Follicle Stimulating Hormone

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่อยากมีลูก แน่นอนว่าต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกไข่ การเจริญของไข่ การมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์ 

แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบอย่างละเอียดว่าแท้จริงแล้วฮอร์โมนนี้มีหน้าที่อย่างไร สำคัญแค่ไหน แล้วหากพบปัญหาฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ต้องทำอย่างไร และเมื่อฮอร์โมนเกิดไม่สมดุลปัญหาต่างๆที่ตามมาคืออะไร แก้ไขอย่างไร

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) คือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรของประจำเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้

ไลน์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่อะไร

fsh คือ

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ และกระตุ้นให้ไข่สุกจนเกิดการตกไข่ หากมีระดับฮอร์โมนเอฟเอสเอชไม่สมดุล อาจหยุดการตกไข่ และทำให้มีลูกยากขึ้น

FSH ปกติโดยทั่วไปจะไม่เกิน 10 mIU/ml และจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับไข่สำรองที่มีอยู่ (รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่) เมื่อมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้น เพื่อชดเชยและกระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูง อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้

ฮอร์โมน FSH กับหญิงตั้งครรภ์

ค่า fsh ปกติ

การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าคุณมีภาวะเจริญพันธุ์หรือความสามารถในการตั้งครรภ์อยู่ในระดับใด เมื่อคุณมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายของคุณจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น 

ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

ฮอร์โมน FSH กับการทำเด็กหลอดแก้ว

ฮอร์โมน FSH เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งจะมีการตรวจ Basal FSH day 3 เป็นการตรวจฮอร์โมน FSH ในวันที่สามของประจำเดือน ไข่ที่คุณภาพดีจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและอินฮีบินบีสูง ผลคือ ค่า FSH จะต่ำลง หากไข่คุณภาพไม่ดีฮอร์โมนที่สร้างได้จากไข่จะมีระดับต่ำ ส่งผลให้ค่า FSH สูงขึ้น 

สัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงการทำงานรังไข่ที่แย่ลง คือ ค่า FSH มากกว่า 10 mIU/mL ร่วมกับค่า E2 ที่น้อยกว่า 80 pg/ml มีรายงานว่าค่า FSH ที่มากกว่า 18 mIU/ml จะมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยมาก

อยากมีลูก ไม่ท้องสักที รีบปรึกษาแพทย์ ก่อนถึงวัยมีลูกยาก ปนึกษาแพทย์ฟรี คลิก

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH

สำหรับผู้หญิง

  • หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • ดูการทำงานของรังไข่ว่ามีปัญหาหรือไม่
  • หาสาเหตุของประจำเดือนที่มาไม่ปกติหรือขาดหายไป
  • ยืนยันการเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาในชีวิตของผู้หญิงเมื่อประจำเดือนหยุดลงแจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป 

สำหรับผู้ชาย

  • หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • หาสาเหตุของจำนวนอสุจิทำไมถึงมีน้อย
  • เพื่อดูว่าลูกอัณฑะมีปัญหาหรือไม่

สำหรับเด็ก

  • วัยเจริญพันธุ์ถ้าเริ่มก่อนอายุ 9 ในเด็กผู้หญิง และก่อนอายุ 10 ในเด็กผู้ชาย ถือว่าเร็ว
  • วัยเจริญพันธุ์หากยังไม่เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 13 ปีในเด็กผู้หญิง และเมื่ออายุ 14 ปีในเด็กผู้ชาย ถือว่าล่าช้า

การตรวจระดับฮอร์โมน FSH เหมาะกับใคร

สำหรับผู้หญิง

  • หลังจากปล่อยวิธีธรรมชาติมามากกว่า 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ประจำเดือนของคุณผู้หญิงหมดในช่วงที่ถึงวัยหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนวัย

สำหรับผู้ชาย

  • อสุจิไม่แข็งแรงจนทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ไม่สำเร็จภายใน 1 ปี
  • ความต้องการทางเพศลดลง

บทความอ่านเพิ่มเติม : เช็คด่วน! คุณเข้าข่ายผู้ที่มีน้ำอสุจิไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการมีบุตรยากหรือไม่?

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone)

  1. พยาบาลจะซักประวัติของคุณแม่เบื่องต้นก่อน
  2. พยาบาลจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เสร็จแล้วพยาบาลจะพาไปพบแพทย์
  3. พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว ยาปฏิชีวนะที่ใช้ เคยมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซมไหม ประวัติโรคประจำตัวของคนในครอบครัว
  4. เจาะเลือด และนำไปตรวจ FSH เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. รอผลตรวจ ประมาณ 1 ชั่วโมง

