภาวะร่างกายของแต่คน ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 8 – 10 วัน จากนั้นแพทย์จะนัดอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ
ขั้นตอนที่ 3 เก็บไข่และอสุจิ
หลังจากมีการกระตุ้นไข่จนไข่เจริญเติบโตจนได้ขนาดที่ต้องการประมาณ 18 -22 มม. แพทย์จะนัดเวลาเพื่อฉีดยาให้ไข่ตก และทำการเจาะเก็บไข่จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด
แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกระยะสั้นหรือวางยาสลบ เพื่อป้องกันความรู้สึกเจ็บปวด ระหว่างทำใช้เวลาเก็บไข่ ไม่เกิน 20 – 30 นาที
ส่วนผู้ชายจะต้องเก็บอสุจิ เพื่อนำมาคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์ที่สุดและนำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง และเฝ้าดูการปฏิสนธิต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยงตัวอ่อน
หลังจากที่เก็บไข่และอสุจิออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะนำมาปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการโดยใช้เครื่องอิ๊กซี่ ICSI ที่ช่วยเพิ่มโอกาสปฏิสนธิได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิ เมื่อเกิดการปฎิสนธิไข่กับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องทดลองจนตัวอ่อนเจริญเติบโตแบ่งเซลล์ 6-8 เซลล์ และเจริญเติบโตเข้าสู่เป็นระยะ Blastocyst ที่แข็งแรง
ขั้นตอนที่ 5 การย้ายตัวอ่อน
เมื่อได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ป็นระยะ Blastocyst แพทย์จะรายงานถึงผลการเลี้ยงตัวอ่อนว่ามีกี่ตัว และมีเกรดที่ดีเป็นอย่างไร รวมถึงพูดคุยกับคนไข้ว่าแนะนำให้ใส่ตัวอ่อนตัวไหนจะมีโอกาสสำเร็จสูง เมื่อพูดคุยเรียบร้อย ในรอบเดือนถัดไปเมื่อประจำเดือนมาเริ่มรับประทานยาเพื่อเตรียมโพรงมดลูกให้พร้อมต่อการฝังตัวต่อตัวอ่อน เมื่อถึงวันย้ายตัวอ่อน ครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรมากเท่าวันที่เก็บไข่ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือวางยาสลบ โดยการย้ายตัวอ่อนจะผ่านทางช่องคลอดไม่ต้องผ่าตัด
ขั้นตอนที่ 6 ตรวจการตั้งครรภ์
หลังจากวันที่ใส่ตัวอ่อน แพทย์จะนัดตรวจฮอร์โมนทุกๆ 3 วัน เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หากมีการฮอร์โมนตกหรือผิดปกติ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปรับฮอร์โมน เพื่อโอกาสสำเร็จสูงที่สุด โดยหากต้องการทราบผลการตั้งครรภ์จะสามารถเช็คได้หลังจากวันที่ใส่ตัวอ่อน 14 วัน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงตัวอ่อนได้ที่ : การเลี้ยงตัวอ่อน-3-วัน-vs-5-วัน
การทำอิ๊กซี่ เหมาะสำหรับใคร
- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบตัน
- ผู้หญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
- ผู้หญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ผู้หญิงที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ผู้ชายมีเชื้ออสุจิมีจำนวนน้อยหรือคุณภาพไม่ดี
- ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิ
การทำ ICSI เหมาะกับปัญหากรณีใด
การทำอิ๊กซี่ เหมาะสมกับผู้ป่วยที่พบปัญหา ดังนี้
- ผู้ป่วยที่พบปัญหาเกี่ยวกับการปฏิสนธิ
- ผู้ป่วยที่พบภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ชายที่มีจำนวนเชื่ออสุจิน้อย
- ผู้ชายที่อสุจิคุณภาพไม่ดี
- ผู้ที่พบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ผู้หญิงพบว่ามีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ผู้หญิงที่มีภาวะไข่ตกผิดปกติ
- ผู้หญิงพบว่ามีภาวะท่อนำไข่ตีบตัน
- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
การเตรียมตัวของพ่อแม่ก่อนทำ ICSI
การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายหญฺิง
- ควรตรวจร่างกายเพื่อใช้ประเมินในการรักษาควรตรวจวันที่ 2-3 ระหว่างมีประจำเดือน
- ตรวจปริมาณฮอร์โมนร่วมกับอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในช่วงวันแรกๆ ของการเป็นประจำเดือน เพื่อประเมินว่ารังไข่ยังมีประสิทธิภาพในการทำงานหรือไม่
- ตรวจมดลูก การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูโพรงมดลูก หรือการส่องกล้อง Hysteroscopy เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการผสมเทียม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ
- ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
- หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ก่อนรักษาทุดครั้งรวมถึงนำตัวยาที่รักษามาให้แพทย์พิจารณา
การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชาย
- คุณผู้ชายงดหลั่งอสุจิ 5-7 วัน ก่อนมาพบแพทย์
- ควรงดแอลกฮอร์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
- ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป
- ไม่สวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการลงแช่อ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า
- ไม่เครียดจนเกินไป ทำจิตใจให้สบาย
การดูแลตัวเองหลังทำ icsi
- หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วจะต้องนอนพักที่คลินิก 2 ชั่วโมง
- สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ
- งดการออกกำลังกายหนัก
- งดการยกของหนัก
- งกการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดการท้องเสียได้
- หากมีไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด
- ควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่เครียดเพราะมีผลต่อฮอร์โมน
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที
การทำ ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่
การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic sperm injection) ทางเลือกใหม่สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีลูกยาก ช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จสูงที่สุดถึง 60-70% และการทำเด็กหลอดแก้วสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม (ตรวจโครโมโซม) ของตัวอ่อนก่อนย้ายตัวอ่อนได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน ลดโอกาสในการแท้งบุตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมและผู้ที่กังวลเรื่องโรคทางพันธุกรรม
โดยอัตราความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่ (ICSI ) จะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- อายุของฝ่ายหญิงหากอายุยิ่งมากขึ้น คุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดน้อยลง
- จำนวนไข่ที่ได้จากการกระตุ้นมีจำนวนเยอะเท่าไร
- คุณภาพของไข่ที่ได้จากการกระตุ้นในครั้งนั้น มีคุณภาพมากน้อยเท่าไร
- รูปร่างและความแข็งแรงของอสุจิ
- ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในวันที่ทำการย้ายตัวอ่อนนั้น มีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่
การทำ ICSI มีความเสี่ยงหรือไม่ มีอะไรบ้าง
การทำ ICSI สามารถเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสที่น้อยที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะในทางการแพทย์ก็สามารถเกิดความเสี่ยงได้ การทำ ICSI มีโอกาสเสี่ยง ดังนี้
- ไข่ภายในรังไข่อาจเกิดความเสียหาย เนื่องจากไข่มีความเปราะบางระหว่างการทำหัตถการอาจะทำให้ไข่เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกคลินิกในการทำอิ๊กซี่ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญ ทำให้ช่วยลดความเสียหายของไข่ได้
- โครโมโซมมีความผิดปกติ การทำอิ๊กซี่ สามารถทำให้เกิดความผิดปกติ หรือทำเกิดภาวะความผิดปกติทางสมอง ออทิสติก ทารกเกิดความผิดปกติที่หัวใจอาจต้องได้รับการผ่าตัด เมื่อโตขึ้นอาจเกิดภาวะมีบุตรได้
- รังไข่ตอบสนองกับการกระตุ้นมากเกิน ร่างกายของผู้ป่วยตอบสนองกับการกระตุ้นยามากเกินไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด หากมีอาการรุนแรงควรรีบแจ้งคลินิกทันที
ข้อดี ข้อเสีย ของการทำ ICSI
ข้อดีของการทำ ICSI
- เป็นวิธีที่โอกาสสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน
- สามารถรักษาได้ในหลากหบายปัญหามากกว่า
- ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง ไม่มีการผ่าตัด
- ผู้หญิงทำหมันแล้วก็ทำได้
- ผู้ชายที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก็สามารถทำได้
- สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (NGS) ได้
ข้อเสียของการทำ ICSI
- มีราคาสูงกว่าการทำ IUI
- มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยากมากกว่า
- ใช้เวลารักษาค่อนข้างหลายวัน
- ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการเก็บไข่ได้เช่น ท้องอืด
ทํา ICSI ราคาเท่าไหร่
ราคาการทำ ICSI ค่อนข้างสูงกว่าการทำ IUI แต่จะเป็นราคาที่คุ้มสำหรับคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการจะมีบุตรเป็นของตนเอง ซึ่งราคามีเริ่มตั้งแต่หลัก 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ ที่ท่านไป
เนื่องจากการทำ ICSI นั้นมีขั้นตอนและตัวยาที่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นไข่ การป้องกันไข่ตก การเร่งให้ไข่สุก ค่าอัลตราซาวน์ ค่าเก็บเชื้อ เก็บไข่ หรือแม้แต่การทำ ICSI เองก็มีราคาค่าใช้จ่ายในนั้น
อย่างที่ได้เกริ่นไปเบื้องต้นราคาในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI ราคาค่อนข้างสูง ราคาจะเริ่มตั้งแต่ 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ แต่ที่ BeyondIVF ตอนนี้ราคาโปรโมชั่นเริ่มต้นจะอยู่ที่เพียง 229,000 บาทเท่านั้น ซึ่งราคานี้แทบจะครอบคลุมทุกบริการ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> ทำ ICSI ราคา ลดพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ ผ่อน 0%
ทำ ICSI ที่ไหนดี ทำไมควรเลือก Beyond IVF
ในปัจจุบันการทำเด็กหลอดแก้วค่อนข้างจะเป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้น หรือผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก สถานที่ที่ทำการรักษาผู้มีบุตรยากในตอนนี้จึงมีเยอะไม่ว่าจะเป็นคลินิก หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็มีการรับรักษาภาวะมีบุตรยากทั้งนั้น
แต่การเลือกสถานที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่ควรมองแค่ราคาถูกแค่อย่างเดียว เราควรมองทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย คุณหมอมีฝีมือทางด้านนี้เฉพาะจริงๆ
เพราะที่ Beyond IVF เรามีคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้เป็นอย่างมาก ยังมีวุฒิบัตรการันตีถึงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกด้วย
และที่สำคัญคลินิกของเรามีมาตรฐานที่สูง สะอาด ปลอดภัย มีการให้บริการเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการฝากไข่เพื่อป้องกันภาวะผู้มีบุตรยากในอนาคต อีกทั้งยังมีทีมงานที่มีคุณภาพพร้อมให้คำแนะนำร่วมกับเทคโนโลยีระดับ world class มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล
Q&A รวมคำถามที่คนสงสัยเกี่ยวกับการทำ ICSI
ทํา ICSI ไม่สําเร็จ ทํา ICSI ไม่ติด เกิดจากอะไร
การทำ ICSI แล้วยังไม่ติด อาจเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆดังนี้
- ผนังมดลูก ผนังมดลูกถือว่ามีความสำคัญมากเพราะต่อให้คัดตัวอ่อนคุณภาพดีแค่ไหนแต่ถ้าผนังมดลูกหรือโพรงมดลูดไม่แข็งแรงพอตัวอ่อนก็ไม่สามารถไปฝั่งตัวได้
- คุณภาพตัวอ่อน ถึงแม้ว่าตัวอ่อนทุกตัวจะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและได้รับการดูแลจากนักวิทย์ฯ โดยตรง แต่ในการเพราะเลี้ยงก็อาจจะได้ทั้งตัวอ่อนที่มีคุณภาพและตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์
การที่ได้ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์สาเหตุอาจเกิดจากการเลี้ยงในอุณหภูมิที่ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาการช้า หรือพัฒนาการไม่สมบูรณ์ซึ่งเมื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกจึงทำตัวอ่อนไม่ฝังตัว - ฮอร์โมนที่มาเลี้ยง โดยปกติแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจน จะมีจำนวนเพิ่มมากในขณะที่ตั้งครรภ์จะช่วยให้เสริมสร้างเส้นเลือดบริเวณรกและมดลูก ช่วยในการขนส่งสารอาหารต่างๆไปยังทารกส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้นทำให้โครงสร้างภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับทารกในครรภ์ แต่ถ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มีการผลิตที่ไม่มากพอต่อการไปเลี้ยงตัวอ่อนก็จะส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝั่งตัวหรือฝั่งตัวแล้วไม่มีการเจริญเติบโตต่อนั่นเอง
ทำ ICSI ทำลูกแฝดได้ไหม
การทำ ICSI สามารถทำได้โดยการย้ายตัวอ่อน 2 ตัวแล้วอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด รักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทั้งเด็กหลอดแก้วและการทำ ICSI คือการนำเซลล์ไข่และอสุจิออกมาปฏิสนธิกันจนเป็นตัวอ่อนก่อนที่จะทำการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
โดยการรักษาของแต่ละเคสจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นคนประเมินในการรักษา คนไข้บางเคสเหลือตัวอ่อนถึงระยะ Blastocyst (ระยะ 5วัน) เพียงแค่ 2 ตัวอ่อนเท่านั้น แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องย้ายตัวอ่อนทั้ง 2 ตัวพร้อมกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนให้สำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากตัวอ่อนใดตัวอ่อนหนึ่งฝังเข้าผนังมดลูก
แต่ถ้าหากฮอร์โมนของผู้หญิงปกติและโครโมโซมตัวอ่อนแข็งแรง ก็สามารถทำให้เกิดการฝังตัวอ่อนทั้ง 2 ตัว ฝังเข้าผนังมดลูกพร้อมกันได้จนทำให้เกิดครรภ์แฝดเทียมได้ แม้ว่าจะไม่ใช่ครรภ์แฝดแท้ แต่การทำลูกแฝดเทียมด้วยวิธี IVF/ICSI ตัวอ่อนจะแข็งแรงมากกว่าครรภ์แฝดแท้ เพราะตัวอ่อนผ่านการตรวจคัดกรองโครโมโซมมาแล้ว จึงทำให้มั่นใจได้ 100% ว่าตัวอ่อนตัวที่ย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกจะสมบูรณ์และแข็งแรงแน่นอน และอยู่ในถุงการตั้งครรภ์คนละถุง จะไม่เกิดการแย่งสารอาหารกัน และสายรกจะไม่พันคอกัน
แต่ครรภ์แฝดแท้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายมากที่สุด เช่น แขน ขา ติดกัน หรือตัวติดกัน ขาดสารอาหารไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เพราะเกิดจากอยู่ในถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน
ทำ ICSI เลือกเพศลูกได้ไหม
ไม่สามารถทำได้ในประเทศไทยเนื่องจากยังผิดกฎหมาย แต่สามารถดูโครโมโซมความผิดปกติของตัวอ่อนได้จากการตรวจ NGS ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เห็นโครโมโซมเพศตัวอ่อน XX (เพศหญิง) หรือ XY (เพศชาย) ซึ่งตรงนี้อยากจะแนะนำให้ตระหนักถึงการคัดกรองโรคทั้ง 23 คู่ มากกว่าที่จะมองดูเรื่องเพศเป็นหลัก
แต่การเลือกเพศลูกก็มีข้อดี ในกรณีที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษมีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งได้ เช่น โรคสังข์ทอง (Anhidrotic Ectodermal Dysplasia), โรคเลือด G6PD, โรคดาวน์ซินโดรมบางประเภท, โรคผิวหนังบางประเภท (Sex-linked Ichthyosis) ฯลฯ ถ้าพ่อแม่หรือคนในครอบครัว (ปู่ย่า ตายาย พี่ป้า น้าอา) เคยมีประวัติว่าเป็นโรคเหล่านี้ลูกชายก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นได้สูง ในขณะที่ลูกสาวจะไม่เป็น
จึงเป็นเหตุสำคัญให้บางครอบครัวจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการมีลูกชาย ซึ่งแนวทางในการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ จะใช้วิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ เด็กหลอดแก้ว และ ICSI ในการรักษาพร้อมตรวจคัดกรองตัวอ่อน ด้วยวิธีตรวจ NGS โครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก
ทำหมันแล้วทำ ICSI ได้ไหม
ทำหมันแล้วไม่ว่าจะเป็นการทำหมันแบบผูกหรือแบบตัดก็สามารถทำ ICSI หรือเด็กหลอดแก้วได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องแก้หมัน เพราะการรักษาแบบนี้ไม่ต้องอาศัยท่อนำไข่หรือบริเวณที่ทำหมันไว้ และยังไม่ลดโอกาสในการสำเร็จลงอีกด้วย
สรุป
การทำ ICSI เป็นขั้นตอนพิเศษที่ต่อเนื่องมาจากการทำ IVF ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จได้ถึง 70% ทั้งนี้หากท่านไหนมีปัญหาหรือคิดว่าตนเองเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ก่อน แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยให้อย่างละเอียด แล้วจะวางแผนในการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคลเป็นเคสๆไป โดยสามารถนัดปรึกษากับคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ Line : @beyondivf