ผลการตรวจฮอร์โมน FSH

ค่าปกติ FSH
  • FSH ต่ำเกินกว่า 4 mIU/ml หมายถึงไข่ใบเล็ก ท้องยาก เพราะค่า FSH ในระดับต่ำเกินไปอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรของประจำเดือนหยุดชะงัก ซึ่งค่าของฮอร์โมน FSH เป็นอีกหนึ่งปัจจัยมีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์ โดยค่า FSH ต่ำเกินกว่า 4mIU/ml มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ภาวะที่มีไข่ใบเล็กจำนวนมากในรังไข่ ทำให้ไข่ไม่สุกและไม่โตตามเกณฑ์หรือไม่ตกตามรอบ ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือประจำเดือนขาดจึงส่งผลให้ท้องยาก
  • FSH 4-7 mIU/ml คือ ระดับปกติ บ่งบอกถึงรังไข่สำรอง (Ovarian reserve) รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • FSH 10-20 mIU/ml คือ ภาวะเสี่ยงวัยทองก่อนวัยอันควร ระดับของ FSH ที่เกิน 10 mIU/ml จะเริ่มกระตุ้นไข่ได้ยาก หากมีอายุต่ำกว่า 40 ปีค่าดังกล่าวจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารังไข่เริ่มเสื่อม
  • FSH สูงเกิน 20mIU/ml คือ เข้าสู่วัยทอง โดยสมบูรณ์ มักจะพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด เกิดภาวะตั้งครรภ์ได้ยาก 

ระดับฮอร์โมน FSH ไม่สมดุล

ค่าฮอร์โมน FSH ในเพศหญิง

ระดับ FSH สูง คือ

  • Primary ovarian insufficiency  (POI) หรือที่เรียกว่ารังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร 
  • Polycystic ovary syndrome (PCOS) ซึ่งเป็นความผิดปกติของฮอร์โมนที่พบได้บ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยาก
  • เริ่มหมดประจำเดือนหรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน
  • เนื้องอกรังไข่
  • Turner syndrome ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

ระดับ FSH ต่ำ คือ

  • รังไข่ผลิตไข่ได้น้อยหรือไม่สามารถผลิตไข่ได้
  • ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับ hypothalamus ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ควบคุมต่อมใต้สมองและการทำงานที่สำคัญในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • มีน้ำหนักที่น้อยเกินไป

ค่าฮอร์โมน FSH ในเพศชาย

ระดับ FSH สูง คือ

  • ลูกอัณฑะได้รับความเสียหาย เนื่องจากเคยใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี การติดเชื้อ 
  • คุณมีอาการ Klinefelter syndrome ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

ระดับ FSH ต่ำ คือ 

  • มีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง

สาเหตุที่ส่งผลให้ฮอร์โมน FSH ไม่สมดุล

ทางการแพทย์ที่มีผลต่อต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไตยังสามารถส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์อย่างมาก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของความไม่สมดุลของฮอร์โมนในผู้หญิง อีกอย่างคือ PCOS  หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่เยอะ ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติและอยู่ในภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล คือ

  • อายุ
  • ยาบางชนิด
  • แพ้อาหาร
  • การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด
  • ความตึงเครียด

อาการที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน

  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
  • รอบเดือนผิดปกติ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
  • รอบประจำเดือนมากเกินไปหรือขาดหายไป
  • ความอยากช็อกโกแลตหรือผลิตภัณฑ์จากนม
  • สิว
  • อาการร้อนวูบวาบ

คำแนะนำในการรักษาสมดุลฮอร์โมน FSH

  • กินโปรตีนให้เพียงพอในทุกๆมื้อ โปรตีนเป็นสารอาหารที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ให้กับเรา ในแต่ละวันเราต้องมีอาหารที่เป็นโปรตีนในมื้ออาหาร เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการเสริมสร้าง และซ่อมแซม กล้ามเนื้อ กระดูก และผิวหนัง โปรตีนช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน ที่ช่วยควบคุมความหิว และช่วยให้เรารู้สึกอิ่ม 
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเวท แอโรบิค เดิน หรือการออกกำลังกายอื่นๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคอ้วน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปตามวัย
  • เลี่ยงน้ำตาลและ Refined Carbohydrates อาหารพวกนี้มีส่วนทำให้มีอาการดื้ออินซูลิน เลี่ยงอาหารพวกนี้ ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหาร ทานพวก Whole foods จะช่วยลดระดับอินซูลินและเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้
  • จัดการความเครียด การลดความเครียด ด้วยกิจกรรมประเภท การทำสมาธิ นวด โยคะ ฟังเพลงสบายๆ ช่วยลดความเครียดช่วยลดระดับฮอร์โมน Cortisol ได้
  • รับประทานไขมันที่เป็นประโยชน์ ในส่วนของไขมันดี การกินไขมันดี ช่วยลดการดื้ออินซูลินและช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากและความอิ่ม
  • กินไขมันจากปลา ในส่วนของไขมันจากปลา กรดไขมันโอเมกา-3 ช่วยลดระดับ cortisol และ epinephrine เพิ่มความไวต่ออินซูลิน และลดระดับอินซูลินลดการดื้ออินซูลินด้วย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในส่วนของการนอนหลับ การนอนหลับๆตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนควบคุมความอิ่มลดลง ฮอร์โมนที่ทำให้เราหิวและเครียดเพิ่มขึ้น และทำให้การหลั่ง Growth Hormone ลดลง เพิ่มการดื้ออินซูลิน

ไข่ตก หรือ วันไข่ตก ของคุณผู้หญิงคืออะไร

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเพราะจะเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อวงจรของประจำเดือน หากฮอร์โมน FSH สูงขึ้นหรือต่ำลงก็จะเกิดผลเสียต่อการมีลูกของคุณผู้หญิง 

หากท่านใดลองมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติมามากกว่า 1 ปีแล้วยังไม่สำเร็จแสดงว่าท่านเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยาก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยหาสาเหตุและแนวทางในการรักษา ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf